Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1981
Title: Relationships between Care Burden, Coping Behaviors, Health Status and Depression of Family Caregivers of Bedridden Patients
ความสัมพันธ์ระหว่างภาระในการดูแล พฤติกรรมการเผชิญปัญหา ภาวะสุขภาพ และภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
Authors: Panyakarn Piromkit
ปัญญากาญจน์ ภิรมย์กิจ
Darunee Rujkorakarn
ดรุณี รุจกรกานต์
Mahasarakham University
Darunee Rujkorakarn
ดรุณี รุจกรกานต์
drdarunee@gmail.com
drdarunee@gmail.com
Keywords: ภาวะซึมเศร้า
ภาระในการดูแล
ภาวะสุขภาพ
พฤติกรรมการเผชิญปัญหา
ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
Depression
Caregiver Burden
Health Status
Coping Behavior
Caregiver Bedridden Patient
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The number of caregivers of bedridden patients with older adults and chronic disabilities is increasing in Thailand. Most caregivers are family members and relatives of the patients. The activities of daily care can be complicated and time consuming, affecting the caregivers mental health and quality of life. This study used Pearlin's stress process concept as a framework to guide the research. Objective: This research examined the relationships between depression and care burden, coping behavior, and health status among caregivers of bedridden patients. Research Methods: The sample consisted of 270 caregivers of bedridden patients in a northeastern province of Thailand. Data were collected using a personal information questionnaire, coping behavior assessment, caregiver depression assessment, and health status assessment. Cronbach’s alpha coefficients for internal reliability of the instruments were .93, .94, .82, and .91 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson's correlation coefficients. Results: Most caregivers were offspring of the bedridden patients (64.1%). Their average age was 55 years. The average length of time in caring for the patients was two years and the average daily time to care for the bedridden patients was 14 hours. Most caregivers had no underlying disease (80.7%) nor reported having depression (98.1%). Their average coping behavior score was 118.05. Caregiver burden was low to medium (M = 27.41) and their health status was good (M = 63.94). The relationship between depression and coping behavior was negative and of low value (r = -.27, p < .01). The relationship between depression and care burden was positive and high (r = .64, p < .01). The relationship between depression and health status was negative and moderate (r = -.57, p < .01). Conclusion: The results of this study support Pearlin's concept of stress processes and may be used in promoting, preventing, and reducing depression in caregivers of bedridden patients.
ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนผู้ป่วยติดเตียงทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการในประเทศไทย ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นบุคคลในครอบครัวและญาติของผู้ป่วย โดยกิจกรรมการดูแลมีความซับซ้อนและใช้ระยะเวลานาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตหรือคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล ผู้วิจัยใช้แนวคิดกระบวนการความเครียดของเพอร์ลิน เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาระในการดูแล พฤติกรรมการเผชิญปัญหา ภาวะสุขภาพและภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง วิธีการทำวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในจังหวัดแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยติดเตียง แบบประเมินพฤติกรรมการเผชิญปัญหา แบบประเมินภาระในการดูแล แบบประเมินภาวะซึมเศร้าและแบบประเมินภาวะสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .93, .94, .82 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 55 ปี ร้อยละ 64.1 เป็นบุตร ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 80.7 ใช้ระยะเวลาดูแลผู้ป่วยต่อวันเฉลี่ย 14 ชั่วโมง และระยะเวลาในการดูแลเฉลี่ย 2 ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 98.1) ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเผชิญปัญหาโดยรวมเท่ากับ 118.05 คะแนน ภาระในการดูแลอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง (M = 27.41) และมีภาวะสุขภาพระดับดี (M = 63.94) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าพฤติกรรมการเผชิญปัญหามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับภาวะซึมเศร้า (r = -.27, p < .01) ภาระในการดูแลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับภาวะซึมเศร้า (r = .64, p < .01) และภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับภาวะซึมเศร้า (r = -.57, p < .01) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษานี้สนับสนุนแนวคิดกระบวนการความเครียดของเพอร์ลิน เพื่อทำความเข้าใจการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมป้องกันและลดการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1981
Appears in Collections:The Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010480003.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.