Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2176
Title: Water Resources Management: Open Ground Water Banking Project in Tha Muang Subdistrict Municipality, Selaphum District, Roi-Et Province
การบริหารจัดการน้ำ โครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดของเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Tawat Saenbua
ธวัช แสนบัว
Wanida Phomlha
วนิดา พรมหล้า
Mahasarakham University
Wanida Phomlha
วนิดา พรมหล้า
wanida.ph@msu.ac.th
wanida.ph@msu.ac.th
Keywords: ธนาคารน้ำใต้ดิน
การบริหารจัดการน้ำ
การอภิบาลน้ำ
Water Resources Management
Groundwater Bank
Water Governance
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: A study on Water Resources Management. Open Ground Water Banking Project in Tha Muang Subdistrict Municipality, Selaphum District, Roi-Et Province. The objective is to study and explain the implementation of the project. Open groundwater bank to study water management The open groundwater bank project follows the pastoral principles of water and proposes guidelines for the development of water management. Open System Groundwater Bank Project of Tha Muang Subdistrict Municipality, Selaphum District, Roi Et Province. Using qualitative research methods. We collected data from 24 key informants involved in the Open System Groundwater Bank project with analytic induction analysis. The tools used in the research are data analysis with triangulation methods. The study found that the process of implementing such projects lacked a follow-up process. This is an important step in capturing the changes of the project. However, according to interviews and observations of the researchers, even the open groundwater bank project cannot solve the problem of drought as a whole. Water from rice farming projects cannot be used, but it can help farmers to have water available to a certain extent. It also provides more than 800 households with water for farming, growing vegetables and kitchen gardens in the dry season. This is because there are restrictions on the amount of water and finding a quality cost water source to fill the system with sufficient and appropriate quantities. It's the most beneficial and cost-effective. Therefore, Tha Muang Municipality has integrated work with other forms of water management, including the construction of a chi river dumping weir as a temporary water storage weir for water supply production and addressing water scarcity during the dry season. A cost water distribution system (chi river and groundwater bank) to serve to distribute water from cost water sources into farmland outside the irrigation zone. and solar pumping systems in areas where electricity is inaccessible to bring groundwater for use, thus reducing the cost of electricity and creating opportunities for utilization in farmland. In the dry season from groundwater sources. When analyzing the equity in access and use of water resources of citizens in the area of the open system groundwater bank project of Tha Muang Sub-district Municipality. There is a problem in the matter of conflict. In the use of water to a small extent. Since Tha Muang Municipality has allocated water use to the people thoroughly and fairly, from upstream, midstream to downstream, by forming a group of 7 water users to jointly manage the water and use the water from the project in order to make the water use as efficient and fair as possible. By booking water use queues and allocating water resources according to the needs of water users and the reservation period. And according to the study, the implementation of the open system groundwater bank project of Tha Muang Sub-District Municipality. Projects are driven through both formal and informal institutional mechanisms. In other words, formal institutional mechanisms include the use of local community forums to explore the needs of citizens through processes. Build knowledge and understanding of planning to solve problems together with civil society, and propose academic information and budgetary support from relevant agencies, such as the Fund to Promote Energy Conservation, Ministry of Energy. Department of Groundwater Resources Ministry of Natural Resources and Environment Department of Local Government Promotion Ministry of Interior and potential local government organizations (Roi Et Provincial Administrative Organization) In support of machines Equipment to operate by preparing a Memorandum of Common Agreement (MOU) on the integration of various cooperation. And informal institutional mechanisms include water user agreements, as well as culture, wisdom and community-based water resource management, which, although in Tha Muang Municipality's water management master plan and a group of water users are formed, they are loosely integrated, not having regulations in place to regulate water users. The preparation of the agreement is therefore in the nature of mutual recognition between the water user group and the municipality. In the implementation of the open-system groundwater bank project of Tha Muang Subdistrict Municipality, Selaphum District. There are many relevant actors or entities, both formal and informal, which, according to studies, show that when these actors play a role, there is a mutual integration of the two actors and between the actors themselves. This will give all stakeholders equal opportunities to access water use from the project and develop cooperation into community engagement processes in effective water management. In addition, the functioning of these two actors, especially the official ones, remains limited and hinders the implementation of the project as well. In addition, Tha Muang Municipality has driven and implemented an open groundwater bank project with regard to the conservation of natural resources