Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2123
Title: Efficacy and Safety of Antifungal for Prevention and Treatment of Oral and Esophageal Candidiasis in HIV Patients : A Systematic Review and Network Meta-analysis
ประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาต้านเชื้อราสำหรับป้องกันและรักษาเชื้อราแคนดิดาในช่องปากและลำคอในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย
Authors: Nutcharin Rattanasaeng
นุจริน รัตนแสง
Ratree  Sawangjit
ราตรี สว่างจิตร
Mahasarakham University
Ratree  Sawangjit
ราตรี สว่างจิตร
ratree.m@msu.ac.th
ratree.m@msu.ac.th
Keywords: ยาต้านเชื้อรา
การป้องกัน
การรักษา
ประสิทธิผล
ความปลอดภัย
การติดเชื้อราแคนดิดาในช่องปากและลำคอผู้ป่วยเอชไอวี ก
การวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย
antifungal drugs
prevention
treatment
efficacy
safety
oral and esophageal candidiasis in HIV patients
Systematic Review and Network Meta-analysis
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Objective: To evaluate the efficacy and safety of antifungal drugs in the prevention and treatment of oral and esophageal candidiasis in HIV patients. Methods: Searched international and Thai electronic databases. until 30 September 2019, and randomized controlled trials were included. The primary outcome was prevention and treatment of primary oral and esophageal candidiasis and recurrent infections. We combined the results with a frequentist framework-based network meta-analysis using randomized analysis and estimated SUCRA using Bayesian statistics to rank the efficacy and safety of each antifungal drug. Prevention 15 studies (3597 HIV patients) Treatment 37 studies (6019 HIV patients) were included. The results of the network meta-analysis showed that the administration of antifungal agents did not prevent primary candidiasis in both the oral and esophageal. However, daily and weekly use of fluconazole and daily doses of itraconazole It prevented oral candidiasis statistically significantly better than the placebo group (RR=0.27, 95%Cl 0.16-0.44; RR=0.65, 95%Cl 0.47-0.90; RR=0.43, 95%Cl 0.25-0.75) and receiving these two forms of fluconazole also prevented recurrent esophageal infections by 83% and 79% respectively compared to clotrimazole lozenge. In the field of treatment Candida infection in the oral and esophageal Daily and injectable fluconazole were effective, respectively, with no reports of serious AEs. Conclusion: Antifungal agents did not prevent the initial oral and esophageal candidiasis of HIV patients. But it is effective in preventing and treating this recurring infection. The most effective drug for preventing re-infection of oral and esophageal candidiasis in HIV patients was daily fluconazole.
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาต้านเชื้อราในการป้องกันและรักษาการติดเชื้อราแคนดิดาในช่องปากและลำคอของผู้ป่วยเอชไอวี วิธีการ: สืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระดับนานาชาติและในไทย จนถึง 30 กันยายน 2562 และคัดเลือกงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเข้าการศึกษา ผลลัพธ์หลัก คือ การป้องกันและรักษาการติดเชื้อราแคนดิดาในช่องปากและลำคอครั้งแรกและการติดเชื้อซ้ำ ผู้วิจัยรวมขนาดผลลัพธ์ด้วยการวิเคราะห์อภิมานเครือข่ายตามหลัก frequentist framework โดยใช้การวิเคราะห์แบบสุ่ม และประมาณค่า SUCRA โดยใช้สถิติแบบ Bayesian เพื่อจัดลำดับประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาต้านเชื้อราแต่ละชนิด ผลการวิจัย: การป้องกัน มีงานวิจัย 15 ฉบับ (ผู้ป่วยเอชไอวี 3,597 ราย) การรักษา มีงานวิจัย 37 ฉบับ (ผู้ป่วยเอชไอวี 6,019 ราย)  ถูกคัดเข้าการศึกษา ผลการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย พบว่า การให้ยาต้านเชื้อราไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อราแคนดิดาครั้งแรกทั้งในช่องปากและในลำคอ แต่การใช้ยาฟลูโคนาโซลทั้งแบบรายวันและรายสัปดาห์ และยาไอทราโคนาโซลแบบรายวัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อราแคนดิดาซ้ำในช่องปากได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR=0.27, 95%Cl 0.16-0.44; RR=0.65, 95%Cl 0.47-0.90; RR=0.43, 95%Cl 0.25-0.75) และการได้รับฟลูโคนาโซลทั้งสองรูปแบบนี้ ยังสามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำในลำคอได้ร้อยละ 83 และ 79 ตามลำดับเมื่อเทียบกับยาอมคลอไตรมาโซล ในด้านการรักษา การติดเชื้อราแคนดิดาในช่องปากและลำคอ การใช้ยาฟลูโคนาโซลแบบรายวันและแบบฉีด ให้ผลดี ตามลำดับ โดยไม่มีรายงาน AEs ที่รุนแรง สรุป: ยาต้านเชื้อราไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อราแคนดิดาครั้งแรกในช่องปากและลำคอของผู้ป่วยเอชไอวี แต่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อนี้ซ้ำและการรักษา โดยยาที่มีประสิทธิผลดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อราแคนดิดาซ้ำในช่องปากและลำคอในผู้ป่วยเอชไอวี คือ ยาฟลูโคนาโซลแบบรายวัน
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2123
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010780007.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.