Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2156
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorWachiraya Tatiyanantakulen
dc.contributorวชิรญา ตติยนันทกุลth
dc.contributor.advisorKantimarn Chindapraserten
dc.contributor.advisorกันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐth
dc.contributor.otherMahasarakham Universityen
dc.date.accessioned2023-09-07T14:13:12Z-
dc.date.available2023-09-07T14:13:12Z-
dc.date.created2023-
dc.date.issued3/4/2023-
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2156-
dc.description.abstractThe purposes of this study were: 1) to define CBT activities supply chain, 2) to analyze Value Stream Mapping; VSM, 3) to compare values of activities of CBT as tourists expected classified by demographic characteristics, 4) to study correlation of wastes on CBT management affecting tourists’ satisfaction, 5) to propose a management model of CBT activities supply chain. The research method is mixed research using both qualitatively and quantitative together during the research period that could be divided into 4 steps as follows:- Step 1- Studying the components of CBT activities supply chain, all members and relationships that caused operations of CBT by studying documents, surveys, observations and interviewing 35 persons from 3 groups of key-Informants. A qualitative were conducted by content analysis, coding, thematic analysis method. Step 2- Analyzing of VSM within CBT activities supply chain by qualitative together with quantitative research. To collect data, 400 copies of the questionnaire. The statistics used for quantitative data analysis were: ANOVA, MANOVA, Multiple Correlation Analysis and Multiple Regression Analysis. Step 3 - Improving the efficiency of performances within CBT supply chain ECRS Analysis were used for solving 9 wastes of CBT management, then a management model on CBT activities was created. Step 4 - Analyzing results from Step 3, then examination and evaluation of results were done by Focus Group Discussion for verifying of performance indicators in CBT activities supply chain management efficiency without 9 wastes. Then proposing a supply chain management model of communities - based tourism activities. Results of this research revealed that the CBT activities supply chain was consisted of 5 groups of tourism member as; (Upstream) 1) Tier 2 Suppliers purchased materials that were used in manufacturing of tourism products or raw materials for Tier 1 Suppliers; (Midstream) 2) Tier 1 Suppliers was a group of club’s member and the community appointed them for taking care of any aspect of community-based tourism; 3) Tier 2 Organizer/Operator were groups or organizations, both of government and private agencies, who did their duties as middlemen for sales representatives or promote community-based tourism between tourism communities and tourists; 4) Tier 1 Organizer/ Operator or Kok Sathon Community-Based Tourism Promotion Club and; (Downstream) 5) Tourist/Customer who come for community-based tourism activities. Analysis results of VSM:- Tour operations were 8 procedures with 15 activities and time (LT) was 320.40 min., Process Time:PT (VA) was 139.90 min., time of NNVA was 162.50 min. and, time of NVA was 18 min. Making ginger powder 10 procedures with 18 activities and time (LT) was 3,056 min., Process Time:PT (VA) was 105 min., time of NNVA was 2,881 min. and, time of NVA was 70 min. Homestay’s activity were consisted of 6 procedures with 9 activities and Process Time:PT (VA) was 3,011 min., time of VA was 848 min., time of NNVA was 1,803 min. and, time of NVA was 360 min. For comparison of values on activities found that: tour operations’s activity and homestay’s activity, tourists with differences of gender and educational level had different opinions on value of activities, while those with differences of age had no different opinions. For making ginger powder’s activity, it was found that tourists with differences of gender had no different opinions, while those with differences of age and educational level had different opinions on value of activities. Results of analysis on correlation and impact found that:- all 3 CBT activities were correlation to overall activities satisfactions. Results of a supply chain management model of communities - based tourism activities found that the model is an effective community-based tourism management process and quality without 9 wastes by improving work efficiency within the supply chain of activities with principles of ECRS Analysis; (Eliminate, Combine, Rearrange, Simplify) covering procurement activities (Supply), production and service activities (Process), movement and flow activities, travel values (Value) to recipients who are tourists seamlessly throughout the system. To meet the expected needs of tourists to feel satisfied by using the 6 principles of lean tourism management (Defining value, Map Value Stream, Flow, Pull, Standardization, Perfection).en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ระบุองค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) ศึกษา VSM ของห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) ศึกษาเปรียบเทียบคุณค่าที่นักท่องเที่ยวคาดหวัง จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของผลกระทบความสูญเปล่าของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มีต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 5) เสนอรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ใช้วิธีการวิจัยผสมผสาน (Mixed Methods Research) ทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ร่วมกันในช่วงต่างๆของการทำวิจัย โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร การสำรวจ การสังเกต และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key-Informant) 3 กลุ่ม จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) กำหนดรหัส (Coding) และวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) ระยะที่ 2 การวิเคราะห์แผนภาพการไหลของคุณค่า (VSM) ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณร่วมกัน ใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพื้นฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ระยะที่ 3 การปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานภายในห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้วยหลักการ ECRS Analysis เพื่อแก้ไขปัญหา (ความสูญเปล่า) แล้วสร้างรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอนาคต ระยะที่ 4 นำผลในระยะที่ 3 ไปตรวจสอบประเมินผลการการศึกษาด้วยการสนทนาอภิปรายกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) เพื่อยืนยันรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ มีประสิทธิภาพปราศจากปัญหา (ความสูญเปล่า) 9 ประการ แล้วสรุปรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 5 กลุ่มภาคีการท่องเที่ยว คือ (ระดับต้นน้ำ) 1) ซัพพลายเออร์ระดับที่ 2 ที่ทำหน้าที่จัดหาสิ่งนำเข้า วัตถุดิบ ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตกิจกรรมการท่องเที่ยว หรือเป็นวัสดุที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูปให้กับซัพพลายเออร์ระดับที่ 1 (ระดับกลางน้ำ) 2) ซัพพลายเออร์ระดับที่ 1 เป็นกลุ่มคนที่สมาชิกในชมรมฯ และชุมชนจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลด้านใดด้านหนึ่งและกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน 3) องค์กรหรือผู้ดูแลจัดการระดับ 2 เป็นกลุ่มคนหรือองค์กรที่ทำหน้าที่ในการเสนอขายหรือส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากชุมชนแหล่งท่องเที่ยวให้กับลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว 4) ผู้ดูแลจัดการระดับที่ 1 หรือ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนกกสะทอน ทำหน้าที่บริหารจัดการกิจกรรมและผลประโยชน์ จัดรายการกิจกรรมท่องเที่ยวและเสนอขาย ติดต่อประสานงานกับกลุ่มที่ให้บริการภายในชุมชน (ระดับปลายน้ำ) 5) นักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาใช้บริการกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนกกสะทอน ผลการวิเคราะห์แผนภาพการไหลของคุณค่า (VSM) พบว่า กิจกรรมการจัดนำเที่ยวฯ มีการทำงาน 8 ขั้นตอน 15 กิจกรรมที่ต้องทำ ใช้เวลาเพื่อทำกิจกรรมทั้งหมด (LT) 320.40 นาที เวลา PT/VA 139.90 นาที เวลาNNVA 162.50 นาที เวลา NVA 18 นาที กิจกรรมการทำขิงผงมีการทำงาน 10 ขั้นตอน 18 กิจกรรมที่ต้องทำ ใช้เวลาเพื่อทำกิจกรรมทั้งหมด (LT) 3,056 นาที เวลา VA 105 นาที เวลา NNVA 2,881 นาที เวลาNVA 70 นาที กิจกรรมการพักแรมในโฮมสเตย์มีการทำงาน 6 ขั้นตอน 9 กิจกรรมที่ต้องทำ ใช้เวลาเพื่อทำกิจกรรมทั้งหมด (LT) 3,011 นาที เวลา VA 848 นาที เวลา NNVA 1,803 นาที เวลา NVA 360 นาที ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณค่าของกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่นักท่องเที่ยวคาดหวัง จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่า นักท่องเที่ยวที่มี เพศ และ ระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่าของกิจกรรม แตกต่างกัน ในขณะที่นักท่องเที่ยวที่มีอายุ  แตกต่างกัน มีความคิดเห็นในคุณค่าของกิจกรรมทั้ง 2 กิจกรรม ไม่แตกต่างกัน สำหรับกิจกรรมการทำขิงผง พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่าของของกิจกรรม ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ นักท่องเที่ยวที่มี อายุ และระดับการศึกษาที่ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่าของของกิจกรรม แตกต่างกัน   ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของผลกระทบความสูญเปล่าที่มีต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่า กิจกรรมการจัดนำเที่ยวฯ กิจกรรมการทำขิง และกิจกรรมการพักแรมในโฮมสเตย์ พบความสูญเปล่า ทั้ง 9 ประการ มีความสัมพันธ์และผลกระทบต่อความพึงพอใจโดยรวมในกิจกรรม ผลการวิเคราะห์รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนกกสะทอน เป็นกระบวนการในการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพปราศจากปัญหา (ความสูญเปล่า) 9 ประการ ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานภายในห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมด้วยหลักการ ECRS Analysis (Eliminate, Combine, Rearrange, Simplify) ครอบคลุมกิจกรรมการจัดหาจัดซื้อ (Supply) กิจกรรมการผลิตและการบริการ (Process) กิจกรรมการนำส่งและเคลื่อนย้าย (Movement and Flow) คุณค่าการท่องเที่ยว (Value) ไปยังผู้รับที่เป็นนักท่องเที่ยวได้อย่างราบรื่นทั้งระบบ เพื่อตอบสนองความต้องการที่คาดหวังของนักท่องเที่ยวให้รู้สึกพึงพอใจ ภายใต้หลักการจัดการท่องเที่ยวแบบลีน 6 ขั้นตอน (Defining value, Map Value Stream, Flow, Pull, Standardization, Perfection) th
dc.language.isoth-
dc.publisherMahasarakham University-
dc.rightsMahasarakham University-
dc.subjectห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวth
dc.subjectการจัดการแบบลีนth
dc.subjectการท่องเที่ยวโดยชุมชนth
dc.subjectความสูญเปล่าของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนth
dc.subjectTourism Supply Chainen
dc.subjectLean Managementen
dc.subjectCBTen
dc.subjectWastes of Lean Community-Based Tourism Managementen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationOther service activitiesen
dc.subject.classificationTravel, tourism and leisureen
dc.titleSupply Chain Management Model of Communities - Based Tourism Activities: A Case Study of Koksaton, Dansai District, Loei Provinceen
dc.titleรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorKantimarn Chindapraserten
dc.contributor.coadvisorกันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐth
dc.contributor.emailadvisorkarntimarn.c@msu.ac.th-
dc.contributor.emailcoadvisorkarntimarn.c@msu.ac.th-
dc.description.degreenameDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.description.degreenameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.degreelevelDoctoral Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาเอกth
dc.description.degreedisciplineสาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรมen
dc.description.degreedisciplineสาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรมth
Appears in Collections:The Faculty of Tourism and Hotel Management

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011060002.pdf17.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.