and the environment. By preserving the ecosystem to be fertile, this includes reforestation upstream of the area around the marshes and along the creeks so that the trees can be a natural water retention aid. In principle "Nature helps nature" includes the development of water resources in the area to have adequate water storage capacity for use in the dry season, as well as the preservation of water for use during the dry season by allocating and organizing water use systems for the people. However, there is no evidence that there is a process to monitor and evaluate the progress of the project in order to analyze the consequences of groundwater recharge, as well as other impacts arising from groundwater recharge, such as water quality and the environment. Chemical contamination in groundwater. In order to develop the project to be efficient and sustainable, these issues must also be considered as a guideline for the development of the project, namely: (1) policy; The municipality of Tha Muang district shall prepare an area-level management master plan in line with the integrated water resources management plan. 2016-2022 Dry Season Water Allocation Plan 2020/2021 and Water Management Master Plan in The Watershed The National Water Resources Agency's Drought and Flood Prevention and Mitigation Plan shall establish a demand management strategy (agriculture) and a water allocation plan and cultivate crops in both the dry and rainy seasons in accordance with the amount of water costs. Establish mechanisms and prepare manuals for the preparation of integrated roadmaps for the development of prototype area development projects. (2) Administratively, because the establishment of a single open groundwater bank project is not sufficient to solve the entire systemic drought problem. Therefore, Tha Muang Municipality must prepare a management plan to prepare for the development of the capacity of water users personnel and organizations to adapt to drought, and develop and integrate a big data system in terms of supply. Organize training to educate about the Use water knowingly. Promote wastewater treatment processes for utilization and integrate integration with other water management projects. (3) Propulsion, which has 2 mechanisms, consisting of: Formal institutional mechanisms Tha Muang Municipality shall coordinate budgetary support from various sources such as the Department of Local Government Promotion, the Fund for the Promotion of Energy Conservation, and the Administrative Organization. The development project plan is defined in the local development plan and the sub-district water management master plan. To frame the consideration of annual budgetary allocations through such mechanisms. and informal institutional mechanisms. Tha Muang Municipality must actively promote the participation of stakeholders or communities by establishing organizations, water users and committees. Water source An ad hoc command center has been set up to manage the water situation in crisis to prepare, direct, monitor, drive and manage water at the local level.
การศึกษาเรื่อง การบริหารจัดการน้ำ โครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดของเทศบาลตำบล ท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและอธิบายการดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด เพื่อศึกษาการบริหารจัดการน้ำ โครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดตามหลักการอภิบาลน้ำ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการน้ำ โครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดของเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด ด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการในการดำเนินโครงการดังกล่าวยังขาดขั้นตอนของการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโครงการ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโครงการ แต่อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการสัมภาษณ์และการลงพื้นที่สังเกตการณ์ของผู้วิจัย พบว่า แม้โครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำแล้งได้ทั้งระบบ ไม่สามารถใช้น้ำจากโครงการสำหรับทำนาปลูกข้าวได้ แต่สามารถช่วยเกษตรกรให้มีน้ำกินน้ำใช้ได้ในระดับหนึ่ง และยังทำให้ประชาชนกว่า 800 ครัวเรือน มีน้ำสำหรับทำการเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัวในฤดูแล้งได้ ทั้งนี้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณน้ำและการหาแหล่งน้ำต้นทุนที่มีคุณภาพในการเติมเข้าสู่ระบบให้มีปริมาณเพียงพอและเหมาะสม ดังนั้น ในการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์และเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เทศบาลตำบลท่าม่วง จึงได้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกับการบริหารจัดการน้ำรูปแบบอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ การก่อสร้างฝายหินทิ้งแม่น้ำชี เพื่อเป็นฝายชะลอน้ำชั่วคราวในการกักเก็บน้ำสำหรับผลิตน้ำประปาและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ระบบกระจายน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุน (แม่น้ำชีและธนาคารน้ำใต้ดิน) เพื่อทำหน้าที่กระจายน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนเข้าสู่พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน และระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงเพื่อนำน้ำบาดาล ขึ้นมาใช้ประโยชน์ อันเป็นการลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และสร้างโอกาสในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพาะปลูกในฤดูแล้งจากแหล่งน้ำใต้ดิน เมื่อวิเคราะห์ความเท่าเทียมในการเข้าถึงและการใช้ทรัพยากรน้ำของประชาชนในพื้นที่ของโครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดของเทศบาลตำบลท่าม่วง พบปัญหาในเรื่องของความขัดแย้งในการใช้น้ำในระดับที่น้อย เนื่องมาจากเทศบาลตำบลท่าม่วงได้จัดสรรการใช้น้ำให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ โดยใช้วิธีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำขึ้นเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 7 คน