Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/201
Title: | Assessment of Regimens and Clinical Outcomes of Antimicrobial Use in Hospital-Acquired Pneumonia Patients with Drug Resistant Acinetobacter baumannii Infections การประเมินแบบแผน และผลลัพธ์ทางคลินิก จากการใช้ยาต้านจุลชีพรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบในโรงพยาบาลที่ติดเชื้อดื้อยา Acinetobacter baumannii |
Authors: | Wanwisa Kanankaeng วันวิสาข์ ขนานแข็ง Peeraya Sriphong พีรยา ศรีผ่อง Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy |
Keywords: | ปอดอักเสบในโรงพยาบาล การติดเชื้อดื้อยา A. baumannii แบบแผนการใช้ยาต้านจุลชีพ hospital-acquired pneumonia drug-resistant A. baumannii antimicrobial regimens |
Issue Date: | 25 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Acinetobacter baumannii is an important cause of resistant bacterial infections with an attributable high mortality. Drug-resistant A. baumannii is the most common causative pathogen in hospital-acquired pneumonia at Maharat Nakhon Ratchasima hospital. However, the information on regimens and clinical outcomes of antimicrobial therapy are limited. The aim of this study was to assess the use of antimicrobial regimens, clinical outcomes and safety in hospital-acquired pneumonia with multidrug-resistant A. baumannii and extensively drug-resistant A. baumannii infections. This retrospective study collected data from electronic medical records of patients in the department of medicine at Maharat Nakhon Ratchasima hospital from July 2016 to December 2016. The clinical outcomes were assessed at 72 hours, including improved, stable and worse and at the end of antimicrobial therapy, including cure and failure. A total of 94 patients were included in the study. There were 20.2% had clinical improvement at 72 hours after treatment, 28.7% clinical cure at the end of therapy. In-hospital mortality rate was 67.0%. This study found 17 antimicrobial regimens. The most used antimicrobial regimen was a combination of colistin and carbapenems (33.0%). Among the 17 regimens, the triple combinations of carbapenem, fosfomycin and tigecycline showed good clinical outcomes, which 100.0% were clinical cure and in-hospital mortality rate was 0%. No significant difference could be identified between the colistin group and non-colistin group with the result of clinical outcomes. In-hospital mortality rate was significantly lower with combination therapy compared with monotherapy (p = 0.049). Adverse drug reactions were found in 13 patients (13.8%), 11 patients (29.7%) developed nephrotoxicity of colistin injection. In conclusion, The most used antimicrobial regimen was a combination of colistin and carbapenem and the triple combinations of carbapenem, fosfomycin and tigecycline showed good clinical outcomes. However, further prospective studies and experimental studies are needed to validate the result of this study. Acinetobacter baumannii เป็นสาเหตุการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่สำคัญ และพบอัตราการเสียชีวิตได้สูง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาพบผู้ป่วยปอดอักเสบในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อดื้อยา A. baumannii มากที่สุด แต่ยังไม่มีการศึกษาที่รวบรวมแบบแผนและผลลัพธ์จากการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินแบบแผนการใช้ยาต้านจุลชีพ ผลลัพธ์ทางคลินิก และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต้านจุลชีพของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาลที่ติดเชื้อ multidrug-resistant A. baumannii และ extensively drug-resistant A. baumannii โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ป่วยที่มารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2559 - ธันวาคม พ.ศ. 2559 ผลลัพธ์ทางคลินิก คือ ดีขึ้น คงที่ หรือ แย่ลง ประเมินเมื่อรับยาต้านจุลชีพ 72 ชั่วโมง และ รักษาหาย หรือ ล้มเหลวจากการรักษา ประเมินเมื่อสิ้นสุดการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ ผลการศึกษาจากผู้ป่วยทั้งหมด 94 คน มีอาการดีขึ้นหลังรับยาต้านจุลชีพ 72 ชั่วโมง ร้อยละ 20.2 รักษาหาย ร้อยละ 28.7 และ มีอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล ร้อยละ 67.0 พบแบบแผนการใช้ยาต้านจุลชีพตามกลุ่มยาทั้งหมด 17 แบบแผน แบบแผนที่พบการใช้มากที่สุด คือ ใช้ colistin ฉีด ร่วมกับ ยากลุ่ม carbapenem ร้อยละ 33.0 แบบแผนที่พบผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดี คือ การใช้ยา 3 ชนิดที่มี carbapenem ร่วมกับ fosfomycin ร่วมกับ tigecycline โดยพบผู้ป่วยรักษาหายทุกคน และไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาล การใช้ยาต้านจุลชีพที่มี colistin ให้ผลลัพธ์ทางคลินิกไม่ต่างจากการใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่มี colistin จากการทดสอบทางสถิติ และ การใช้ยาต้านจุลชีพร่วมกันหลายชนิดพบการเสียชีวิตในโรงพยาบาลน้อยกว่าการใช้ยาต้านจุลชีพชนิดเดียว (p = 0.049) พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต้านจุลชีพทั้งหมด 13 คน คิดเป็นร้อยละ 13.8 ส่วนใหญ่ คือ เกิดพิษต่อไตจาก colistin 11 คน จากผู้ใช้ colistin ฉีด 37 คน คิดเป็นร้อยละ 29.7 โดยสรุปแบบแผนที่พบการใช้มากที่สุดในการรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบในโรงพยาบาลการติดเชื้อดื้อยา A. baumannii คือ การใช้ colistin ร่วมกับยากลุ่ม carbapenem แบบแผนที่พบผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดี คือ การใช้ยา 3 ชนิดที่มี carbapenem ร่วมกับ fosfomycin ร่วมกับ tigecycline ซึ่งควรทำการศึกษาแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้าหรือการศึกษาเชิงทดลองต่อไป |
Description: | Master of Pharmacy (M.Pharm.) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/201 |
Appears in Collections: | The Faculty of Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58010780011.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.