Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1972
Title: | Management of Temperature and cleaning pond to increase Cricket การจัดการอุณหภูมิและความสะอาดบ่อเลี้ยงเพื่อเพิ่มผลผลิตจิ้งหรีด |
Authors: | Sarawut Saenkham ศราวุทธ์ แสนคำ Sopa Cansee โสภา แคนสี Mahasarakham University Sopa Cansee โสภา แคนสี sopa.c@msu.ac.th sopa.c@msu.ac.th |
Keywords: | จิ้งหรีด อัตราการย่อสลาย แก๊สแอมโมเนีย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ Cricket degradation rate ammonia carbon dioxide |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The aim of this study was to investigate the management of common cricket ponds. The degradation rate of pond waste Emissions cricket of ammonia gas (NH3) and carbon dioxide gas (CO2) and study of cricket yield obtained from temperature management and pond cleanliness. By the way, survey the management and problems encountered by cricket farmers. Analyze, formulate a hypothesis, and then experiment to prove and design a new cricket pond equipment to solve the problem, and then experiment again to confirm the results. According to the survey, cricket farming takes 40-45 days to yield 4-20 kilograms, 12-37 kilograms of pond waste, and 2.88 square meters of pond area. The yield varies according to weather, moisture content, and waste by proving that the degradation of organic matter in the pond produces toxic gases, ammonia, and carbon dioxide Impacting health feeding, and growing crickets. The main environmental factors that influence degradation include temperature, moisture content, and waste amount. Therefore, factors were determined to experiment with the effect of environmental conditions on the degradation into toxic gases, ammonia (NH3), and carbon dioxide (CO2), and then study eating behavior. Then, analyze to select the maximum yield conditions by the optimization process and design a new pond to experiment with the old one. Experimental methods are used with partial factorial planning. Fractional Factorial Experiment (15 conditions) 3 reassessments consisting of 3 factors of 3 levels each: ambient temperature of 35 and 40 degrees Celsius. Moisture waste 20, 25, and 30 percent, waste density 4.17, 8.68, and 12.86 kilograms per square meter, then evaluate the degradation rate, ammonia, and carbon dioxide content. The results were then analyzed for variance (ANOVA) and compared mean differences using the Duncan method by IBM SPSS Statistics 21 at a confidence level of 0.05. It was found that temperature, moisture waste, and waste density It is associated with the decomposition of ammonia (NH3) and carbon dioxide (CO2) with a high amount of toxic gas in conditions of 35 degrees Celsius. Waste moisture content was 30 percent, and waste density was 12.86 kg per square meter the ammonia content in the experimental pond was 80 ppm or more, consistent with the high carbon dioxide content in the same conditions in the range of 1200 -1400 ppm, and the low toxic gas content in waste moisture conditions of 20 percent, density of 4.17 kilograms per square meter, ammonia (NH3) in the range of 0-30 ppm and carbon dioxide (CO2) in the range of 500 - 600 ppm, which were statistically significant. Feeding habits towards healthy growth in temperature conditions 33 degrees Celsius Waste moisture 20 percent, waste density 4.17 kilograms per square meter the feed conversion ratio (FCR) of 3.47 resulted in the highest gross yield of 122.3 percent, in line with the confirmation of experimental results in the new pond, which increased yield by 7 percent compared to traditional ponds. