Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/198
Title: Effects of Multidisciplinary Home Care on Quality of Life of Home-bound and Bed-bound Elderly Patients in a Catchment Area of Mahasarakham University Hospital.
ผลการดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียงที่บ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่อคุณภาพชีวิต เขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Authors: Amornrat Patike
อมรรัตน์ ปะติเก
Chanuttha Ploylearmsang
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: ติดบ้าน
ติดเตียง
ทีมสหสาขาวิชาชีพ
คุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุ
การดูแลที่บ้าน
home-bound
bed-bound
multidisciplinary team
quality of life
elderly
home care
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Introduction: Multidisciplinary home care is a holistic approach that is essential for elderly people with chronic illnesses home-bound and bed-bound patients to have a better quality of life. This study aimed to evaluate the effect of multidisciplinary home care on quality of life of home-bound and bed-bound elderly patients in a catchment area of Mahasarakham University hospital. Method: This quasi-experimental study evaluated effect of multidisciplinary home care before and after (Pretest-posttest) on quality of life, drug related problem, drug adherence, clinical outcomes, depression and complications from the bed-bound in 6 communities. Data collection had been conducted for 6 months, from October 2016 to March 2017, with the sample of 18 home-bound elderly patients and 9 bed-bound elderly patients for the total of 27. The study tools were the patient data record sheet, assessment forms for drug related problem (DRP), adverse drug reaction (WHO’s criteria), adherence (BMQ and Pill count), depression screening test (9Q), Suicidal screening test (8Q), modified Barthel index, Braden's score, quality of Life (EQ-5D-5L and VAS), and satisfaction. Data were analyzed by using SPSS. Descriptive statistics and inferential statistics including Cochrane Chi-square, Friedman and Repeated measures ANOVA were used to compare the effects of home care by a multidisciplinary team. Results: 1) The drug related problem (DRP) decreased 44.44% (p<0.001) in the home-bound patients and 66.77% (p=0.004) in the bed-bound patients, drug adherence increased 61.11% (p<0.001) in the home-bound patients and 55.56% (p=0.031) in the bed-bound patients, controlled clinical outcomes increased 72.22% (p<0.001) in the home-bound patients and 11.11% (p=0.347) in the bed-bound patients, depression (9Q) decreased 38.89% (p<0.001) in the home-bound patients and 33.33% (p=0.091) in the bed-bound patients, bed- bound complications (Barden's Score) decreased 55.56% (p=0.059). 2) The scores of health outcomes from visit 1 to visit 3 in the home-bound and bed-bound elderly patients were found that Bathel Index score (0-20 score) was increased 3.05 score (p<0.001) in the home-bound and 1.67 score (p<0.001) in the bed-bound. Depression score (9Q) (0-27 score) was decreased 1.66 score (p<0.001) and 3.44 score (p<0.001) in the home-bound. EQ5D5L (0-1 score) was increased 0.08 score (p<0.001) in the home-bound and 0.05 (p<0.001) in the bed-bound. VAS (0-100 score) was increased 10.55 score (p<0.001) in the home-bound and 5.00 score (p<0.001) in the bed-bound. Satisfaction on multidisciplinary home care (0-5 score) was increased 0.63 score (p<0.001) in the home-bound and 0.50 score (p<0.001) in the bed-bound. Conclusions: Multidisciplinary home care for the home-bound and bed-bound elderly patients can decrease drug related problem (DRP) and depression score (9Q) and bed-bound complications and increase drug adherence, controlled clinical outcomes, Bathel index score, quality of life and satisfaction on home care by the multidisciplinary team. Therefore, there should be policies to support the home care for the home-bound and bed-bound elderly patients by a multidisciplinary team and should promote the cooperative home care network with the community.
