Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2125
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKamonchanok Boonmarken
dc.contributorกมลชนก บุญมากth
dc.contributor.advisorSaithip Suttiruksaen
dc.contributor.advisorสายทิพย์ สุทธิรักษาth
dc.contributor.otherMahasarakham Universityen
dc.date.accessioned2023-09-07T13:50:51Z-
dc.date.available2023-09-07T13:50:51Z-
dc.date.created2021
dc.date.issued4/6/2021
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2125-
dc.description.abstractThe objectives of this study was to assess the effect of pharmacist-managed care for patients receiving warfarin at home comparison with patients with usual care to a percent time in therapeutic range (%TTR) , a percent of international normalized ration (INR) in therapeutic range, assessed knowledge of warfarin using, compliance, missed appointment, drug related problems (DRPs),  the incidence of thromboembolic event, and satisfaction to pharmacist-managed care at home.  The research conducted a prospective randomized controlled trial study between March – July, 2020. The data were collected 4 times, before and after studying 1st, 2nd, and 3rd months respectively. Fifty six patients were allocated into two groups. Most of patients are elderly. The intervention group (n = 28) and control group (n = 28). The intervention group had an average age of 66.00±10.81 years, and the control group had an average age of 60.36±14.57 years (p = 0.106). Baseline characteristics between the two groups were no statistically significant differences in all outcome measures (p > 0.05). At the end of the study, %TTR in the experimental group was higher than control group (59.52±34.38 and 51.19±41.06, respectively) but no statistically significant differences (p = 0.414). The percentage of INR in therapeutic rang in the experimental group was higher than control group with statistical significantly (75.00% and 46.43%, respectively; p = 0.029). The mean score of the knowledge in the experimental group was higher than the control group statistical significantly (17.64±0.56 and 16.61±1.17, respectively p < 0.001). After study for 3 months, compliance in both groups of patients showed no statistically significant differences, missed an appointment date, and DRP. Thromboembolic complication was not found in any group. Within the experimental group comparison revealed, the percentage of INR in therapeutic rang increased but not significantly (p = 0.078). The mean score of knowledge was significantly increased (p < 0.001) from 14.39±2.28 to 16.89±0.79 to 17.32±0.67 and 17.64±0.56.  The drug related problems (DRPs) was significantly decreased (p < 0.001) from the baseline compared with DRPs at 1st, 2nd, and 3rd month, (31, 30, 21, and 21 DRPs, respectively). Compliance, missed an appointment date and DRP were no statistically significant differences. The results of this study suggested that pharmacist-managed care for patients with warfarin at home can increase INR in therapeutic range and knowledge about warfarin therapy, and decrease DRPs.en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์งานวิจัย เพื่อเปรียบเทียบผลการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการเยี่ยมบ้านกับการบริการปกติที่โรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับวาร์ฟาริน ต่อค่าร้อยละของระยะเวลาที่ค่า INR อยู่ในช่วงเป้าหมายเทียบกับเวลาที่ติดตามทั้งหมด (Percent time in therapeutic range ; %TTR)   ร้อยละของ international normalized ratio (INR) ตามเป้าหมาย ความรู้เกี่ยวกับวาร์ฟาริน ความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟาริน การมาพบแพทย์ตามนัด ปัญหาจากการใช้ยา การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกร งานวิจัยเป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม โดยผู้ป่วยกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการเยี่ยมบ้าน และผู้ป่วยกลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติของโรงพยาบาล เก็บข้อมูลไปข้างหน้า ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 4 ครั้ง คือ ก่อนการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้าน และหลังการบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้าน ในเดือนที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ  ผลการศึกษา มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 56 คน เป็นกลุ่มทดลอง 28 คน และกลุ่มควบคุม 28 คน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ กลุ่มทดลองมีอายุเฉลี่ย 66.00±10.81 ปี และกลุ่มควบคุมมีอายุเฉลี่ย 60.36±14.57 ปี (p = 0.106) หลังการบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้านในเดือนที่ 3 พบว่า %TTR ในผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีแนวโน้มสูงกว่ากลุ่มควบคุม คือ 59.52±34.38 และ 51.19±41.06  ตามลำดับ  (p = 0.414) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีค่า INR ตามเป้าหมายมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ คือ ร้อยละ 75.00 และร้อยละ 46.43 ตามลำดับ (p = 0.029) คะแนนความรู้เฉลี่ยเกี่ยวกับวาร์ฟารินในกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ คะแนน 17.64±0.56 และ 16.61±1.17 ตามลำดับ (p < 0.001) ความร่วมมือในการใช้ยา การมาตามนัด และปัญหาจากการใช้ยา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และไม่พบภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม และเมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาก่อนและหลังการบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้านในกลุ่มทดลองพบว่า INR ตามเป้าหมายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.078)   ค่าคะแนนความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ก่อนการศึกษามีคะแนน เฉลี่ย 14.39±2.28 คะแนน หลังการศึกษาในเดือนที่ 1 2 และ 3 มีคะแนนเฉลี่ยเป็น 16.89±0.79 คะแนน 17.32±0.67 คะแนน และ 17.64±0.56 คะแนน ตามลำดับ  (ค่า p value เปรียบเทียบระหว่าง เดือนที่ 1 2 และ 3 กับค่าก่อนการศึกษามีค่า p < 0.001 ทั้งหมด) จำนวนปัญหาจากการใช้ยาก่อนการศึกษา มีจำนวน 37 ปัญหาเปรียบเทียบกับปัญหาหลังการศึกษาในเดือนที่ 1 (30 ปัญหา) เดือนที่ 2 (21 ปัญหา) และ เดือนที่ 3 (21 ปัญหา) พบว่าปัญหาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการศึกษา (p < 0.001) ส่วนความร่วมมือในการใช้ยา การมาตามนัด พบว่าไม่แตกต่างกัน  การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการเยี่ยมบ้านสามารถทำให้ผู้ป่วยมี INR ตามเป้าหมาย และความรู้เกี่ยวกับการรักษาด้วยวาร์ฟาริน  รวมถึงสามารถลดปัญหาจากการใช้ยาวาร์ฟารินได้  th
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectวาร์ฟารินth
dc.subjectการบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้านth
dc.subjectการเยี่ยมบ้านth
dc.subjectความรู้th
dc.subjectWarfarinen
dc.subjectHome visiten
dc.subjectKnowledgeen
dc.subjectPharmaceutical careen
dc.subject.classificationMedicineen
dc.subject.classificationHuman health and social work activitiesen
dc.subject.classificationPharmacyen
dc.titleOutcomes of Pharmaceutical Care on Warfarin Patients at Homeen
dc.titleผลการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorSaithip Suttiruksaen
dc.contributor.coadvisorสายทิพย์ สุทธิรักษาth
dc.contributor.emailadvisorsaithip.s@msu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorsaithip.s@msu.ac.th
dc.description.degreenameMaster of Pharmacy (M.Pharm.)en
dc.description.degreenameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineสาขาวิชาเภสัชศาสตร์en
dc.description.degreedisciplineสาขาวิชาเภสัชศาสตร์th
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010781001.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.