Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2007
Title: The Development of a Model for Promotion of Learning Management Competencies in the 21st Century of Lower Secondary School Teachers
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Authors: Uckarajade Sihawong
อัครเจตน์ สีหะวงษ์
Songsak Phusee - orn
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน
Mahasarakham University
Songsak Phusee - orn
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน
songsak.p@msu.ac.th
songsak.p@msu.ac.th
Keywords: สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู
ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21, ความต้องการจำเป็น
ประเมินผลการใช้รูปแบบ
21st century learning management competencies of teachers
21st century learner skills Need Assessment
Evaluate the use of the model.
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study the necessary needs for competency promotion; 2) to create a model for promoting learning management competency in the 21st century of lower secondary school teachers 3) to study the effect of using the model for promoting competency in learning management in the 21st century of lower secondary school teachers, and 4) to assess the use of the model for promoting competency in learning management in the 21st century of lower secondary school teachers. The samples were administrators, education supervisors, teachers under the Secondary Educational Service Area Office Sisaket Yasothon, academic year 2022. The research tools were a Model for Promotion of Competency in Learning Management in the 21st Century of Lower Secondary School Teachers, a Manual of Necessary Needs Assessment Form, Multi-characteristic Consensus Meeting (MACR), Assessment form for learning management competency in the 21st Century Skills Assessment, and Project Assessment Questionnaires. Statistics used in data analysis were percentage (%), mean (x̅), standard deviation (S.D.), F-test, one-way ANOVA, and content analysis. The research results are as follows: 1. The results of the study of lower secondary school teachers' needs for promoting competency in learning management in the 21st century found that the overall condition should be (I: Important) at the highest level and the actual situation (D: Degree of success) overall was at a high level when considering the overall picture, equal to 0.07   2. The results of creating a model for promoting competency in learning management in the 21st century of lower secondary school teachers consisted of 5 components; 1) Background and importance, 2) Principles, 3) Objectives, 4) Processes, and 5) Measurement and evaluation (Face to Face Training, Coaching Training, and Online Training using electronic media). Overall suitability assessment results were at the highest level.   3. The results of using the model to promote competency in learning management in the 21st century of lower secondary school teachers were as follows: 3.1 Teachers' competencies in learning management in the 21st century were significantly different at the .05 level, where the guided training was higher than the workshop/face-to-face training and was statistically significant at the .05 level. Other types of training were not different.   3.2 The 21st Century skills (3R8C) of the students were significantly different at the .05 level, where the guided training was higher than the workshop/ face-to-face training with statistical significance at the .05 level and training using the guided method higher than training using electronic media with online systems at a statistical significance at the .05 level. Other types of training were not different.   4. Evaluation results of using the model to promote competency in learning management in the century 21st of lower secondary school teachers using the overall CIPPIEST Model assessment concept at the highest level.  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) สร้างรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านการ จัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่าง ได้แก่  ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ และยโสธร ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และคู่มือ แบบประเมินความต้องการจำเป็น แบบบันทึกการประชุมเพื่อหาฉันทามติแบบพหุคุณลักษณะ (MACR) แบบประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และแบบสอบถามการประเมินโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̅)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test One way ANOVA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า มีสภาพที่ควรจะเป็น (I: Important) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และสภาพจริงที่เป็นอยู่ (D: Degree of success) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในภาพรวม มีค่าเท่ากับ 0.07  2. ผลการสร้างรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการ และ 5) การวัดและประเมินผล โดยมีกระบวนการ 3 รูปแบบ ดังนี้  1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ/แบบเผชิญหน้า (Face to face Training)  2) การอบรมโดยใช้วิธีการชี้แนะ (Coaching Training) และ 3) การอบรมโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบออนไลน์ (Online Training) และมีผลการประเมินความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปรากฏดังนี้  3.1 สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่การอบรมโดยใช้วิธีการชี้แนะสูงกว่าการอบรมเชิงปฏิบัติการ/แบบเผชิญหน้า และอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการอบรมแบบอื่นไม่ต่างกัน 3.2 ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (21st Century skills: 3R8C) ของนักเรียนต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่การอบรมโดยใช้วิธีการชี้แนะสูงกว่าการอบรมเชิงปฏิบัติการ/แบบเผชิญหน้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการอบรมโดยใช้วิธีการชี้แนะ สูงกว่าการอบรมโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการอบรมแบบอื่นไม่ต่างกัน 4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้แนวคิดการประเมินแบบ CIPPIEST Model โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2007
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010566008.pdf13.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.