Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1988
Title:   The Effects of Symptom Management Program on Inhaler Skills and Dyspnea among Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Diseases  
ผลของโปรแกรมการจัดการอาการต่อทักษะการพ่นยา และอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Authors: Wannapa Pothiya
วรรณนภา โพธิยา
Supatra Buatee
สุพัตรา บัวที
Mahasarakham University
Supatra Buatee
สุพัตรา บัวที
supatra.b@msu.ac.th
supatra.b@msu.ac.th
Keywords: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
การจัดการอาการ
ทักษะการพ่นยา
อาการหายใจลำบาก
Chronic obstructive pulmonary disease
Symptom management
Inhaler skills
Dyspnea
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this quasi–experimental study was to test of symptom management programs on inhaler skills and dyspnea among patients with chronic obstructive pulmonary disease. The participants were patients with chronic obstructive pulmonary disease divided into 24 persons in experimental and 24 persons in control groups. The control group received usual care, and the experimental group received the symptom management program consisting of 5 steps: 1) assessment of the experience of dyspnea, 2) education on dealing with dyspnea, 3) training in skills to manage breathing difficulties, 4) practice of dealing with dyspnea, 5) evaluation of management of dyspnea, and follow-up for 5 weeks, assessing symptom management with respiratory distress assessment and inhaler skills. Analyze data by determining frequency, percentage, average, standard deviation. t-test Paired t-test The results of the research were as follows The results of this study revealed as follows: 1. The average score of inhaler skills in patients with chronic obstructive pulmonary disease in the programmed group was statistically significantly higher than that of the group receiving normal nursing. (t = 9.61, p < .001) 2. The average score of dyspnea in patients with chronic obstructive pulmonary disease in the programmed group was statistically significantly lower than that of the group receiving normal nursing. (t = -5.85, p < .001) 3. The average score of inhaler skills in patients with chronic obstructive pulmonary disease of the group receiving the program was statistically significantly higher than before receiving the program. (t =10.93, p < .05) 4. The average score of dyspnea in patients with COPD in the group receiving the program was statistically significantly lower than before receiving the program. (t = - 3.42, p < .05) Suggestion, Implementing symptom management programs that focus on providing patients and caregivers with symptom awareness and symptom management methods that are appropriate to each patient's context. So that patients can take it as a way to take care of their health and help reduce respiratory distress.
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการจัดการอาการต่อทักษะการพ่นยาและอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 24 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการอาการ มี 5 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินเกี่ยวกับประสบการณ์อาการหายใจลำบาก 2) การให้ความรู้ในการจัดการกับอาการหายใจลำบาก 3) การฝึกทักษะในการจัดการอาการหายใจลำบาก 4) การปฏิบัติการจัดการกับอาการหายใจลำบาก 5) การประเมินผลการจัดการกับอาการหายใจลำบาก และติดตามผลเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ประเมินผลการจัดการอาการด้วยแบบประเมินอาการหายใจลำบาก และทักษะการพ่นยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบคะแนนทักษะการพ่นยาและอาการหายใจลำบากทดสอบ t- test การทดสอบ Paired t–test ผลการวิจัยพบว่า 1.คะแนนเฉลี่ยทักษะการพ่นยาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 9.61, p < .001) 2.คะแนนเฉลี่ยอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -5.85, p < .001) 3.คะแนนเฉลี่ยทักษะการพ่นยาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t =10.93, p < .05) 4.คะแนนเฉลี่ยอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = - 3.42, p < .05) ข้อเสนอแนะ การนำโปรแกรมการจัดการอาการไปใช้โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีการรับรู้อาการและวิธีการจัดการอาการที่เหมาะสมกับบริบทของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพและช่วยลดอาการหายใจลำบาก  
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1988
Appears in Collections:The Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010485005.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.