Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1916
Title: The Dynamic of Ordination in the Community of Lat Pattana Mueang District Mahasarakham Province
พลวัตการบวชในชุมชนบ้านลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Varaditdhammasan Utairuang (Chatapayo)
วรดิตถ์ธรรมสาร อุทัยเรือง (ชาตปญฺโญ)
Kiattisak Bangperng
เกียรติศักดิ์ บังเพลิง
Mahasarakham University
Kiattisak Bangperng
เกียรติศักดิ์ บังเพลิง
kiattisak.b@msu.ac.th
kiattisak.b@msu.ac.th
Keywords: การบวช
พลวัตการบวช
ชุนชนบ้านลาดพัฒนา
Ordination
Dynamic of Ordination
Community of Lat Pattana
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research was to study the Buddhist ordination that used to be in the Thai Isaan local tradition. and to study the dynamics of ordination under the current changes of Lad Pattana Village, Muang District, Maha Sarakham Province. using qualitative research methodology Data are presented with an analytical narrative. With the study of documents and go to the research area to collect data from religious leaders, community leaders, ordained hosts Pastors and villagers. The results of the study show that training at Ban Lad Pattana must return social and economic benefits through traditional Lao-style ordination. The necessity for the operation of most Buddhists may have to use the merit reserve. This includes the need not to wear the adornments of monks/nagas. As well as the consumption and fanfare with musical instruments. A person who is ordained, shaves his head and holds five Khans, goes to ask for ordination with the preceptor in the temple. The preceptorship is not controlled by the power of the state or the state clergy. But clinging to the seniority that has the rainy season and the qualifications according to the principles of the Dhamma Discipline, for example, having the tenth rainy season and having the reverence. However, in the context of historical and political transitions When Lan Xang and Isan were ruled by the political influence of Siam centralized its ruling power in areas, peoples and cultures, although local monks were not exempt. Has been adjusted to the central power to organize the organization as "The Government Sangha" There is a law or the Sangha Act that supports and prescribes roles and responsibilities in both administration and administration. The case of the ordination of a monk is controlled and the preceptor's qualifications are determined through the rules of the Central Sangha. The preceptor does not necessarily have to have the qualifications according to the discipline alone. but still must be appointed or certified by the Thai Sangha Organization, for example, having to attend training as a preceptor Must pass an exam to become a preceptor In the locality, being a preceptor must also be qualified as a monk at the level of the sub-district primate or higher. It was also assigned the role and authority to ordain for the clergy in the sphere of self-government as well. Unless there is a government/administrative power greater than that, at the same time, the "Thai ordination tradition" has also spread the culture into the state power. In influencing the Lao/Isaan ordination tradition to resemble Thai culture By being ordained, there will be a ceremony to make the fortune of the Naga. Adorned with gold necklaces, rings, and belts, a large feast was held to show the great merit in the ordination of sons. Along with treating guests to show their social and economic status at the same time at present, social, cultural and economic changes also resulted in a change in the ordination culture Both the ordination ceremony and the duration according to the conditions of necessity these reflect the Lao-style ordination through the Ban Lad Phatthana case study. It dynamics according to historical, political, socio-cultural conditions. and economic flow. 
