Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2129
Title: Efficacy and Safety of Interventions for Muscle Cramps in patient with Chronic Kidney Disease
การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษาตะคริวในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
Authors: Komdao Khammooltri
คมดาว คำมุลตรี
Ratree  Sawangjit
ราตรี สว่างจิตร
Mahasarakham University
Ratree  Sawangjit
ราตรี สว่างจิตร
ratree.m@msu.ac.th
ratree.m@msu.ac.th
Keywords: ตะคริว
โรคไตวายเรื้อรัง
การวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย
muscle cramps
Chronic kidney disease
network meta-analysis
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Muscle cramps are common problem and often occur in chronic kidney disease patient. Various interventions have been used to treat them, including drug therapies and non-drug therapies. To determine the efficacy and safety of interventions for muscle cramps in chronic kidney disease. The researchers searched published reports through electronic databases including Pubmed, Cochrane Library, Web of Science, www.ClinicalTrials.gov, and databases in Thailand from inception to May 2023. The researchers selected the Clinical controlled trials investigating the effects of intervention for muscle cramps in chronic kidney disease. The primary outcome was frequency and severity of muscle. The secondary outcome was adverse events. All analyses employed random effect model and reported Weighted Mean Difference (WMD) and Relative Risk (RR) with confident interval 95% (95%CI). Primary analysis was network meta-analysis according to estimated Surface Under the Cumulative Ranking (SUCRA) of various drugs. Result: The search identified a total of 2,674 related studies but 22 studies were included in this study. These studies determined the effects of both pharmacotherapies and non-pharmacotherapies of intervention for 1-24 weeks in CKD patients with muscle cramps. The risk of bias as assessed using the Cochrane Risk of Bias (ROB) 2.0.and ROBIN-I.  The Network mata-analysis showed that Vitamin E, Quinine, Creatine monohydrate, Vitamin E combine L-Carnitine and Gabapentin decreased episode of muscle cramps was significantly (p= 0.02, p= 0.01, p= 0.00, p= 0.00, p= 0.00 respectively). The network showed Acupressure, Gabapentin, Reflexology, Slow Sodium chloride and Vitamin K2 reduced severity of cramps was significantly (p=0.017, p=0.049, p= 0.009, p= 0.034 และ p=0.00 respectively) No serious adverse events were reported.
ตะคริวพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะคนที่มีปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดตะคริวได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งในปัจจุบัน การรักษาตะคริวยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน เพื่อประเมินประสิทธิศักย์และความปลอดภัยของการรักษาตะคริวในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ผู้วิจัยสืบค้นรายงานการวิจัยที่ตีพิมพ์จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Pubmed, Cochrane Library, Web of Science, www.Clinical Trials.gov และฐานข้อมูลในไทยตั้งแต่เริ่มต้นฐานข้อมูลจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2566 ผู้วิจัยคัดเลือกงานวิจัยเชิงทดลองทั้งแบบสุ่มและไม่สุ่มโดยมีกลุ่มควบคุมที่ประเมินผลของสิ่งแทรกแซงในการรักษาตะคริวในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ผลลัพธ์หลัก คือ ผลต่อความถี่ในการเกิดตะคริว ผลลัพธ์รองคือ ผลต่อความรุนแรงในการเกิดตะคริว และการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากสิ่งแทรกแซง การวิเคราะห์ทั้งหมดใช้โมเดลการวิเคราะห์แบบสุ่มและแสดงผลด้วยความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้าหนัก (weighted mean difference หรือ WMD) และอัตราเสี่ยงสัมพัทธ์ (relative risk หรือ RR) กับช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95%CI) การวิเคราะห์ คือ แบบการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย และประมาณค่า Surface Under the Cumulative Ranking (SUCRA) ของสิ่งแทรกแซงต่างๆ ผลการสืบค้นพบงานวิจัยทั้งหมด 2,674 ฉบับ แต่มีงานวิจัยที่ถูกคัดเข้าการศึกษานี้ 19 ฉบับทั้งการศึกษาแบบสุ่มและไม่สุ่ม ซึ่งศึกษาการใช้ยาเดี่ยวและแบบผสมรวมถึงการรักษาโดยไม่ใช้ยา นาน 1-24 สัปดาห์ ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังทั้งที่ฟอกเลือดและล้างหน้าท้อง ประเมินด้วย Cochrane Risk of Bias (ROB) 2.0 และ ROBIN- I ผลการวิเคราะห์อภิมานเครือข่ายพบว่า การให้ Vitamin E,  Quinine, Creatine monohydrate, Vitamin E ควบคู่กับ L-Carnitine และ Gabapentin มีประสิทธิผลในการลดความถี่ในการเกิดตะคริวในผู้ป่วยโรคไตอย่างมีนัยสำคัญ (p= 0.02, p= 0.01, p= 0.00, p= 0.00, p= 0.00 ตามลำดับ) ประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของการเกิดตะคริวในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง พบว่า Acupressure, Gabapentin, Reflexology, Slow Sodium chloride และ Vitamin K2 มีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของการเกิดตะคริวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.017, p=0.049, p= 0.009, p= 0.034 และ p=0.00 ตามลำดับ) และมี 12 การศึกษาที่มีรายงานติดตามอาการข้างเคียงยา โดยไม่พบอาการที่รุนแรง การลดความถี่และความรุนแรงของการเกิดตะคริวในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง มีทั้งการรักษาด้วยยาและไม่ใช้ยา ซึ่งบางการศึกษาทีสิ่งแทรกแซงบางชนิดไม่มีการนำมาใช้ในปัจจุบันหรือใช้ไม่แพร่หลาย อาจมีข้อแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและรูปแบบการฟอกเลือดใน จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมให้เป็นปัจจุบัน
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2129
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010780003.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.