Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2122
Title: Development of computerized decision support program for screening risk drugs in Thai elderly patients and response of physicians and pharmacists
การพัฒนาและการนำโปรแกรมรายการยาเพื่อคัดกรองและลดการสั่งใช้ยาที่เสี่ยงและอันตรายสำหรับผู้ป่วยสูงอายุไทยและการตอบสนองของแพทย์และเภสัชกรต่อการนำโปรแกรมมาใช้ในโรงพยาบาล
Authors: Keerataphan Boonnan
กีรตาพันธ์ บุญแน่น
Chanuttha Ploylearmsang
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง
Mahasarakham University
Chanuttha Ploylearmsang
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง
chanuttha.p@msu.ac.th
chanuttha.p@msu.ac.th
Keywords: ผู้สูงอายุ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
การสั่งใช้ยา
HOSxP
ความพึงพอใจ
Elderly
High risk drug
HOSxP
Satisfaction
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The proportion of Thai aging population has increased. With chronic diseases, most elderly had polypharmacy and might take high risk medication and face its adverse effect. This quasi-experimental study aimed to develop and evaluate a computerized warning program on HOSxP that alerts when prescribing high-risk drugs for elderly. This tool supports physicians and pharmacists to dispense drugs for aging patients with rational and appropriate use. The effect of the computerized warning program was evaluated from the reduction of selected drug items of high-risk drugs for elderly. The study results showed that total of 1,127 elderly from three hospital aged 71.7±7.84 years, female 63.1%, Chronic ischaemic heart disease had been prescribed high-risk drugs. The disease severity of mild in Aged 60-74 year was 74.35% and moderate in 75 year was 86.67%. Four reduced quantity of medicines in Khowang hospital were diazepam 2 mg, diazepam 5 mg, lorazepam 0.5 mg and amitriptyline 10 mg, the medicine cost declined by 749.21 baht.Two reduced medicines in Mahachanachai hospital were diazepam 2 mg and amitriptyline 10 mg, the cost declined by 666.19 baht. Three reduced medicines in Patio hospital were diazepam 2 mg, lorazepam 0.5 mg and colchicine 0.6 mg, the cost declined by615.9 baht. The similar drug in three hospital was Diazepam 2 mg and this alert system could reduce the number of prescription with long acting benzodiazepine (50%). 8 physicians and 3 pharmacists were satisfied on the alert system on HOSxP program (80%). They showed the most satisfaction on the clear and easily understanding content (54.5%). The lowest satisfaction found in the unattractive color of program (45.5%). For the alert system on Drug dispensing program, 6 pharmacists were satisfied (92%). They were satisfied most on the increase of medication safety for elderly and the system design (83.3% and 83.3%). This study could be summarized that the high risk medication for elderly alert system on HOSxP program has the efficiency on reducing the number of tablets per elderly for high risk drugs and reducing unnecessary cost. Physicians and pharmacists have the positive opinion and were satisfied on the alert system.
ปัจจุบันผู้สูงอายุไทยมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นร่วมกับมีโรคเรื้อรังส่งผลให้มีการใช้ยาหลายขนานร่วมกัน เพิ่มโอกาสได้รับยาที่เสี่ยงสูงและอาจเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้ การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์บนฐานข้อมูลHOSxPและพัฒนาโปรแกรมจ่ายยาเพื่อเตือนการสั่งใช้ยาที่เสี่ยงสูงในผู้สูงอายุ เพื่อให้แพทย์และเภสัชกรมีความมั่นใจในการสั่งยาและส่งมอบยาให้ผู้ป่วย และประเมินผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อปริมาณการสั่งใช้ยาที่เสี่ยงสูงในผู้สูงอายุที่ลดลง ก่อนและหลังใช้โปรแกรม 2 เดือนในโรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง และประเมินความพึงพอใจของแพทย์และเภสัชกร ผลการศึกษาพบว่าจากทั้ง 3 โรงพยาบาล ผู้สูงอายุทั้งหมด 1,127 ราย ได้รับการสั่งใช้ยาเสี่ยงสูง 1,432 รายการยาเป็นเพศหญิงร้อยละ 63.1 โรคประจำตัวส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง แบ่งเป็นผู้ป่วยช่วงอายุ 60-74 ปี ร้อยละ 67.1 ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญเมื่อสั่งใช้ยาที่เสี่ยงในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ข้อเสนอแนะในการจัดการอยู่ระดับ 1 หรือ Mild ร้อยละ 74.35 และช่วงอายุ ≥75 ปี พบร้อยละ 32.9 ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญเมื่อสั่งใช้ยาที่เสี่ยง ส่วนใหญ่อยู่ระดับ 2 Moderate ร้อยละ 86.67ผู้สูงอายุมีอายุเฉลี่ย 71.7±7.84 ปี หลังใช้โปรแกรมในทั้ง3 โรงพยาบาลพบว่าค่าเฉลี่ยของจำนวนเม็ดยาต่อจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลค้อวังมีการใช้ยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4 รายการยาจาก 11 รายการยา ได้แก่ diazepam 2 mg, diazepam 5 mg, lorazepam 0.5 mg และ amitriptyline 10 mg มูลค่ายารวมลดลง 749.21 บาท ส่วนค่าเฉลี่ยของจำนวนเม็ดยาต่อจำนวนผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาชนะชัยใช้ยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2 รายการยา จาก 6 รายการยาคือยา diazepam 2 mg และ amitriptyline 10 mg มูลค่ายารวมลดลง 666.19 บาท และค่าเฉลี่ยของจำนวนเม็ดยาต่อจำนวนผู้ป่วยโรงพยาบาลป่าติ้วมีการใช้ยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3 รายการยา ได้แก่diazepam 2 mg, lorazepam 0.5 mg และ colchicine 0.6 mg ส่วนมูลค่ายารวมลดลง 615.9 บาทโดยรายการยาที่คล้ายกันคือ diazepam 2 mg และการเปลี่ยนแปลงการสั่งใช้ยาในกลุ่ม long acting benzodiazepine พบว่ามีการเปลี่ยนการสั่งใช้ยาเป็นลดลงหรือหยุดใช้ร้อยละ 50 นอกจากนั้นแพทย์ 8 คน และเภสัชกร 3 คนผู้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีความพึงพอใจต่อระบบแจ้งเตือนบน HOSxP ในภาพรวมอยู่ร้อยละ 80 พึงพอใจมากที่สุดในเรื่องของเนื้อหามีความกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่ายคิดเป็นร้อยละ 54.5 พึงพอใจน้อยที่สุดในด้านสีที่ดึงดูดต่อการใช้งานคิดเป็นร้อยละ 45.5 ในส่วนของระบบแจ้งเตือนบน Drug dispensing เภสัชกร 6 คนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ร้อยละ 92 คะแนนพึงพอใจมากที่สุดในเรื่องของการเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ใช้ยา (ร้อยละ 83.3) และเรื่องการจัดรูปแบบและขั้นตอนการใช้โปรแกรมที่ง่ายต่อการใช้งาน (ร้อยละ 83.3) สรุปผลการวิจัยได้ว่าระบบการแจ้งเตือนรายการที่มีความเสี่ยงสูงในผู้สูงอายุบนโปรแกรม HOSxP มีประสิทธิภาพในการลดการสั่งใช้ยาเสี่ยงในผู้สูงอายุและมูลค่ายาได้ แพทย์และเภสัชกรมีความคิดเห็นเชิงบวก และพึงพอใจต่อระบบแจ้งเตือน
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2122
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010780006.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.