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบวชในพระพุทธศาสนาที่เคยเป็นจารีตท้องถิ่นไทยอีสาน และศึกษาพลวัตการบวชภายใต้การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันของบ้านลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าเอกสาร และลงพื้นที่วิจัยเก็บข้อมูล จากผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน เจ้าภาพงานบวช ผู้เคยผ่านการบวช และชาวบ้าน ผลการศึกษาพบว่า การบวชในชุมชนบ้านลาดพัฒนาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ การเมือง สังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ โดยรูปแบบการบวชแบบลาวยุคจารีตนั้น มีลักษณะเป็นประเพณีท้องถิ่น การบวชเป็นไปตามความประสงค์ ความศรัทธา หรือความเลื่อมใสของพุทธศาสนานิกชน โดยส่วนใหญ่มีความเรียบง่ายเชิงประเพณี ตั้งกองบุญ ตุ้มโฮมเครือญาติพี่น้อง แทบจะมีการแต่งองค์ทรงเครื่องประดับประดาผู้บวช/นาค ตลอดถึงเสพงั้นประโคมด้วยเครื่องดนตรีใหญ่โตน้อยมาก บุคคลที่บวชโกนหัวถือขันธ์ห้าเข้าไปขอบวชกับอุปัชฌาย์ในวัด ซึ่งการเป็นอุปัชฌาย์นั้นยังไม่ถูกควบคุมด้วยอำนาจรัฐหรือคณะสงฆ์แห่งรัฐ แต่ยึดความอาวุโสที่มีคุณสมบัติตามหลักพระธรรมวินัย อาทิ มีพรรษาสิบ มีอันเตวาสิกเลื่อมใส อย่างไรก็ตาม ในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางประวัติศาสตร์และการเมือง เมื่อล้านช้างและอีสานถูกอิทธิพลทางการเมืองของสยามเข้าปกครอง สยามรวมศูนย์อำนาจการปกครองในทางพื้นที่ ผู้คน และวัฒนธรรม แม้พระสงฆ์ท้องถิ่นก็ไม่ได้รับยกเว้น ได้ถูกปรับดึงเข้าไปสู่อำนาจศูนย์กลางจัดระเบียบองค์กรเป็น “คณะสงฆ์ราชการ” ขึ้น โดยมีกฎหมายหรือพระราชบัญญัติคณะสงฆ์รองรับและกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ทั้งในการปกครองและการบริหาร กรณีการบวชพระได้ถูกควบคุมและกำหนดคุณสมบัติการเป็นอุปัชฌาย์ผ่านกฏระเบียบของคณะสงฆ์ส่วนกลาง โดยอุปัชฌาย์นั้นมิจำพักว่าต้องมีคุณสมบัติตามพระธรรมวินัยแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังต้องได้รับการแต่งตั้งหรือรับรองจากองค์กรคณะสงฆ์ไทย อาทิ ต้องเข้ารับการอบรมการเป็นอุปัชฌาย์ ต้องสอบผ่านการเป็นอุปัชฌาย์  ในท้องถิ่นการเป็นอุปัชฌาย์ยังต้องมีคุณสมบัติเป็นพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะตำบลขึ้นไป อีกทั้งยังถูกกำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่ทำการบวชให้กับเหล่ากุลบุตรในขอบเขตอำนาจการปกครองครองตนเองตามไปด้วย เว้นเสียแต่ว่าจะมีอำนาจการปกครอง/การบริหารใหญ่กว่านั้นขึ้นไป พร้อมกันนี้ “ประเพณีการบวชแบบไทย” ยังได้แพร่กระจายวัฒนธรรมเข้ามาพร้อมกับอำนาจรัฐ ในการส่งอิทธิพลต่อประเพณีการบวชลาว/อีสาน ให้มีลักษณะคล้ายกับวัฒนธรรมไทย โดยการบวชจะมีการสมโภชทำขวัญนาค ประดับประดานาคด้วยสร้อยคอแหวนทอง เข็มขัดนาค จัดพิธีกินเลี้ยงเฉลิมฉลองใหญ่โตเพื่อแสดงถึงบุญอานิงสงส์ยิ่งใหญ่ในการบวชลูกชาย พร้อมกับเลี้ยงแขกเหรื่อแสดงสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจไปพร้อมกัน ทั้งนี้ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ยังมีผลให้วัฒนธรรมการบวชเปลี่ยนแปลง ทั้งการจัดงานบวชและระยะเวลาตามเงื่อนไขความจำเป็น สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าการบวชแบบลาวผ่านกรณีศึกษาบ้านลาดพัฒนา ได้พลวัตไปตามเงื่อนไขประวัติศาสตร์ การเมือง สังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจอย่างเลื่อนไหล
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1916
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010154002.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.