บทนำ: การดูแลสุขภาพที่บ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเป็นการดูแลแบบองค์รวมที่จําเป็นสําหรับผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ที่ติดบ้าน และติดเตียง เพื่อการดูแลต่อเนื่องจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุ วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อศึกษาผลการดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียงที่บ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่อปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิต เขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิธีดำเนินการวิจัย: ใช้การศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) ประเมินผลก่อนและหลัง (Pretest-posttest) การดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียงที่บ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่อคุณภาพชีวิต ปัญหาการใช้ยา ความร่วมมือในการใช้ยา ผลลัพธ์ทางคลินิก ภาวะซึมเศร้า การเคลื่อนไหว และภาวะแทรกซ้อนจากการติดเตียง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวนทั้งหมด 6 ชุมชน ซึ่งมีระยะเวลาในการเก็บข้อมูล ในพื้นที่ 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 31 มีนาคม 2560 โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านจำนวน 18 ราย และกลุ่มติดเตียงจำนวน 9 ราย รวมทั้งหมด 27 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการเก็บข้อมูลผู้ป่วย ปัญหาที่พบจากการใช้ยา (DRP) แบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์ (WHO Criteria) แบบสัมภาษณ์ความร่วมมือในการใช้ยา (BMQ) แบบเก็บข้อมูลยาเหลือใช้ (Pill count) แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 9Q แบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8Q แบบประเมินการเคลื่อนไหว Modified Barthel Index แบบประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับตาม Braden’s Score แบบสอบถามคุณภาพชีวิต EQ-5D-5L VAS และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการดูแลผู้ป่วยที่ติดบ้านและติดเตียงโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายข้อมูลลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Cochrane Chi-square, Friedman, Repeated measures ANOVA เปรียบเทียบผลลัพธ์ของการดูแลที่บ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ผลการวิจัย: 1) จำนวนร้อยละของผลลัพธ์จากการแลผู้ป่วยที่ติดบ้านและติดเตียงที่บ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ทำให้การเกิดปัญหาจากการใช้ยา (DRP) ในกลุ่มผู้ป่วยติดบ้าน ลดลงร้อยละ 44.44 (p<0.001) และในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ลดลงร้อยละ 66.77 (p=0.004) มีความร่วมมือในการใช้ยา (Adherence) ในกลุ่มผู้ป่วยติดบ้าน เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.11 (p<0.001) และในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.56 (p=0.031) ผลลัพธ์ทางคลินิกเข้าเกณฑ์มาตรฐาน ในกลุ่มผู้ป่วยติดบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.22 (p<0.001) และในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.11 (p=0.347) มีภาวะซึมเศร้า (9Q) ในกลุ่มผู้ป่วยติดบ้าน ลดลงร้อยละ38.89 (p<0.001) และในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ลดลงร้อยละ 33.33 (p=0.091) และในผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงยังมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเตียง (Barden’s Score) ลดลงร้อยละ 55.56 (p=0.059) 2) คะแนนผลลัพธ์ด้านสุขภาพจากการดูแลผู้ป่วยกลุ่มติดบ้านและติดเตียงที่บ้าน พบว่าทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากการเยี่ยมบ้านครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 โดยมีคะแนนการเคลื่อนไหว (0-20 คะแนน) ในกลุ่มติดบ้านเพิ่มขึ้น 3.05 คะแนน (p<0.001) และในกลุ่มติดเตียงเพิ่มขึ้น 1.67 คะแนน (p<0.001) ภาวะซึมเศร้า (9Q) (0-27 คะแนน) ในกลุ่มติดบ้านมีค่าลดลง 1.66 คะแนน (p<0.001) และในกลุ่มติดเตียงลดลง 3.44 คะแนน (p<0.001) คุณภาพชีวิตจาก EQ5D5L (0-1 คะแนน) ในกลุ่มติดบ้านเพิ่มขึ้น 0.08 คะแนน (p<0.001) และในกลุ่มติดเตียงเพิ่มขึ้น 0.05 คะแนน (p<0.001) และคุณภาพชีวิตจาก VAS (0-100)  ในกลุ่มติดบ้านเพิ่มขึ้น 10.55 คะแนน (p<0.001) และในกลุ่มติดเตียงเพิ่มขึ้น 5.00 คะแนน (p<0.001) คะแนนความพึงพอใจ (0-5 คะแนน) ในกลุ่มติดบ้านเพิ่มขึ้น 0.63 คะแนน (p<0.001) และในกลุ่มติดเตียงเพิ่มขึ้น 0.50 คะแนน (p<0.001) สรุปผลการวิจัย: การดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่ติดบ้านและติดเตียงที่บ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ทำให้ปัญหาจากการใช้ยา (DRP) และภาวะซึมเศร้า (9Q) ลดลง นอกจากนี้ในผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงยังมีแนวโน้มของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเตียง (Barden’s Score) ลดลง ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยา (Adherence) เพิ่มขึ้น ผลลัพธ์ทางคลินิกเข้าเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น คะแนนการเคลื่อนไหว (Bathel Index Score) เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและมีความพึงพอใจต่อการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพมากขึ้น ดังนั้นควรมีนโยบายเพื่อสนับสนุนระบบการดูแลผู้ป่วยที่ติดบ้านและติดเตียงที่บ้านโดยทีมสหวิชาชีพและควรส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือในการลงเยี่ยมบ้านร่วมกับชุมชนต่อไป  
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/198
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010780006.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.