Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/204
Title: | Prevalence and Model Development for Management of Amlodipine Induced Gingival Overgrowth in Patients with Hypertensive ความชุกและการพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะเหงือกโตจากการใช้ยาแอมโลดิปีนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง |
Authors: | Pornpirom Grasajun พรภิรมย์ กระแสจันทร์ Rodchares Hanrinth รจเรศ หาญรินทร์ Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy |
Keywords: | แอมโลดิปีน เหงือกโต ความชุก amlodipine gingival overgrowth prevalence |
Issue Date: | 20 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Objectives: To determine the guidelines to prevent, and manage amlodipine induced gingival overgrowth (AIGO). Methods: The study employed mixed methodology of both qualitative and quantitative. The researchers compared 152 patients taking amlodipine and 147 patients taking others anti-hypertensive medications. The study examined oral hygiene and gingivitis using the OHI-S and the Bokenkamp et al.’s criteria, respectively. A dentist, who was blinded to the groups subjects belonging to, was the examiner in both groups. The study assessed oral health quality of life by using the OIDP. The researchers developed the guidelines to prevent, and manage AIGO by applying concept mapping. Results: Prevalence of GO was 12.50 and 4.76% in the study group and comparison group, respectively (OR=3.04, 95% CI=1.12-8.20, P=0.018). Smoking and calculus were significantly associated to GO. The guideline for management of AIGO in hypertensive patients consisted of 1) setting of clear policy 2) creating knowledge for multidisciplinary team 3) strong multidisciplinary team 4) having quality service for AIGO and 5) proactively improving to prevent the problem Conclusion: The guideline for management of AIGO should consist of 5 dimensions identified in the study. วัตถุประสงค์ : เพื่อกำหนดแนวทางป้องกัน และจัดการภาวะเหงือกโตหลังการใช้ยา amlodipine วิธีการศึกษา : การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเปรียบเทียบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ใช้ยา amlodipine (กลุ่มศึกษา) จำนวน 152 คน กับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ใช้ยาลดความดันโลหิตชนิดอื่น (กลุ่มเปรียบเทียบ) จำนวน 147 คน ประเมินอนามัยช่องปากและเหงือกอักเสบด้วยเกณฑ์การประเมินค่าดัชนีอนามัยช่องปากอย่างง่าย (OHI-S) และประเมินเหงือกโตด้วยเกณฑ์การประเมินของ Bokenkamp และคณะ การประเมินในทั้งสองกลุ่มตัวอย่างทำโดยทันตแพทย์ซึ่งไม่ทราบว่าผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มศึกษาหรือกลุ่มเปรียบเทียบ ประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากด้วย Oral impact on daily performance (OIDP) ผู้วิจัยพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อป้องกัน และจัดการ กับภาวะเหงือกโตหลังการใช้ยา amlodipine โดยใช้หลักการ concept mapping ผลการศึกษา : ความชุกของการเกิดเหงือกโตคิดเป็นร้อยละ 12.50 และ 4.76 ในกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ ตามลำดับ (OR=3.04, 95% CI=1.12-8.20, P=0.018) การสูบบุหรี่ และคราบหินปูน มีความสัมพันธ์กับภาวะเหงือกโตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รูปแบบการดูแลผู้ป่วยภาวะเหงือกโตจากการใช้ยา amlodipine ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ได้จากการศึกษา ประกอบด้วย 1) การกำหนดนโยบายที่ชัดเจน 2) การสร้างองค์ความรู้ให้กับทีมงาน 3) การมีทีมงานสหวิชาชีพที่เข้มแข็ง 4) การให้บริการเชิงรับที่มีคุณภาพ และ 5) การพัฒนางานเชิงรุกเพื่อป้องกันปัญหา สรุป: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยภาวะเหงือกโตจากการใช้ยา amlodipine ควรประกอบด้วย 5 ประเด็นสำคัญที่พบในงานวิจัย |
Description: | Master of Pharmacy (M.Pharm.) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/204 |
Appears in Collections: | The Faculty of Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010781009.pdf | 5.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.