เพื่อร่วมกันบริหารจัดการน้ำและใช้น้ำจากโครงการเพื่อให้การใช้น้ำเกิดประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากที่สุด โดยการจองคิวการใช้น้ำและจัดสรรทรัพยากรน้ำให้ได้ตามความต้องการของกลุ่มผู้ใช้น้ำและห้วงระยะเวลาการจอง และจากการศึกษา พบว่า การดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดของเทศบาลตำบลท่าม่วง พบการขับเคลื่อนโครงการโดยผ่านกลไกเชิงสถาบันทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ กล่าวคือ กลไกเชิงสถาบันที่เป็นทางการ ได้แก่ การใช้เวทีประชาคมท้องถิ่นในการสำรวจปัญหาความต้องการของประชาชนผ่านกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจในการวางแผน เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันกับภาคประชาสังคม และการเสนอขอรับข้อมูลทางวิชาการและงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพ (องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด) ในการสนับสนุนเครื่องจักร อุปกรณ์ในการดำเนินการโดยการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ในการบูรณาการความร่วมมือต่าง ๆ และกลไกเชิงสถาบันที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ ข้อตกลงการใช้น้ำของกลุ่มผู้ใช้น้ำ รวมไปถึงวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและการจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชน ซึ่งถึงแม้ว่าในการบริหารจัดการน้ำของเทศบาลตำบลท่าม่วง จะได้มีการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำและตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำขึ้นมา แต่ก็เป็นการรวมกลุ่มกันแบบหลวม ๆ ไม่ได้มีระเบียบข้อบังคับที่ใช้กำหนดเป็นกฎเกณฑ์เพื่อใช้ควบคุมกลุ่มผู้ใช้น้ำ การจัดทำข้อตกลงจึงเป็นไปในลักษณะของการรับรู้ร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้ใช้น้ำกับเทศบาล ในการดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดของเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอ เสลภูมิ พบตัวแสดงหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน โดยมีทั้งตัวแสดงที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เมื่อมีตัวแสดงเหล่านี้มีบทบาทได้เกิดการบูรณาการร่วมกันของทั้งสองตัวแสดง และระหว่างตัวแสดงด้วยกันเอง ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกคนมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการเข้าถึงการใช้น้ำจากโครงการ และพัฒนาความร่วมมือไปสู่กระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การทำหน้าที่ของตัวแสดงทั้งสองดังกล่าว โดยเฉพาะตัวแสดงที่เป็นที่ทางการ ยังคงมีข้อจำกัด และเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการเช่นเดียวกันด้วย นอกจากนี้ เทศบาลตำบลท่าม่วงได้ขับเคลื่อนและดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการรักษาระบบนิเวศน์ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ การปลูกป่าต้นน้ำบริเวณโดยรอบหนองกระตึบและตามแนวลำห้วยกระตึบเพื่อให้ต้นไม้เป็นตัวช่วยในการกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ ตามหลักการ “ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ” รวมไปถึงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ให้มีความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้อย่างเพียงพอ ตลอดจนการสงวนน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งโดยการจัดสรรและจัดระบบการใช้น้ำให้กับประชาชน แต่ไม่พบข้อมูลว่าได้มีกระบวนการติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการเพื่อที่จะนำไปใช้วิเคราะห์ศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการเติมน้ำใต้ดิน รวมถึงผลกระทบด้านอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจาการเติมน้ำใต้ดิน เช่น ด้านคุณภาพน้ำและด้านสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนของสารเคมีในน้ำใต้ดิน และเพื่อเป็นการพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน จึงต้องพิจารณาประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบเป็นแนวทางการพัฒนาโครงการด้วย ได้แก่ 1) เชิงนโยบาย เทศบาลตำบลท่าม่วงจะต้องจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการระดับพื้นที่ให้สอดคล้องกับแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปี 2559-2565 แผนจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ปี 2563/2564 และแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำในเขตลุ่มน้ำ แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และภาวะน้ำท่วมของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดยจะต้องกำหนดกลยุทธ์การจัดการความต้องการ (ภาคการเกษตร) และแผนจัดสรรน้ำและเพาะปลูกพืชทั้งฤดูแล้งและฤดูฝนให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน กำหนดกลไกและจัดทำคู่มือให้เกิดการจัดทำแผนงานบูรณาการการพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ 2) เชิงบริหารจัดการ เนื่องจากว่าการจัดทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดเพียงระบบเดียวไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้ทั้งระบบ เทศบาลตำบลท่าม่วงจึงจะต้องเตรียมแผนการจัดการเตรียมพร้อมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรผู้ใช้น้ำ เพื่อปรับตัวต่อภัยแล้ง และมีการพัฒนาและบูรณาการระบบฐานข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ (ฺBig Data) ด้านการจัดหา มีการเผยแพร่แผนที่น้ำใต้ดิน จัดทำผังน้ำ จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ส่งเสริมกระบวนการบำบัดน้ำเสียมาใช้ประโยชน์ และบูรณาการการทำงานร่วมกับโครงการจัดการน้ำอื่น ๆ 3) เชิงการขับเคลื่อน ซึ่งมีกลไกอยู่ 2 รูปแบบ ประกอบด้วย กลไกเชิงสถาบันที่เป็นทางการ เทศบาลตำบลท่าม่วงจะต้องประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งทุนต่าง ๆ เช่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยกำหนดแผนงานโครงการพัฒนาไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่นและแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ตำบล เพื่อเป็นกรอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปีผ่านกลไกดังกล่าว และกลไกเชิงสถาบันที่ไม่เป็นทางการ เทศบาลตำบลท่าม่วงจะต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียหรือของชุมชนอย่างจริงจัง โดยจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ และคณะกรรมการแหล่งน้ำ มีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์น้ำในภาวะวิกฤต เพื่อทำหน้าที่จัดทำ กำกับ ติดตาม ขับเคลื่อน และการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2176
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011380012.pdf5.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.