Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/199
Title: Associations between Alcohol Consumption and Injuries in Emergency Room Patients: A Case-crossover Study
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการบาดเจ็บในผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน: A Case-crossover Study
Authors: Nattawipa Tangjai
ณัฐวิภา ตั้งใจ
Surasak Chaiyasong
สุรศักดิ์ ไชยสงค์
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การบาดเจ็บ
อุบัติเหตุจราจร
case-crossover study design
alcohol consumption
injury
road traffic accident
case-crossover study design
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Evidence in several countries indicates that alcohol consumption is associated with injuries. In Thailand, a case-crossover study collecting alcohol and injury data in emergency room (ER) patients was conducted but the association between alcohol and injury in these Thai patients was not reported. The objective of this study is to examine associations between alcohol and injury in ER patients using data from the case-crossover study. This study is a secondary data analysis of ER patients who firstly injured. These patients were defined as cases and themselves in the past, no injury at that time (control period), were defined as controls. Exposure was drinking alcohol in six hours prior to injury time for cases or drinking alcohol in six hours prior to the same time in the past (control period). Control periods included 1 day and 1 week in the past. Conditional logistic regression was used to examine the association. Stratified analysis was performed. Of total 1,001 patients with complete data, most of them were male (65.8%), aged 20-39 years (40.6%), graduated from primary school or lower (43.3%) and had low income (76.6%). Road traffic accident injuries were 38.1%. From conditional logistic regression analysis, alcohol consumption was significantly associated with all-cause injuries (OR = 4.95; 95% CI 3.66-6.71), road traffic accident injuries (OR = 9.49; 95% CI 5.56-16.19), and other causes injuries (OR = 3.14; 95% CI 2.15-4.60) when using multiple matching of controls. This association was also found in stratified analyses by gender, age, education, income and period of days. The findings of this study confirm evidence from other countries that alcohol is strongly associated with injuries.
หลักฐานวิชาการในต่างประเทศแสดงให้เห็นว่าการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บ ในประเทศไทยมีการศึกษารูปแบบ case-crossover ที่เก็บข้อมูลการบริโภคแอลกอฮอล์และการบาดเจ็บในผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในห้องฉุกเฉิน แต่ยังไม่มีการรายงานผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ดังกล่าว การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ในผู้ที่มาเข้ารับการบริการที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิของผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินที่ได้รับการบาดเจ็บเป็นครั้งแรก โดยผู้ที่บาดเจ็บคือ case และ control คือผู้ที่บาดเจ็บเหล่านี้ในช่วงเวลาอดีต (ที่ไม่มีการบาดเจ็บ หรือช่วง control period) ส่วน exposure คือ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน 6 ชั่วโมงก่อนได้รับบาดเจ็บสำหรับ case และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน 6 ชั่วโมง ณ ช่วงเวลาเดียวกันในอดีตสำหรับ control ซึ่งกำหนด control period เป็นช่วง 1 วัน และ 1 สัปดาห์ในอดีต วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วย Conditional logistic regression และทำการวิเคราะห์แยกชั้นภูมิร่วมด้วย ผลการศึกษาในผู้ป่วยที่มีข้อมูลสมบูรณ์จำนวน 1,001 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (65.8%) อายุอยู่ในช่วง 20-39 ปี (40.6%) มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (43.3%) และมีรายได้ต่ำ (76.6%) สาเหตุการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรเท่ากับ 38.1% จากการวิเคราะห์ด้วย Conditional logistic regression การดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการบาดเจ็บจากทุกสาเหตุ (OR = 4.95; 95% CI 3.66-6.71) การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร (OR = 9.49; 95% CI 5.56-16.19) และการบาดเจ็บจากสาเหตุอื่นๆ (OR = 3.14; 95% CI 2.15-4.60) เมื่อใช้ multiple matching controls ความสัมพันธ์นี้ยังพบในการวิเคราะห์แบบแยกชั้นภูมิตามเพศ อายุ การศึกษา รายได้ และช่วงเวลาของวัน โดยสรุปข้อค้นพบของการศึกษานี้ยืนยันหลักฐานเชิงประจักษ์ในประเทศอื่นๆ ว่าการดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ต่อการบาดเจ็บอย่างชัดเจน
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/199
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010780004.pdf7.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.