Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2005
Title: The Development of Teaching and Learning Supervision Model for Bachelor’s Degree in Dancing Art Program of Bunditpatanasilpa Institute
การพัฒนารูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขานาฏศิลป์ศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Authors: Paramet Phoklai
ปรเมศวร์ โพธิ์คล้าย
Karn Ruangmontri
กาญจน์ เรืองมนตรี
Mahasarakham University
Karn Ruangmontri
กาญจน์ เรืองมนตรี
Karn.r@msu.ac.th
Karn.r@msu.ac.th
Keywords: รูปแบบการนิเทศ
การนิเทศการเรียนการสอนนาฏศิลป์
การสอนนาฏศิลป์
Supervision Model
Supervision of Dancing Art Teaching and Learning
Dancing Art Teaching
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research aimed 1) to study current status and desirable status of teaching and learning supervision, 2) to develop a teaching and learning supervision model 3) to employ the developed teaching and learning supervision model in supervising teaching and learning for the bachelor’s degree in dancing art program, with specific purposes including (1) To study the ability in teaching and learning supervision by using the developed teaching and learning supervision model. (2) To study the ability in employing the developed teaching and learning supervision model for learning and teaching management. (3) To study satisfaction of supervisors and supervisees, and students taught with the developed teaching and learning supervision model by using the research and development process, divided into 3 phases: Phase 1 involved studying the current and desirable conditions of teaching and learning supervision. There were 2 target groups. Group 1 was the group of key informants for drafting the model, i.e. college administrators, instructors responsible for curriculum, instructors of dancing art from 12 dancing art colleges nationwide, and Faculty of Art Education selected by purposive sampling method, consisting of 208 instructors of dancing art. Group 2 was the group of qualified persons consisting of qualified National Artists in Thai Dramatic Arts, directors of dancing art colleges graduated with a doctoral degree and dancing arts education instructors with doctoral degrees, totaling 9 people. The research instruments included a questionnaire about current status and desirable status and needs of teaching and learning supervision for Bachelor’s degree in dancing art program and the interview form. Phase 2 involved developing the instructional communication model. The target group included experts in designing instructional communication models and conducting focus group discussions to confirm the model, and then evaluated  by 10 experts obtained by a purposive sampling method. The tools used were group discussion record form, supervision model draft evaluation form, supervision model evaluation form, and supervision manual evaluation form. Phase 3 involved evaluation by experimenting with the teaching and learning supervision model. The target groups were 5 instructors in charge of the program, 10 full-time program instructors, and 30 students in the dancing art program. The tools used included an evaluation form of dancing art teaching and learning management plan, an evaluation form of supervision competency, an evaluation form of learning management competency, satisfaction evaluation form. Statistics used in the research are mean, standard deviation, percentage, and modified priority need index (PNImodified). The research results indicated the following: 1. Current status of teaching and learning supervision for Bachelor’s degree in dancing art program was at a moderate level and desirable status of teaching and learning supervision for Bachelor’s degree in dancing art program was at the highest level. 2. The teaching and learning supervision model for Bachelor’s degree in dancing art program had 5 components, namely, 1. principles of the model, 2. objectives of the model, 3. the process of teaching and learning supervision for Bachelor’s degree in dancing art program comprised 5 steps, i.e. 1) analysis for goal = A, 2) result-based learning = R, 3) technology = T, 4) participatory action supervision = P, 5) evaluation = E, 4. measurement and evaluation of the developed model results, and 5. conditions for success. 3. Based on the evaluation of the model, 1) instructors being supervised had higher knowledge and understanding about dancing art teaching and learning management than before receiving the developed model of supervision, 2) instructors being supervised had higher ability in dancing art teaching and learning management than before receiving the developed model of supervision, 3) instructors being supervised had ability in dancing art teaching and learning management with 87.79/87 efficiency of process/outcome. Effectiveness of teaching and learning based on the model was 76%, 4) instructors being supervisors and supervisees were satisfied with the teaching and learning supervision model for Bachelor’s degree in dancing art program at the highest level, 5) students were satisfied with teaching and learning management of dancing art skills according to the efficient teaching and learning management model at the highest level and 6) the evaluation results of the teaching and learning supervision model for Bachelor’s degree in dancing art program were at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศการจัดเรียนการสอน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการเรียนการสอน 3) เพื่อประเมินผลโดยการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการเรียนการสอน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขานาฏศิลป์ศึกษา โดยมีจุดประสงค์เฉพาะได้แก่ (1) ศึกษาความสามารถในการนิเทศการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น (2) ศึกษาความสามารถในการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการเรียนการสอน (3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้นิเทศ ผู้รับการนิเทศ และนักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารวิทยาลัย ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนสาขานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปทั่วประเทศ 12 แห่ง และคณะศิลปศึกษา 1 คณะ ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นอาจารย์ผู้สอนสาขานาฏศิลป์ศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและผู้บริหาร รวมทั้งสิ้น 208 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นศิลปินแห่งชาติสาขานาฏศิลป์ไทย ผู้อำนวยวิทยาลัยนาฏศิลปที่มีวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาเอก และอาจารย์ผู้สอนสาขานาฏศิลป์ศึกษา ที่มีวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาเอก รวมทั้งสิ้น 9 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ เกี่ยวกับการนิเทศการเรียนการสอน และแบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการนิเทศการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในการยกร่างรูปแบบ และดำเนินการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อยืนยันและประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินร่างรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอน แบบประเมินรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอน และแบบประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศการเรียนการสอน ระยะที่ 3 ประเมินผลโดยการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 5 คน และอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 10 คน นักศึกษาสาขานาฏศิลป์ศึกษา จำนวน 30 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์  แบบประเมินสมรรถนะการนิเทศ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการและความจำเป็น Modified Priority Need Index (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศการเรียนการสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขานาฏศิลป์ศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันการนิเทศเรียนการสอน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการการเรียนการสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขานาฏศิลป์ศึกษา พบว่า รูปแบบการนิเทศการเรียนการสอน มีองค์ประกอบหลัก 5 ประการ คือ 1. หลักการของรูปแบบ 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3. กระบวนการนิเทศการเรียนการสอน มี 5 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์ปัญหาและเป้าหมาย (Analysis For Goal = A) 2) เรียนรู้ตามผลลัพธ์การนิเทศ (Result-Based Learning = R) 3) การเลือกเทคโนโลยีมาใช้ในการนิเทศ (Technology = T) 4) ปฏิบัติการนิเทศแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Supervision = P) 5) ประเมินผลการนิเทศ (Evaluating = E) และ 4. การวัดและประเมินผลการพัฒนารูปแบบและ 5. เงื่อนไขความสำเร็จ      3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขานาฏศิลป์ศึกษา พบว่า 1) อาจารย์ผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์สูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น 2) อาจารย์ผู้รับการนิเทศมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์สูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น 3) อาจารย์รับการนิเทศมีความสามารถในจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยมีประสิทธิภาพการสอนด้านกระบวนการและผลลัพธ์ร้อยละ 87.79/87 มีประสิทธิผลการจัดเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบสูงขึ้นร้อยละ 76 4) อาจารย์ผู้นิเทศ อาจารย์ผู้รับการนิเทศ และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด และ 5) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2005
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010564003.pdf8.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.