Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1985
Title: The Relationships Between Mental Health Literacy, Social Support, Quality of Life, and Caregiver Burden in Caregivers of People with Schizophrenia
ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลกับภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง
Authors: Sirichai Meanmit
สิริชัย เมี้ยนมิตร
Narisa Wongpanarak
นริสา วงศ์พนารักษ์
Mahasarakham University
Narisa Wongpanarak
นริสา วงศ์พนารักษ์
narisa.w@msu.ac.th
narisa.w@msu.ac.th
Keywords: ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต, การสนับสนุนทางสังคม, คุณภาพชีวิต, ภาระการดูแลของผู้ดูแล
Mental health literacy; Social support; Quality of life; Caregiver burden
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to study the relationships between mental health literacy, social support, quality of life, and caregiver burden. A sample of 328 caregivers of people with schizophrenia completed the Mental Health Literacy Questionnaire, the Social Support Questionnaires, the WHOQOL-BREF-THAI, and the Zarit Burden Interview (Thai version) questionnaires. Cronbach alpha coefficients to assess the reliability of these instruments were .87, .74, .81, and 72, respectively. Data were analyzed using frequencies , percentages, means, standard deviations, Chi-square, and Pearson product moment correlations. The results showed that the participants had mean scores of mental health literacy, social support, and quality of life at a high level and a mean score of caregiver burden at a moderate level (M=3.83, SD = 0.26, M= 3.62, SD = 0.30, M=103.36, SD = 5.63, M= 15.33, SD = 3.14, respectively). Caregiver burden was negatively and significantly related to mental health literacy, social support, and quality of life (r = - 0.540, - 0.485, - 0.539, respectively, p <.01). Therefore, psychiatric-mental health nurses and other healthcare providers should pay more attention to supporting mental health literacy, social support, and quality of life, thereby reducing caregiver burden.
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ ด้านสุขภาพจิต การสนับสนุนทางสังคม คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลกับภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF - THAI) และ แบบประเมินภาระการดูแลของซาริท ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87, .74, 81 และ .72 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตระดับสูง การสนับสนุนทางสังคมระดับสูง คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี และภาระการดูแลอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.83, S.D. = 0.26, M= 3.26, S.D. = 0.30, M= 103.36, S.D. = 5.63, M= 15.33, S.D. = 3.14 ตามลำดับ) ภาระการดูแลของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์ทางลบกับความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = - 0.540, - 0.485, - 0.539 ที่ระดับ < .01 ตามลำดับ) ดังนั้น พยาบาลจิตเวชและบุคลากรด้านสุขภาพ ควรให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิต เพื่อช่วยลดความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1985
Appears in Collections:The Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010420006.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.