Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1982
Title: Factors Predicting Psychological Flexibility in People with Substance Use Disorder in Northeast Thailand
ปัจจัยทำนายความยืดหยุ่นทางจิตใจของผู้ติดยาเสพติดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Authors: Pornjitti Paowphutorn
พรจิตติ เผ่าภูธร
Choochart Wong-Anuchit
ชูชาติ วงศ์อนุชิต
Mahasarakham University
Choochart Wong-Anuchit
ชูชาติ วงศ์อนุชิต
Choochart.d@msu.ac.th
Choochart.d@msu.ac.th
Keywords: ผู้ติดยาเสพติด
ความยืดหยุ่นทางจิตใจ
การรับรู้ว่าถูกตีตรา
ความภาคภูมิใจในตนเอง
ความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด
กลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบไทย (การทำใจ)
Substance use disorders (SUD)
psychological flexibility
internalized stigma
self-esteem
drug abstinence intention
Thum-jai coping strategies
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Background: The mental health of people with substance use disorder (SUD) should be strengthened for dealing with personal problems and unwanted situations in daily life. Acceptance and Commitment Therapy (ACT) is a conceptual framework often used by examining psychological flexibility as a basis for human adaptation and well-being.  Purpose: This correlational and predictive study aimed to determine factors predicting psychological flexibility in people with SUD.  Factors based on ACT were internalized stigma, drug abstinence intention, self-esteem, and a Thai coping strategy called Thum-jai were examined to predict psychological flexibility.  Method: Data from 266 inpatients with SUD were collected at Thanyarak hospital in northeast Thailand from March to December 2022.  The five research instruments in Thai to collect data were the Internalized Stigma of Substance Abuse Scale, Drug Abstinence Intention Questionnaire, Rosenberg’s Self-Esteem Scale, Thum-jai (Acceptance) Scale, and Acceptance and Action Questionnaire of Substance Abuse (for psychological flexibility). Cronbach’s alpha coefficients for internal consistency reliability were .88, .84, .64, .82, and .78, respectively. Demographic data were analyzed and reported by using descriptive (mean, percentage and standard deviation) and inferential statistics (Pearson’s correlation and Stepwise multiple regression). Results: Four factors correlated significantly with psychological flexibility: Internalized stigma (r = -.301, p < .01), drug abstinence intention (r = .277, p < .01), self-esteem (r = .430, p < .01) and Thum-jai (r = .362, p < .01). In the regression model, each of the four statistically significant factors predicted psychological flexibility of inpatients with SUD (R2 = .275).  Conclusion: To improve psychological flexibility, people with SUD should reduce internalized stigma and strengthen self-esteem, drug abstinence intention, and Thum-jai (Acceptance) as a coping strategy. These factors should be taken into account when developing an intervention to promote psychological flexibility in people with SUD.
ความเป็นมา: สุขภาพจิตของผู้ติดยาเสพติดควรได้รับการส่งเสริม เพื่อให้สามารจัดการกับปัญหาและสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบำบัดด้วยการยอมรับและพันธะสัญญาเป็นแนวคิดที่ได้รับการนำมาใช้ โดยการศึกษาความยืดหยุ่นทางจิตใจ ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ วัตถุประสงค์: การวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์และอำนาจการทํานายในครั้งนี้ มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความยืดหยุ่นทางจิตใจของผู้ติดยาเสพติด ภายใต้แนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธะสัญญา ปัจจัยต่างๆ ที่นำมาใช้ในการทำนายความยืดหยุ่นความจิตใจของผู้ติดยาเสพติด คือ การรับรู้ว่าถูกตีตรา ความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด ความภาคภูมิใจในตนเอง และ กลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบไทย ที่เรียกว่า “การทำใจ” ระเบียบวิธีการวิจัย: ข้อมูลของผู้ติดยาเสพติดจำนวน 266 คน ที่มารับบริการบำบัดรักษาในระยะฟื้นฟูสภาพแบบผู้ป่วยใน ได้รับการเก็บรวบรวม ณ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ทุกแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างเดือนมีนาคม – ธันวาคม ปีพุทธศักราช 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดการรับรู้ว่าถูกตีตรา แบบสอบถามความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด แบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของโรเซ็นเบิร์ก แบบวัดกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบไทย (การทำใจ) และแบบวัดความยืดหยุ่นทางจิตใจของผู้ติดยาเสพติด ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ .88, .84, .64, .82, และ .78 ตามลำดับ ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปและตัวแปรต่างๆ ที่นำมาศึกษาได้รับการวิเคราะห์และรายงานผลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง คือ สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ สถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน   ผลการวิจัย: ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความยืดหยุ่นทางจิตใจของผู้ติดยาเสพติด ได้แก่ การรับรู้ว่าถูกตีตรา (r = -.301, p < .01) ความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด  (r = .277,p < .01) ความภาคภูมิใจในตนเอง (r = .430, p < .01) และกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบไทย : การทำใจ (r = .362, p < .01) โดยเมื่อนำตัวแปรเข้าสู่สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนแล้ว พบว่า ตัวแปรทั้ง 4 นี้สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความยืดหยุ่นทางจิตใจของผู้ติดยาเสพติดได้ร้อยละ 27.5 (R2 = .275)  ข้อเสนอแนะ: ผู้ติดยาเสพติดควรได้รับการส่งเสริมความยืดหยุ่นทางจิตใจ โดยการให้ความสำคัญกับการลดการรับรู้ว่าถูกตีตรา และเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเอง ความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด และกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบไทย (การทำใจ) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนากลวิธีการส่งเสริมความยืดหยุ่นทางจิตใจของผู้ติดยาเสพติด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1982
Appears in Collections:The Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010480004.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.