Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1917
Title: | Isan Didactic Literature : Knowledge Construction and the Relationship to Other Literature วรรณกรรมคำสอนอีสาน : การประกอบสร้างความรู้และความสัมพันธ์กับวรรณกรรมประเภทอื่น |
Authors: | Sarisa Sukkhong ศาริศา สุขคง Pathom Hongsuwan ปฐม หงษ์สุวรรณ Mahasarakham University Pathom Hongsuwan ปฐม หงษ์สุวรรณ sumalee.c@msu.ac.th sumalee.c@msu.ac.th |
Keywords: | วรรณกรรมคำสอน การประกอบสร้างความจริง ความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรม didactic literature construction of reality knowledge relationship to literature |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this thesis were to study knowledge construction in Isan didactic literature and to study the relationship between Isan didactic literature and other types of literature. The researcher selected printed books and transliterated texts that contained Isan didactic expressions written by Isan poets with the intent to instruct and published in the Northeastern region. The data were classified according to the narrative styles appearing in the literature. Fifty-two pieces of didactic literature were used as the main information in this study which could be divided into two types : 32 narrative pieces of literature and 20 non-narrative pieces of literature.
The results showed that Isan didactic literature educated in several dimensions of knowledge including Buddhism, socilogy and anthropology, and local wisdom. Various methods of knowledge construction were found in the didactic literature. In terms of the narrative form, there were three distinctive methods of knowledge construction: imparting knowledge through elements of literature, poetry, and motifs. According to the non-narrative form, there were three interesting methods of knowledge construction: imparting knowledge through literary strategies, language identity, and critical discourse analysis. All the knowledge construction strategies were used to present the didactic knowledge through literary spaces and eventually leading to social knowledge-building discourse. This constructive knowledge also originated in relation to other types of literature including relationship with Buddhist literature, relationship with fables in literature, relationship with legal literature, relationship with historical literature, and relationship with contemporary literature. When considering the relationships, it could be seen that the didactic literature was related in terms of common characteristics, similarity, and concept of the transmission on other types of literature. The nature of such relationships was the interaction of cultural texts in the local context, leading to an understanding of the meaning of the relationships among the literature attaching to ethnic identity to reflect the dimension of kinship, and highlighting the Isan didactic literature as the obviously creative wisdom of the local people. วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความรู้ในวรรณกรรมคำสอนอีสานและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมคำสอนอีสานกับวรรณกรรมประเภทอื่น โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกวรรณกรรมคำสอนอีสานที่เป็นหนังสือหรือเอกสารปริวรรตซึ่งมีการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นอักษรปัจจุบันสำนวนภาษาถิ่นอีสาน ประพันธ์ขึ้นด้วยเจตนาเพื่อสอนโดยกวีชาวอีสานและจัดพิมพ์ในภูมิภาคอีสาน แบ่งประเภทข้อมูลโดยพิจารณาจากการเล่าเรื่องที่ปรากฏในวรรณกรรม ออกเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมคำสอนที่มีลักษณะเป็นเรื่องเล่า จำนวน 32 เรื่อง และวรรณกรรมคำสอนที่มีลักษณะไม่เป็นเรื่องเล่า จำนวน 20 เรื่อง รวมจำนวนข้อมูลทั้งหมด 52 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมคำสอนอีสานมีความรู้หลายมิติ ได้แก่ ความรู้ในมิติของพุทธศาสนา ความรู้ในมิติของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และความรู้ในมิติของภูมิปัญญาซึ่งความรู้ที่ปรากฏในวรรณกรรมคำสอนอีสานมีกลวิธีการประกอบสร้างความรู้หลากวิธี วรรณกรรมคำสอนที่มีลักษณะเป็นเรื่องเล่า มีการประกอบสร้างความรู้ที่โดดเด่น 3 วิธี ได้แก่ การประกอบสร้างความรู้จากการเล่าเรื่องผ่านองค์ประกอบของวรรณกรรม การประกอบสร้างความรู้จากการเล่าผ่านประพันธศิลป์ และการประกอบสร้างความรู้จากการเล่าผ่านอนุภาคตัวละคร วรรณกรรมคำสอนที่มีลักษณะไม่เป็นเรื่องเล่า มีการประกอบสร้างความรู้ที่น่าสนใจ 3 วิธี ได้แก่ การประกอบสร้างความรู้จากกลวิธีทางวรรณศิลป์ การประกอบสร้างความรู้จากอัตลักษณ์ทางภาษา และการประกอบสร้างความรู้จากวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ กลวิธีการประกอบสร้างความรู้ทั้งหมดเป็นการนำเสนอความรู้ผ่านพื้นที่ทางวรรณกรรมกระทั่งนำไปสู่วาทกรรมการประกอบสร้างทางสังคมในที่สุด ความรู้ที่เกิดจากการประกอบสร้างขึ้นนี้ยังมีที่มาจากความสัมพันธ์กับวรรณกรรมประเภทอื่น ทั้งความสัมพันธ์กับวรรณกรรมพุทธศาสนา ความสัมพันธ์กับวรรณกรรมนิทาน ความสัมพันธ์กับวรรณกรรมกฎหมาย ความสัมพันธ์กับวรรณกรรมประวัติศาสตร์ และความสัมพันธ์กับวรรณกรรมร่วมสมัย เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์แล้ว พบว่าวรรณกรรมคำสอนมีความสัมพันธ์ทั้งในด้านลักษณะร่วม ความเหมือนคล้ายและการรับ-ส่งแนวคิดต่อวรรณกรรมประเภทอื่น ซึ่งลักษณะความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นการปฏิสังสรรค์ของตัวบททางวัฒนธรรมในบริบทท้องถิ่นที่นำไปสู่ความเข้าใจความหมายความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมที่ยึดโยงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ให้เห็นมิติของความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และขับเน้นให้วรรณกรรมคำสอนอีสานเป็นปัญญาสร้างสรรค์ของคนท้องถิ่นได้อย่างคมชัด |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1917 |
Appears in Collections: | The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61010161002.pdf | 8.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.