Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2124
Title: A Systematic Review and Meta-analysis of Randomized Controlled Trial of Phlai  for Pain Reliever
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์อภิมานของการศึกษาเชิงสุ่มประสิทธิผลของไพลในการแก้ปวด 
Authors: Kanjana Worasing
กาญจนา วรสิงห์
Wiraphol Phimarn
วิระพล ภิมาลย์
Mahasarakham University
Wiraphol Phimarn
วิระพล ภิมาลย์
wiraphol.p@msu.ac.th
wiraphol.p@msu.ac.th
Keywords: ไพล
อาการปวด
ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
Zingiber montanum
pain
nonsteroidal anti-inflammatory drugs
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Plai (Zingiber montanum) is an herbal medicine that can be used as an alternative treatment for improving pain symptoms. However, there were no a systematic review of plai on pain symptoms. A systematic review and meta-analysis aim of this study was to evaluate the efficacy and safety of the plai for pain score, WOMAC Scale, Flexibility score, quality of life and adverse event. PubMed, Scopus, ScienceDirect and Thai databases included Thaijo and ThaiLis were systematically searched for relevant articles from inception to December 2022. We only included randomized clinical trials (RCTs) in which the efficacy and safety of the plai in all dosage form were compared with placebo or non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs). Study selection, data extraction, and quality assessment were independently performed by two reviewers. The outcomes were assessed and pooled using a random-effects model. Heterogeneity was assessed using the I2 test. Twenty-six studies with 2625 participants were included in the analysis. The efficacy of the plai was not different from that of placebo and NSAIDs in terms of the pain score SMD -0.38, 95% CI -10.03, 0.03; p=0.07 and SMD -0.05, 95% CI -1.24, 1.13; p=0.93, respectively), Flexibility score, there were no difference between plai and placebo or NSAIDs (SMD 0.53, 95% CI -0.12, 1.19; p=0.11 and SMD 0.45, 95% CI -0.05, 0.94; p=0.08, respectively). The effect of plai was not different from that of placebo and NSAIDs in terms of the quality of life score (SMD 0.08, 95% CI -0.48, 0.63; p=0.78 and SMD -2.23, 95% CI -5.11, 0.66; p=0.13, respectively). In terms of adverse event (AE), there were no serious AE from plai treated. The most of AE which reported were itching, face and eye edema. Subgroup analysis demonstrated plai in topical dosage and oral form decreased pain score significantly compared with NSAIDs (SMD -1.63, 95% CI -3.26, 0.03; p=0.01 and SMD -0.03, 95% CI -1.19, 1.14; p=0.96, respectively). The plai herbal compress decreased pain score significantly compared with placebo (SMD -0.65, 95% CI -1.12, -0.17; p=0.007). Moreover, there were no difference on pain score deceasing between plai and NSAIDs on muscle pain and dysmenorrhea (SMD -0.01, 95% CI -0.63, 0.61; p=0.97 and SMD 6, 95% CI -1.76, 3.69; p=0.49, respectively). In conclusion, the present study suggests that plai may have a beneficial effect on pain in certain conditions. Nonetheless, further research is warranted to confirm this conclusion. Specifically, larger and better-designed randomized controlled trials with longer follow-up periods are needed to provide more robust evidence for the effectiveness of plai in pain management.
ไพลเป็นสมุนไพรที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในการรักษาอาการปวดแต่ยังไม่มีการรวบรวมงานวิจัยเชิงสุ่มของไพลต่อการลดอาการปวด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานประสิทธิผลของไพลและความปลอดภัยของไพลในการแก้ปวด (Pain Score) และผลลัพธ์อื่น ๆ ได้แก่ WOMAC Scale, Flexibility score คุณภาพชีวิตและอาการไม่พึงประสงค์ โดยทำการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูล PubMed, Scopus, ScienceDirect และฐานข้อมูลในประเทศไทยได้แก่ Thaijo และ ThaiLis ตั้งแต่เริ่มต้นมีฐานข้อมูลจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 การศึกษาครั้งนี้ได้รวบรวมงานวิจัยที่เป็นการทดลองทางคลินิกเชิงสุ่ม (RCTs) ที่ทำการประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของไพลในรูปแบบต่าง ๆ กับยาหลอกหรือยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือก สกัดข้อมูลและประเมินคุณภาพของการศึกษาอย่างเป็นอิสระต่อกัน 2 คน การวิเคราะห์ผลการศึกษาโดยใช้ random-effects model และประเมินความเข้ากันได้ของการศึกษา Heterogeneity โดยใช้ I2 test ผลการศึกษาพบว่าการศึกษาที่นำมาวิเคราะห์มี 26 การศึกษา จำนวนประชากร 2,625 คน ผลการศึกษาพบว่าพบว่าไพลมีประสิทธิผลไม่แตกต่างจากยาหลอกและยากลุ่ม NSAIDs ในด้านการลด Pain score (SMD -0.38, 95% CI -10.03, 0.03; p=0.07 และ SMD -0.05, 95% CI -1.24, 1.13; p=0.93 ตามลำดับ) ผลการเปรียบเทียบการเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (Flexibility score) ของไพลกับยาหลอกและยากลุ่ม NSAIDS พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ (SMD 0.53, 95% CI -0.12, 1.19; p=0.11 และ SMD 0.45, 95% CI -0.05, 0.94; p=0.08 ตามลำดับ) การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผลการศึกษาพบว่าไพลมีประสิทธิผลในการเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ไม่แตกต่างจากยาหลอกและยาในกลุ่ม NSAIDS (SMD 0.08, 95% CI -0.48, 0.63; p=0.78 และ SMD -2.23, 95% CI -5.11, 0.66; p=0.13 ตามลำดับ) ในด้านอาการไม่พึงประสงค์ผลการศึกษาพบว่าไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากการใช้ไพล อาการไม่พึงประสงค์ที่พบโดยมากมักพบจากการใช้ไพลในรูปแบบรับประทานโดยอาการที่มีรายงานได้แก่ ผื่นคัน อาการหน้าบวมและตาบวม ผลการวิเคราะห์กลุ่มย่อยเมื่อวิเคราะห์ตามรูปแบบของไพลพบว่าไพลรูปแบบผลิตภัณฑ์ใช้ภายนอกและรูปแบบรับประทานสามารถลดอาการปวดได้ดีกว่ายากลุ่ม (NSAIDs) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (SMD -1.63, 95% CI -3.26, 0.03; p=0.01 และ SMD -0.03, 95% CI -1.19, 1.14; p=0.96 ตามลำดับ) และการใช้ไพลรูปแบบลูกประคบสามารถลดอาการปวดได้ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (SMD -0.65, 95% CI -1.12, -0.17; p=0.007) และเมื่อพิจารณาตามประเภทอาการปวดผลการศึกษาพบว่าไพลมีประสิทธิผลไม่แตกต่างจากยากลุ่ม NSAIDs ในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อและโรคสตรี (SMD -0.01, 95% CI -0.63, 0.61; p=0.97 และ SMD 6, 95% CI -1.76, 3.69; p=0.49 ตามลำดับ) จึงสรุปได้ว่าไพลมีประสิทธิผลในการลดอาการปวดได้ในบางสภาวะ ในอนาคตหากรวบรวมการศึกษาเชิงสุ่มที่มีขนาดใหญ่และมีการใช้ไพลในระยะยาวเพื่อยืนยันผลการศึกษาครั้งนี้
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2124
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010782001.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.