Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/200
Title: Cost and utility of treatment in patients with colorectal cancer at Surin Hospital
ต้นทุนและอรรถประโยชน์ของการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ณ โรงพยาบาลสุรินทร์
Authors: Nootjarin Yindee
นุชจริน ยินดี
Onanong  Waleekhachonloet
อรอนงค์ วลีขจรเลิศ
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์
อรรถประโยชน์
คุณภาพชีวิต
EQ-5D-5L
Direct medical cost
Colorectal cancer
Utility
Quality of life
EQ-5D-5L
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Objectives: This study aimed to examine direct medical costs, health profiles and quality of life in terms of utility in patients with metastatic colorectal cancer.  Methods: Descriptive study design was used. Study was divided into two parts. Part 1 was retrospective study in patients who were newly diagnosed as metastatic colorectal cancer during January 1, 2015 and December 31, 2016. Direct medical costs were obtained from patients’ medical records. Part 2 was conducted by patient interview during March and August 2017 to obtain quality of life using EQ-5D-5L (The European Quality of Life Measure-5 Domain). Study samples were Thai patients aged at least 18 years who aware of having metastatic colorectal cancer. For part 2, additional inclusion criteria were patients who were able to communicate, and willing to participate. Results: Study part 1 included 36 patients with an average age of 55.67±11.18 years. Twenty of them (55.56%) completed courses of chemotherapy. Most patients received oxaliplatin-based therapy (N=21) and 14 of them (66.7%) completed courses of therapy. The average total cost of oxaliplatin-based therapy was 249,543.46 baht/patient/course and chemotherapy was the major cost component accounting for 51.68% of total cost. For outcome at one year of oxaliplatin-based therapy, 14.29% of patients had complete response, 33.33% of patients had progressive disease. Severe adverse events occurred 9 events in 7 patients. Febrile neutropenia from FOLFOX4 was the most common severe adverse events (4 out of 9 events) with an average cost of 7,944.87 baht per event. For Part 2, the total number of study patients was 65, with an average age of 59.3±12.2 years. Fifty one patients were considered progression-free. The most common chemotherapy regimens in progression-free patients were FOLFIRI (N=16), FOLFOX4 (N=14), and mFOLFOX6 (N=12). Forty patients were considered disease progression and 11 of them received chemotherapy while 3 of them received palliative care. EQ-5D-5L health profiles showed that majority of patients with progression free and patients with disease progression who received chemotherapy had no problem or slightly problems in all domains of EQ-5D-5L. On the other hands, patients with disease progression who received palliative care had severe or extremely severe problems in all domains. For patients with progression free, median utilities in those receiving FOLFIRI, mFOLFOX6 and FOLFOX were 0.88, 0.86 and 0.79, respectively no significant differences were found. For patients with disease progression, median utility was 0.87 in those receiving chemotherapy and -0.28 in those receiving palliative care. Cost and utility from this study can be used for health technology assessment in the future.  
