Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2087
Title: The Development of Innovative Organization Guidelines for Schools Under Surin Primary Educational Service Area Office 3
แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3
Authors: Penpimon Ponsombat
เพ็ญพิมล พลสมบัติ
Boonchom Srisa-ard
บุญชม ศรีสะอาด
Mahasarakham University
Boonchom Srisa-ard
บุญชม ศรีสะอาด
boonchom.s@msu.ac.th
boonchom.s@msu.ac.th
Keywords: แนวทางการพัฒนา
องค์กรแห่งนวัตกรรม
The Development Guidelines
Innovative Organization
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to; 1) to study the current conditions, desirable and conditions, and the needs to enhance the innovative organization guidelines for schools under Surin Primary Educational Service Area Office 3 2) to develop guidelines for being an Development of Innovative Organization Guidelines for Schools Under Surin primary educational service area Office 3, the research method was divided into 2 phases: Phase 1was to study of conditions, desirable and conditions, and the needs to enhance the innovative organization guidelines for schools under Surin Primary Educational Service Area Office 3. The sample group was school administrators and teachers under the Surin primary educational service area office, there were 341 people obtained by stratified random sampling. The research instrument was a rating scale questionnaire with the confidence value of the current condition questionnaire. and the desirable condition were .975 and .965 respectively. Under the Surin Primary Educational Service Area Office, Region 3 The informants were school administrators and teachers responsible for innovation in 3 schools with excellent performance and 5 experts by purposive sampling. The research tools were interview forms and evaluation forms for the suitability and feasibility of innovative organizational development approaches. The statistics of data analysis include mean,  standard deviation and need index. The results revealed that; 1. Results of the study of current conditions, desirable conditions and needs to enhance the innovative organization of schools found that the current condition of the innovative organization guidelines for schools under Surin primary educational service area office 3 were overall in the moderate level. The desirable conditions of innovative organization of educational institutions were overall in the highest level. The highest average aspect was was Participation in innovation. And the need of the development of an innovative organization of schools could be ordered Sort the needs from the highest to the lowest as follows: personal skills, monitoring and evaluating innovations, knowledge and information management, creativity, organizational structure, innovative vision and goals, creative climate, participation in innovation, and communication respectively. 2. Guidelines for the development of an innovative organization of educational institutions under Surin primary educational service area office 3 consists of 1) Principle, 2) Objectives, 3) Implementation Guidelines, and 4) Success Conditions. By adhering to the principles of the components of the National Innovation Agency, consisting of 3 levels and 9 elements as follows Strategic level: 1) Innovative vision and goals 2) Participation in innovation 3) Monitoring and evaluating innovations, Operational level: 4) Communication 5) Knowledge and information management 6) creativity, And Foundation levels: 7) organizational structure 8) personnal skills 9) creative climate. Each component contains details of all 31 guidelines. The overall evaluation were highest level appropriate. and the possibilities are at the highest level.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3 2) เพื่อออกแบบ สร้าง และประเมินแนวทางความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 341 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์เท่ากับ .975 และ .965 ตามลำดับ ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานนวัตกรรมในสถานศึกษาที่มีผลการปฏิบัติที่ดีเยี่ยม จำนวน 3 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทางและความเป็นไปได้จำนวน 5 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันของความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การมีส่วนร่วมในนวัตกรรม และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะบุคลากร การติดตามและประเมินผลนวัตกรรม การจัดความรู้และข้อมูล ความคิดสร้างสรรค์ โครงสร้างองค์กร การมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วม การสร้างบรรยากาศ การมีส่วนร่วมในนวัตกรรม และการสื่อสาร ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) แนวทางการดำเนินการ และ4) เงื่อนไขความสำเร็จ สอดคล้องกับหลักองค์ประกอบของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ประกอบด้วย 3 ระดับ 9 องค์ประกอบ ดังนี้ ระดับยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วม 2) การมีส่วนร่วมในนวัตกรรม 3) การติดตามและประเมินผลนวัตกรรม ระดับปฎิบัติการ ได้แก่ 4) การสื่อสาร 5) การจัดความรู้และข้อมูล 6) ความคิดสร้างสรรค์ และระดับสนับสนุน ได้แก่ 7) โครงสร้างองค์กร 8) ทักษะบุคลากร 9) การสร้างบรรยากาศ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดแนวทางการปฏิบัติทั้งหมด 31 แนวทาง ซึ่งผลการประเมินโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2087
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010581034.pdf6.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.