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการบ่อเลี้ยงจิ้งหรีดทั่วไป การย่อยสลายของเสียในบ่อเลี้ยง ต่อการปลดปล่อยแก๊สแอมโมเนีย (NH3) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และศึกษาผลผลิตจิ้งหรีดที่ได้จากการจัดการอุณหภูมิกับความสะอาดบ่อเลี้ยง โดยวิธีการสำรวจการจัดการและปัญหาที่พบของเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีด นำมาวิเคราะห์ตั้งสมมติฐานแล้วทดลองเพื่อพิสูจน์และออกแบบอุปกรณ์บ่อเลี้ยงจิ้งหรีดแบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาแล้วทดลองอีกครั้งเพื่อยืนยันผล จากการสำรวจพบว่าการเลี้ยงจิ้งหรีดใช้ระยะเวลา 40-45 วัน ได้ผลผลิต 4-20 กิโลกรัม ปริมาณของเสียในบ่อเลี้ยง 12-37 กิโลกรัม ขนาดพื้นที่บ่อ 2.88 ตารางเมตร ซึ่งผลผลิตมีความแปรปรวนตามสภาพอากาศ ความชื้น และปริมาณของเสีย โดยพิสูจน์ได้ว่า มีการย่อยสลายของอินทรียวัตถุในบ่อเลี้ยงทำให้เกิดแก๊สพิษ แอมโมเนีย และคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งผลต่อสุขภาพ การกินอาหาร และการเติบโตของจิ้งหรีด ซึ่งมีปัจจัยแวดล้อมหลักที่มีอิทธิพลต่อการย่อยสลาย ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นและปริมาณของเสีย ส่งผลถึงพฤติกรรมการกินอาหารต่อความเปลี่ยนแปลงด้านสรีระวิทยา จึงกำหนดปัจจัยเพื่อทดลองผลของสภาพแวดล้อมต่อการย่อยสลายเป็นแก๊สพิษแอมโมเนีย (NH3) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แล้วศึกษาพฤติกรรมการกินอาหาร การเจริญเติบโต จากนั้นวิเคราะห์เพื่อเลือกเงื่อนไขสูงสุดที่ได้ของผลผลิต โดยกระบวนการ Optimization แล้วออกแบบบ่อเลี้ยงแบบใหม่นำมาทดลองเทียบกับแบบเดิม ใช้วิธีทดลองโดยวางแผนแบบแฟกทอเรียลบางส่วน (Fractional Factorial Experiment) 15 เงื่อนไข ประเมิน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ปัจจัยละ 3 ระดับ คือ อุณหภูมิแวดล้อม 35 และ 40 องศาเซลเซียส ความชื้นของเสีย (moisture content) 20 25 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่นของเสีย 4.17 8.68 และ 12.86 กิโลกรัมต่อตารางเมตร แล้วประเมินอัตราการย่อยสลาย (Degradation rate) ปริมาณแก๊สแอมโมเนีย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ พฤติกรรมการกินอาหารต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตมวลรวม แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance; ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Duncan โดยโปรแกรม IBM SPSS Statistics 21 ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่า อุณหภูมิ ความชื้นและความหนาแน่น มีผลสัมพันธ์ทำให้เกิดการย่อยสลายเป็นแก๊สแอมโมเนีย (NH3) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยพบปริมาณแก๊สพิษมากในเงื่อนไขอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ความชื้นของเสีย 30 เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่นของเสีย 12.86 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีปริมาณแก๊สแอมโมเนียในบ่อทดลอง 80 ppm ขึ้นไป สอดคล้องกับปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่พบมากในเงื่อนไขเดียวกันอยู่ในช่วง 1200 -1400 ppm และมีปริมาณแก๊สพิษน้อยในเงื่อนไขความชื้นของเสีย 20 เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่น 4.17 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ปริมาณแก๊สแอมโมเนีย (NH3) ในช่วง 0-30 ppm และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในช่วง 500 - 600 ppm ซึ่งมีความแตกต่างกันในทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ พฤติกรรมการกินอาหารต่อการเจริญเติบโตดีในสภาวะอุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส ความชื้นของเสีย 20 เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่นของเสีย 4.17 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ส่งผลต่อการเติบโต 122.3 เปอร์เซ็นต์ อัตราแลกเนื้อ (FCR) ที่ 3.47 ทำให้ได้รับผลผลิตมวลรวมสูงสุดสอดคล้องกับการยืนยันผลการทดลองในบ่อเลี้ยงแบบใหม่ซึ่งเพิ่มผลผลิตได้ 7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับบ่อเลี้ยงแบบเดิม |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1972 |
Appears in Collections: | The Faculty of Engineering |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64010351003.pdf | 7.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.