Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1911
Title: The Cost-Benefit Analysis of Investment in Solid-Waste Power Plant Project for Mueang Phang Nga Municipality
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของการลงทุนโครงการโรงฟ้าพลังงานขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองพังงา
Authors: Ariya Malai
อริยะ มาลัย
Worawat Sa-Ngiamvibool
วรวัฒน์ เสงี่ยมวิบูล
Mahasarakham University. The Faculty of Engineering
Keywords: การจัดการขยะมูลฝอย
โรงไฟฟ้าขยะมูลฝอย
เทศบาลเมืองพังงา
Waste management
Power Plant from waste
Mueang Phang Nga Municipality
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: A study of the construction of a power plant from solid waste in the Mueang Phang Nga Municipality. The objective is to provide information for decision making before investing in the construction of a power plant from solid waste. The research has analyzed the value control in economics and environmental impact of the construction of a 1.5 MW waste power plant, production hours 7,200 hours per year. The results of economic value analysis revealed that the calculated electricity distribution rate using Feed-in Tariff has a net present value (NPV) of 51,247,647.48 Baht (THB), internal rate of return (IRR) is 13.07 percent, and payback period (PB) is 8 years and 9 months and Dynamic payback period is 17.10 years, which is worthwhile and appropriate. to investment More than calculated electricity distribution rate for the period of use. The environmental impact analysis found that using waste to generate electricity reduces the amount of greenhouse gas emissions into the atmosphere by 21,059.84 tons of carbon dioxide equivalent per year. Compared with the current waste disposal methods of the Mueang Phang Nga Municipal Waste Disposal Center. Therefore, using solid waste to generate electricity will help reduce the impact on the environment. and global warming. It will also help solve the problem of waste management that is likely to increase in the future of Mueang Phang Nga Municipality.
การศึกษาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ในเขตเทศบาลเมืองพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจก่อนการลงทุนก่อสร้างโรงผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย งานวิจัยมีการวิเคราะห์ความคุมค่าทางเศรษฐศาสตร์ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ขนาด 1.5 MW ชั่วโมงการผลิต 7,200 ชั่วโมงต่อปี ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์พบว่า การคิดอัตราการจำหน่ายไฟฟ้าแบบ Feed-in Tariff มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 51,247,647.48 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 13.07 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 8 ปี 9 เดือน และมีระยะเวลาคืนทุนแบบ Dynamic เท่ากับ 17.10 ปี มีความคุ้มค่าและเหมาะสมต่อการลงทุน มากกว่าการคิดอัตราจำหน่ายไฟฟ้าแบบช่วงเวลาการใช้งาน การวิเคราะห์ด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า การนำขยะมูลฝอยมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศคิดเป็น 21,059.84 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เมื่อเทียบกับวิธีการกำจัดขยะในปัจจุบันของศูนย์กำจัดขยะเทศบาลเมืองพังงา ดังนั้นการนำขยะมูลฝอยมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าจึงเป็นการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการจัดการขยะที่มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตของเขตเทศบาลเมืองพังงา
Description: Master of Engineering (M.Eng.)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1911
Appears in Collections:The Faculty of Engineering

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010383502.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.