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาต้นทุนทางการแพทย์ของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะลุกลามและคุณภาพชีวิตในแง่อรรถประโยชน์ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เก็บข้อมูลย้อนหลัง  (Retrospective study) ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 - 31 ธันวาคม 2559 โดยเก็บข้อมูลต้นทุนทางการแพทย์ของผู้ป่วยแต่ละรายจากเวชระเบียนหลังจากได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาจนครบรอบการรักษา ส่วนที่ 2 สัมภาษณ์ข้อมูลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในช่วงมีนาคม 2560 ถึง สิงหาคม 2560 โดยใช้เครื่องมือ EQ-5D-5L (The European Quality of Life Measure-5 Domain) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยชาวไทยอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปีที่มารับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยผู้ป่วยทราบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็ง  สำหรับการศึกษาส่วนที่ 2 เกณฑ์คัดเข้าเพิ่มเติม คือ ผู้ป่วยต้องไม่มีปัญหาการรับรู้และการสื่อสาร และยินดีเข้าร่วมการศึกษา ผลการศึกษา: ส่วนที่ 1 ต้นทุนค่ารักษาที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะลุกลามที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลสุรินทร์ พบว่า จำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษา จำนวน 36 คน อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 55.67±11.18 ปี มีผู้ป่วย 20 คน (ร้อยละ 55.56 ) ที่ได้รับยาครบรอบการรักษา เมื่อจำแนกตามสูตรยา พบว่าผู้ป่วยได้รับสูตรยาที่มีจำนวนมากที่สุดคือสูตรที่มียา oxaliplatin จำนวน 21 คน ได้รับยาครบรอบการรักษา 14 คน (ร้อยละ 66.67) ต้นทุนในผู้ที่ได้รับยาครบรอบการรักษาเฉลี่ยเท่ากับ  249,543.46 บาทต่อคน โดยค่ายาเป็นร้อยละ 51.68 ของต้นทุน กลุ่มที่ได้รับยา oxaliplatin จนครบรอบการรักษา มีผลการรักษาที่ 1 ปี เป็น Complete response 2 คน (ร้อยละ 14.29) Progressive disease 7 คน (ร้อยละ 33.33) พบว่ามีผู้ป่วย 7 รายเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาเคมีบำบัดทั้งสิ้น 9 เหตุการณ์ โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุดเกิดจากยาสูตร FOLFOX4 คือ Febrile neutropenia เกิดทั้งสิ้น 4 เหตุการณ์ คิดเป็นร้อยละ 44.44 ของผู้ป่วยที่ได้รับยาสูตรนี้ ต้นทุนเฉลี่ยในการรักษา Febrile neutropenia เท่ากับ 7,944.87 บาท ต่อการเกิดเหตุการณ์ 1 ครั้ง ส่วนที่ 2 ด้านอรรถประโยชน์ จำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 65 ราย อายุเฉลี่ย 59.3±12.2 ปี เป็นผู้ป่วยระยะที่ยังไม่มีการดำเนินไปของโรค (Progression free) 51 ราย โดยสูตรเคมีบำบัดที่มีการสั่งใช้บ่อยคือ FOLFIRI 16 ราย, FOLFOX4 14 ราย, mFOLFOX6 12 ราย  และเป็นผู้ป่วยระยะที่มีการลุกลามของโรค (Progression) 14 ราย โดย 11 รายได้รับเคมีบำบัด และ 3 รายได้รับการรักษาแบบประคับประคอง การประเมินมิติสุขภาพทั้ง 5 ด้านโดย EQ-5D-5L พบว่า ผู้ป่วยระยะที่ยังไม่มีการดำเนินไปของโรคที่ได้รับยาเคมีบำบัดทุกสูตร และผู้ป่วยระยะที่มีการดำเนินไปของโรคที่ได้รับยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่ตอบว่าไม่มีปัญหาถึงมีปัญหาเล็กน้อยในการในกิจกรรมที่ถามในแบบสอบถาม EQ-5D-5L  ในขณะที่ผู้ป่วยระยะที่มีการดำเนินไปของโรคที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองมีปัญหาอย่างมากถึงมากที่สุดในทุกมิติ สำหรับผู้ป่วยระยะที่ยังไม่มีการดำเนินไปของโรคพบว่า ค่ามัธยฐานของอรรถประโยชน์ในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดสูตร FOLFIRI, mFOLFOX6, FOLFOX4 เท่ากับ 0.88, 0.86, 0.79 คะแนนตามลำดับ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  สำหรับผู้ป่วยระยะที่มีการดำเนินไปของโรค พบว่าค่ามัธยฐานของค่าอรรถประโยชน์ในผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดเท่ากับ 0.87 ในขณะที่ค่ามัธยฐานอรรถประโยชน์ในผู้ที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองเท่ากับ -0.28 คะแนน ต้นทุนทางการแพทย์ของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะลุกลาม และคุณภาพชีวิตในแง่อรรถประโยชน์จากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้กับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพต่อไปได้  
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/200
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010780006.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.