Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1914
Title: Tham Khwan Ritual Text of Thai and Khmer : Nature and Cultural Meaning
บททำขวัญไทยและเขมร : ธรรมชาติและความหมายทางวัฒนธรรม
Authors: Supachai Jangsirivittayakorn
ศุภชัย จังศิริวิทยากร
Nittaya Wannakit
นิตยา วรรณกิตร์
Mahasarakham University
Nittaya Wannakit
นิตยา วรรณกิตร์
nittaya.w@msu.ac.th
nittaya.w@msu.ac.th
Keywords: บททำขวัญไทย
บททำขวัญเขมร
ธรรมชาติ
ความหมายทางวัฒนธรรม
Tham Khwan Ritual Text of Thai
Tham Khwan Ritual Text of Khmer
Nature
Cultural Meaning
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this dissertation were to study 1) the form and content of Tham Khwan Ritual Text of Thai and Khmer 2) to study the nature and cultural meaning from Thai and Khmer rites. Types of written manuscripts consisted of 13 Thai types 32 chapters, and 9 Khmer types 27 chapters, a total of 22 types 59 chapters. This dissertation selected the concepts of ecocriticism, representations, and cultural meaning. The result found that The Form divided into 1) Characteristics of poetry; Thai verses are composed of Rai Yao verses and Surangkanang 28 verses. Khmer verses are composed by Kakakati, Phromkiti and PiaRia or Khmer Rai. and 2) The style of the story consists of 3 parts, namely the beginning of the story, the content, and the end. The content can be divided into 2 groups according to the purpose of the ceremony, namely the poem for humans and the poem for non-humans. The literary characteristics of Thai and Khmer text differ according to the popularity of Thai and Khmer composers. The action of the story consists of 3 main parts, the same according to the ritual literature of the chanting rituals, but differing in details such as the language, the blessings according to the chanting rites. The nature in Thai and Khmer poems are divided into 2 categories: 1) Physical nature, divided into 5 categories: 1) Sky 2) Mountains, caves, cliffs 3) Plants 4) Water sources and 5) Animals 2) Representation of nature divided, There are 6 characteristics: 1) nature and life, 2) nature and holiness, 3) nature and human refuge, 4) nature and femininity, 5) nature and cruelty, and 6) nature and fertility. Mainly, Thai people and Khmer people have the same understanding of nature in the rite text. As for the difference, the Khmer people see the forest as a dangerous place because there are dangerous beasts that harm their fears and evil spirits to deceive them. Khmer invitations word of Khwan are characterized by intimidation especially the rite text for People who are ill because they want Khwan to come back quickly. Nature with feminine, Thai people compare Phra Mae Phosop to the goddess of rice and The Khmer people are like mothers who give birth to life and support life. Nature and fertility from the rite text about occupation cultivation consciousness of coexistence with nature. Feminine, Thai people liken Phra Mae Phosop to be the goddess of rice. The Khmer people are like mothers who give birth to life and support life. Nature and fertility from the script about occupation cultivation of rice produces awareness of coexistence with nature. Cultural meaning can be found in 6 areas: 1) Religious culture Religious practices for social order and peace and in Thai and Khmer societies, there are still beliefs about sacred powe, supernatural powers 2) rice culture, the role of communicating meaning in the dimension of fertility, conveying meanings through Tham khwan Kao, khwan Naa, and khwan Krabue and khwan Sat (animal), which are the same as those of both Thai and Khmer people 3) traditional culture and rite There is an understanding that when followed, it will bring prosperity and good things. 4) Social and political culture 5) Class culture conveying respect for elders and people of rank; and 6) sexual culture Khmer society has begun to shift towards a more patriarchy concept today. In summary, Tham Khwan rite text of Thai and Khmer are literary works used to perform Tham Khwan ceremonies according to the beliefs and intentions of the ceremonies, reflecting the way of life of Thai and Khmer people who relate to nature around them and also convey to meaning of the culture that appears in the rite text  is very well.
