Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1913
Title: Discourses and Social Construction of Modern Laos in Contemporary Laos Literatures
วาทกรรมลาวใหม่กับการประกอบสร้างสังคมในวรรณกรรมลาวร่วมสมัย
Authors: Peekanit Satarn
ปียกนิษฐ์ สาธารณ์
Rachan Nilawanapa
ราชันย์ นิลวรรณาภา
Mahasarakham University
Rachan Nilawanapa
ราชันย์ นิลวรรณาภา
nilawanapa@yahoo.com
nilawanapa@yahoo.com
Keywords: วาทกรรม
การประกอบสร้างสังคม
วรรณกรรมลาวร่วมสมัย
discourse
social construction
contemporary Laos Literature
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed 1) to study the discourse of Modern Laos in contemporary Laos Literatures and 2) to study the strategy of social construction through the language in 30 contemporary Laos Literatures published from 1986-2018 consisted of 13 novels and 17 short stories based on the key concept of Discourse by Michel Foucault and the concept of construction.    The results of the study on the discourse of modern Laos in contemporary Laos literature showed that there were 7 discourses influencing on domination and belief as well as cultivating certain ideologies of Lao people as follows; 1. the discourse of modern Laos used to enhance the modern Lao people to have consciousness of nationalism. 2. The discourse of modern Laos created to break down prejudice toward the narrow-minded nationalism that caused social inequality, 3. the discourse of modern Laos regarding social class as the mindset created to counter social class discrimination to make Lao society a society of equality,  4. the discourse of modern Laos regarding the mindset of sexuality stating that in Lao society, men was more powerful than women, and women in Lao society were smart with the role to participate in developing the country, 5. the discourse of modern Laos regarding morality and belief in society as the mindset describing religious principles binding people to do good and influencing on good or bad behaviors of people in society, 6. the discourse of modern Laos regarding value and modernization as the mindset responding to the value coming along with the civilization of the era that frames the characteristics of modernization of modern Laos, 7. the discourse of modern Laos regarding nature and environment as the mindset of the conservation of nature and environment and put nature as the center, and also the mindset regarding the belief that human beings and nature can live together. The results of the study on social construction of through language in contemporary Laos literatures focusing on the study the linguistic strategies used by the author to create modern Laos society showed that the construction of modern Lao society can be classified into 6 issues: 1) the construction of modern Lao people to have consciousness of nationalism and to realize the importance of education through 5 linguistic strategies, namely the use of words / phrases to convey that modern Lao people were patriotic and against the enemy of the nation, the use of intertextuality, the use of metaphor, and the use of modality; 2) the construction of a lifestyle in urban society to reflect the way of life of urban people in terms of displaced labors and fashion of people in urban society through 4 linguistic strategies, namely the use of fundamentals, the use of metaphors, and the use of transliterated words; 3) the construction of a rural way of life to show the way of life of rural people who rely on nature and integrated farming through 3 linguistic strategies, namely the use of intertextuality, the use of words/ phrases related to nature to convey the way of life that relies on nature in the traditional era,  and the use of words/ phrases related to integrated agriculture; 4) social construction of economy where indicators of economic prosperity comprised material and materialism and the promotion of agricultural products for sale both domestically and internationally through 2 linguistic strategies, namely the use of words/ phrases related to material prosperity and materialism in urban society; 5) social construction in terms of belief, tradition, and culture to reflect that modern Lao society is a cultural preservation society, and it is a Buddhist society through 3 linguistic strategies, namely the use of modality, the use of intertextuality, and the use of words/phrases that represent Lao cultural identity; and 6) political construction to reflect political policy to promote the role of women and the policy on international relation through 3 linguistic strategies, namely the use of words/phrases relating to women's political roles, and the use of words / phrases relating to foreign relations. This research revealed the role of contemporary Laos literatures in transmitting and reproducing social discourse since the author used literatures as the medium to convey certain ideologies to the people, then, literature is not a reflection of the reality of society; it is a literary society created by writers. Therefore, literature is used as a tool to develop the country aligned with state policies to create modern Lao people and modern Lao society.