Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1915
Title: The Creation of has Nong Han Narrative in Contemporary Thai Socity
การสร้างสรรค์เรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหานในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน
Authors: Pongdech Laosuna
พงษ์เดช เหล่าสุนา
Nittaya Wannakit
นิตยา วรรณกิตร์
Mahasarakham University
Nittaya Wannakit
นิตยา วรรณกิตร์
nittaya.w@msu.ac.th
nittaya.w@msu.ac.th
Keywords: การสร้างสรรค์เรื่องเล่า
หนองหาน
บริบทสังคมไทยปัจจุบัน
narrative creativity
Nong Han
present Thai social context
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis purposed to 1) study the creativity of forms and content of narratives about Nong Han in present Thai social context and 2) to study the creativity of functions of narratives about Nong Han in present Thai social context that was qualitative research focusing on qualitative data from involved document and research and presented in descriptive analysis. The result found that the creativity of forms and content of narratives about Nong Han in present Thai social context divided into 3 parts were 1) 6 forms of Nong Han narrative consisted of poetry, historical narrative, Buddhist legend, geographical narrative, toponym narrative and reproduced narrative 2) content of narrative about Nong Han consisted of keys of narrative were main plot, sub plot, and sequence 3) composition of narratives were 4 elements; event, characters, setting, and relations of narration for showing highlight, and tension including the summary of solving complex of narratives. The creativity of forms and content of narratives about Nong Han in present Thai social context found that having 2 parts were 1) the creativity of narratives about Nong Han in present Thai social context consisted of the creativity of narratives by modern media utilization, content/event, character, setting, language, and narratives based on Functionalism. In addition, some event based on history, the storytelling through narration combined local legend, some event utilized the concept of representation to create the imagination along with the narrative and applied the concept of social memories to create collective memory. 2) functions of Nong Han narratives in present Thai social context found that the narratives about Nong Han had functions as a tool for explaining the background of area and toponym to make sacredness in area including creating the process for preserving and inheriting the tradition/rites at the same time of creating identity to the local.  Moreover, the narratives also had functions to create the collective consciousness for people in local. The narratives were a tool connected to tourism/creative tradition with intervened concept for moral behavior controls into them. Therefore, the Nong Han narratives had an important function to manage the natural resource with local participation to create the participation from strong community power.  
งานวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์เรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหานในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) ศึกษาการสร้างสรรค์รูปแบบและเนื้อหาของเรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหานในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน และ 2) ศึกษาการสร้างสรรค์บทบาทหน้าที่ของเรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหานในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งเป็นเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอผลการวิจัยในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาการสร้างสรรค์เรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหานในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน ผลการวิจัยสรุปออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย การสร้างสรรค์รูปแบบและเนื้อหาของเรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหานในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน และการสร้างสรรค์บทบาทหน้าที่ของเรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหานในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน การสร้างสรรค์รูปแบบและเนื้อหาของเรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหานในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน จำแนกออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) รูปแบบของเรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหาน ได้แก่ (1) การสร้างสรรค์ต้นฉบับเรื่องเล่าหนองหานกับผาแดงนางไอ่และอุรังคนิทาน (2) การสร้างสรรค์เรื่องเล่ารูปแบบสื่อสารสนเทศ ประกอบด้วย รูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ และรูปแบบสื่อออนไลน์ ได้แก่ สื่อโทรทัศน์และละครโทรทัศน์  การ์ตูนแอนิเมชั่น รายการใน YouTube  เพลง และหมอลำ 2) เนื้อหาของเรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหาน มี 2 ส่วน คือ เนื้อหาที่เป็นหัวใจสำคัญของโครงเรื่อง (Plot) และการเดินเรื่องตามลำดับเรื่องเพื่อใส่รายละเอียดของเนื้อเรื่อง  3) องค์ประกอบของเรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหาน ซึ่งประกอบ 2 ส่วนหลัก คือ องค์ประกอบด้านตัวละคร หรือบุคคล และฉากหรือสถานที่ที่เกี่ยวข้อง การสร้างสรรค์บทบาทหน้าที่ของเรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหานในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน พบว่ามี 2 ส่วน คือ 1) การสร้างสรรค์เรื่องเล่าเกี่ยวกับหนองหานในสังคมไทยปัจจุบัน ประกอบด้วย การสร้างสรรค์รูปแบบ การสร้างสรรค์เนื้อหา/เหตุการณ์ การสร้างสรรค์ตัวละคร การสร้างสรรค์ฉาก การสร้างสรรค์ภาษา และการสร้างสรรค์แนวคิด ซึ่งมีการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ผ่านเรื่องเล่า เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการตามเรื่องเล่า และทำให้เกิดความทรงจำร่วม 2) บทบาทหน้าที่ของเรื่องเล่าหนองหานในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน สังเคราะห์ออกเป็น 4 ส่วน คือ (1) บทบาทหน้าที่อธิบายความเป็นมาของพื้นที่หนองหานชุมชน และภูมินามหนองหานและเชื่อมโยงประวัติภูมินามกับพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งการอธิบายความศักดิ์สิทธิ์ให้กับพื้นที่หนองหานด้วย (2) บทบาทหน้าที่ให้แง่คิดแก่มนุษย์ คือ การรักษาสืบทอดประเพณีและพิธีกรรมท้องถิ่นเพื่อให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และการสรรค์สร้างประเพณีประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น บุญบั้งไฟ บุญแข่งเรือ และพิธีการไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หนองหาน (3) บทบาทหน้าที่ให้การศึกษาอบรมคนในสังคม เพื่อกล่อมเกลาให้เห็นคุณค่าของตำนานเรื่องเล่า การสร้างอัตลักษณ์และจิตสำนึกร่วมของท้องถิ่นควบคู่ไปกับการสร้างพลังชุมชนเข้มแข็ง ทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจในบริบทท้องถิ่นหนองหาน และ (4) หน้าที่ในการสร้างระเบียบ บรรทัดฐาน และแบบแผนพฤติกรรมแก่คนในสังคม คือ การควบคุมพฤติกรรมเชิงจริยธรรม จารีตประเพณีในการปฏิบัติตหนองหาน รวมทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ที่ชุมชนทำข้อตกลงเพื่อดูแลรักษาและใช้ประโยชน์หรือจัดสรรทรัพยากรหนองหานร่วมกัน
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1915
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010180003.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.