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและเนื้อหาของบททำขวัญไทยและเขมร 2) เพื่อศึกษาธรรมชาติและการสื่อความหมายทางวัฒนธรรมในบททำขวัญไทยและเขมร จากบททำขวัญไทยและเขมรประเภทลายลักษณ์ประกอบด้วยบททำขวัญไทย 13 ประเภท 32 บท และบททำขวัญเขมร 9 ประเภท 27 บท รวม 22 ประเภท 59 บท โดยใช้แนวคิดการวิจารณ์เชิงนิเวศ ภาพแทน และการสื่อความหมายทางวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า ด้านรูปแบบ แบ่งออกเป็น 1) ลักษณะคำประพันธ์ บททำขวัญไทยมีลักษณะคำประพันธ์แบบร่ายยาวและแบบบกาพย์สุรางคนางค์ 28 บททำขวัญเขมรมีลักษณะคำประพันธ์บทกากคติ บทพรหมคีติ และบทเปียะเรียยหรือพากย์ร่ายเขมร และ 2) รูปแบบการดำเนินเรื่องประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ การดำเนินเรื่องส่วนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนท้าย ด้านเนื้อหา สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามความมุ่งหมายของพิธีทำขวัญ คือ บททำขวัญสำหรับมนุษย์และบททำขวัญสำหรับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ ลักษณะคำประพันธ์ของบททำขวัญไทยและเขมรมีความแตกต่างกันตามความนิยมของผู้ประพันธ์ของไทยและเขมร การดำเนินเรื่องประกอบด้วย 3 ส่วนหลักเหมือนกันตามขนบของวรรณกรรมประกอบพิธีกรรมของบททำขวัญแต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียด เช่น ภาษา คำให้พรตามพิธีทำขวัญ ด้านธรรมชาติในบททำขวัญไทยและเขมร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ธรรมชาติด้านกายภาพ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) ท้องฟ้า 2) ภูเขา ถ้ำ ผา 3) พืช 4) แหล่งน้ำ และ 5) สัตว์ 2) ภาพแทนธรรมชาติ แบ่งได้ 6 ลักษณะ คือ 1) ธรรมชาติกับชีวิต 2) ธรรมชาติกับความศักดิ์สิทธิ์ 3) ธรรมชาติกับที่พึ่งพิงของมนุษย์ 4) ธรรมชาติกับสตรีเพศ 5) ธรรมชาติกับความโหดร้ายน่ากลัว และ 6) ธรรมชาติกับความอุดมสมบูรณ์ โดยหลักแล้วคนไทยกับคนเขมรมีลักษณะความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติในบททำขวัญที่เหมือนกัน ส่วนในความแตกต่างกันคนเขมรมองป่าเป็นสถานที่อันตรายเพราะมีสัตว์ร้ายสิ่งอันตรายทำร้ายขวัญและผีปิศาจวิญญาณร้ายมาหลอกลวงขวัญไป คำเชิญขวัญเขมรจะเป็นลักษณะของการข่มขู่ขวัญให้หวาดกลัว โดยเฉพาะบททำขวัญคนเจ็บป่วยไข้เนื่องจากต้องการให้ขวัญรีบกลับมาโดยเร็ว ธรรมชาติกับสตรีเพศ คนไทยเปรียบพระแม่โพสพเป็นเทพีแห่งข้าว ส่วนคนเขมรเปรียบเหมือนแม่ผู้ให้กำเนิดชีวิตและค้ำจุนชีวิต ธรรมชาติกับความอุดมสมบูรณ์จากบททำขวัญที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพเพาะปลูกทำนาก่อเกิดจิตสำนึกการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ด้านการสื่อความหมายทางวัฒนธรรม พบได้ 6 ประการ คือ 1) วัฒนธรรมทางศาสนา การปฏิบัติตามหลักศาสนาเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสงบสุขของสังคม และในสังคมไทยและเขมรยังมีความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ อำนาจที่อยู่เหนือธรรมชาติ 2) วัฒนธรรมข้าว บทบาทของการสื่อความหมายในมิติเรื่องความอุดมสมบูรณ์สื่อความหมายผ่านบททำขวัญข้าว ทำขวัญนา และทำขวัญกระบือและสัตว์โดยมีเหมือนกับทั้งของคนไทยและเขมร  3) วัฒนธรรมทางประเพณีและพิธีกรรม มีความเข้าใจว่าเมื่อปฏิบัติตามแล้วจะนำซึ่งความเป็นสิริมงคลและเกิดสิ่งดี ๆขึ้นกับชีวิต 4) วัฒนธรรมทางสังคมและการเมือง 5) วัฒนธรรมทางชนชั้น สื่อให้เห็นถึงการเคารพผู้อาวุโสและผู้มียศตำแหน่ง และ 6) วัฒนธรรมทางเพศ สังคมเขมรเริ่มปรับเปลี่ยนแนวคิดแบบชายเป็นใหญ่มากขึ้นในปัจจุบันนี้ โดยสรุป บททำขวัญไทยและเขมรเป็นวรรณกรรมที่ใช้ประกอบพิธีทำขวัญตามความเชื่อและความมุ่งหมายของการประกอบพิธีสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทยและคนเขมรที่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติรอบตัวและยังสื่อความหมายทางวัฒนธรรมที่ปรากฎอยู่ในตัวบททำขวัญได้เป็นอย่างดี
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1914
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010161001.pdf8.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.