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษา 2 วัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาวาทกรรมลาวใหม่ในวรรณกรรมลาวร่วมสมัย 2) เพื่อศึกษากลวิธีการประกอบสร้างสังคมผ่านภาษาในวรรณกรรมลาวร่วมสมัย โดยศึกษาจากวรรณกรรมลาวร่วมสมัยจำนวน 30 เล่ม ที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986-2018  ประกอบด้วย นวนิยาย จำนวน 13 เล่ม และเรื่องสั้นจำนวน 17 เล่ม โดยใช้แนวคิดหลักคือ แนวคิดวาทกรรม (Discourse) ตามแนวทางของมิเชลล์ ฟูโกต์ และแนวคิดการประกอบสร้าง ผลการศึกษาด้านวาทกรรมลาวใหม่ในวรรณกรรมลาวร่วมสมัยที่มีอิทธิพลในการครอบงำความคิด ความเชื่อตลอดจนมีส่วนในการปลูกฝังอุดมการณ์บางอย่างให้แก่คนลาว พบวาทกรรมทั้งหมด 7 ชุด ได้แก่ 1.วาทกรรมลาวใหม่ว่าด้วยชุดความคิดเรื่องชาตินิยม ที่สร้างขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านมีจิตสำนึกชาตินิยม 2.วาทกรรมลาวใหม่ว่าด้วยชุดความคิดเรื่องชาติพันธุ์ที่สร้างขึ้นเพื่อลบล้างอคติทางชาติพันธุ์ที่คับแคบอันเป็นสาเหตุของความเหลื่อมล้ำทางสังคม 3.วาทกรรมลาวใหม่ว่าด้วยชุดความคิดเรื่องชนชั้นทางสังคม เป็นชุดความคิดตอบโต้การแบ่งแยกชนชั้นในสังคม เพื่อให้สังคมลาวเป็นสังคมแห่งความเสมอภาคเท่าเทียม 4.วาทกรรมลาวใหม่ว่าด้วยชุดความคิดเรื่องเพศวิถี พบประเด็นผู้ชายในสังคมลาว ในลักษณะผู้ชายมีอำนาจเหนือผู้หญิง และประเด็นผู้หญิงในสังคมลาวที่มีมีความเก่ง และเน้นการชูบทบาทให้ผู้หญิงได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ 5.วาทกรรมลาวใหม่ว่าด้วยชุดความคิดเรื่องศีลธรรมและความเชื่อในสังคม เป็นชุดความคิดที่กล่าวถึงหลักธรรมทางศาสนาซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้คนทำความดี และมีอิทธิพลต่อความพระพฤติดี ประพฤติความชั่วของคนในสังคม 6.วาทกรรมลาวใหม่ว่าด้วยชุดความคิดเรื่องค่านิยมและความทันสมัย เป็นชุดความคิดตอบโต้ค่านิยมที่มาพร้อมกับความเจริญของยุคสมัย ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมความทันสมัยของคนลาวยุคใหม่ 7.วาทกรรมลาวใหม่ว่าด้วยชุดความคิดเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นชุดความคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ยกให้ธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง เป็นชุดความคิดที่เชื่อว่ามนุษย์กับธรรมชาติสามารถอยู่ร่วมกันได้ ผลการศึกษาด้านการกลวิธีการประกอบสร้างสังคมผ่านภาษาในวรรณกรรมลาวร่วมสมัย โดยมุ่งศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้เขียนใช้ประกอบสร้างสังคมลาวใหม่ ผลการศึกษาพบว่า การประกอบสร้างสังคมลาวยุคใหม่ 6 ประเด็น ได้แก่ 1) การประกอบสร้างประชาชนลาวยุคใหม่ เพื่อสร้างใช้คนลาวยุคใหม่มีจิตสำนึกรักชาติ และเป็นผู้ใส่ใจการศึกษา ผ่านกลวิธีทางภาษา 5 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำศัพท์/กลุ่มคำเพื่อสื่อว่าคนลาวยุคใหม่รักชาติ ต่อต้านศัตรูของชาติ การใช้อุปลักษณ์ การใช้ทัศนภาวะ การใช้วัจนกรรม และการใช้สหบท 2) การประกอบสร้างวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมเมือง เพื่อสะท้อนให้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตของคนเมืองทั้งในรูปแบบแรงงานพลัดถิ่น และสะท้อนแฟชั่นเครื่องแต่งกายของคนในสังคมเมือง ผ่านกลวิธีทางภาษา 4 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำทับศัพท์ การใช้อุปลักษณ์ และการใช้มูลบท 3) การประกอบสร้างวิถีการดำเนินชีวิตในชนบท เพื่อแสดงให้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตของคนชนบทที่มีการพึ่งพาธรรมชาติและการทำเกษตรแบบผสมผสาน ผ่านกลวิธีทางภาษา 3 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำศัพท์/กลุ่มคำที่สื่อถึงวิถีการพึ่งพาธรรมชาติในยุคดั้งเดิม การใช้คำศัพท์/กลุ่มคำที่เกี่ยวกับการเกษตรแบบผสมผสาน และการใช้สหบท 4) การประกอบสร้างสังคมในด้านเศรษฐกิจที่มีตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นวัตถุและวัตถุนิยม  และการส่งเสริมสินค้าทางการเกษตรเพื่อขายทั้งในและต่างประเทศ ผ่านกลวิธีทางภาษา 2 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำ/กลุ่มคำที่เกี่ยวกับความเจริญทางวัตถุและวัตถุนิยมในสังคมเมือง และการใช้วัจนกรรม 5) การประกอบสร้างสังคมในด้านความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมเพื่อสะท้อนให้เห็นว่าสังคมลาวยุคใหม่ เป็นสังคมอนุรักษ์วัฒนธรรม และเป็นสังคมพุทธศาสนา ผ่านกลวิธีทางภาษา 3 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำ/กลุ่มคำที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมลาว การใช้ทัศนภาวะ และการใช้สหบท 6) การประกอบสร้างด้านการเมืองการปกครองเพื่อสะท้อนนโยบายด้านการเมือง นโยบายการชูบทบาทผู้หญิง และนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผ่านกลวิธีทางภาษา 3 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำ/กลุ่มคำที่เกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของผู้หญิง การใช้คำ/กลุ่มคำที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ และการใช้สหบท การวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของวรรณกรรมลาวร่วมสมัยในการถ่ายทอด ผลิตซ้ำวาทกรรมทางสังคม เนื่องจากผู้เขียนใช้วรรณกรรมเป็นสื่อกลางเพื่อถ่ายทอดอุดมการณ์บางอย่างสู่ประชาชน ดังนั้นวรรณกรรมจึงมิใช่ภาพสะท้อนความเป็นจริงของสังคม แต่เป็นสังคมในวรรณกรรมที่นักเขียนเป็นผู้สร้าง วรรณกรรมจึงถูกใช้เครื่องมือในการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายพรรครัฐ เพื่อสร้างคนลาวใหม่และสังคมลาวใหม่ให้เกิดขึ้น
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1913
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010161008.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.