Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2178
Title: Land use changes of the rice farmers in Mek Dam village, Mek Dam sub-district, Phayakkhaphumphisai district, Mahasarakham province after the implementation of relevant subsidisation policies for rice farmers
การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหลังจากการนำนโยบายช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของรัฐบาลไปปฏิบัติ กรณีศึกษาบ้านเม็กดำ ตำบลเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Thadakorn Thupcod
ธดากรณ์ ทัพโคตร
Nattakant Akarapongpisak
ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
Mahasarakham University
Nattakant Akarapongpisak
ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
nattakant.a@msu.ac.th
nattakant.a@msu.ac.th
Keywords: การใช้ประโยชน์ที่ดิน
เงื่อนไขการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
Land uses
Conditions under which land uses change
Changes in land uses
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to study the rice farmer's land use changes and persistence, the consequences of the implementation of the government's subsidisation and other supporting programmes for rice farmers on land use changes in crop year 2019/2020 and crop year 2020/2021, and the conditions other than the government's programmes that affect land use changes for rice farmers in Ban Mek Dam, Mek Dam subdistrict, Phayakkhaphum Phisai district in Maha Sarakham province. The research findings reveal that there were farmers who changed land use patterns and others who did not. The majority of Mek Dam farmers continued to grow rice whereas much fewer co-villagers alternated to grow post-harvest crops. Some applied 'the New Theory'. As for the conditions under which the Mek Dam rice farmers changed land uses, the informants mentioned lack of water supply, drainage problem, and soil depletion. On the contrary, other conditions referred to in existing literatures, did not influence changes in land uses. These conditions included economic conditions (such as an increase in chemical fertilizers' prices and oil prices and the cost of hiring harvesting machine owners), institutional conditions (such as exclusive ownership rights and land allocation and land consolidation policies), socio-cultural conditions (such as higher educational attainment, knowledges and understandings of how to use lands, and households' labor shortages) and technological conditions (such as access to information for agricultural land development and access to agricultural machinery).
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง/ไม่เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2) เพื่อศึกษาผลจากการนำนโยบายช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของรัฐบาลไปปฏิบัตินับตั้งแต่ฤดูการผลิต 2562/2563 ถึงฤดูการผลิต 2564/2565 3) เพื่อศึกษาเงื่อนไขนอกเหนือจากการนำนโยบายช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของรัฐบาลไปปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว กรณีศึกษาบ้านเม็กดำ ตำบลเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จากการทำการวิจัย พบว่า มีทั้งเกษตรกรที่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยกลุ่มเกษตรกรที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมดใช้ที่ดินในการปลูกข้าว ส่วนกลุ่มเกษตรกรที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินมี 2 อย่างที่เกษตรกรเลือกทำ คือ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และการปลูกพืชหลังนา เมื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีการนำนโยบายช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของรัฐบาลไปปฏิบัติ (โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว และโครงการสินเชื่อชะลอการขายขาวเปลือกนาปี) พบว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในหมู่บ้านเม็กดำ ตำบลเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน แต่จะมีการทำเกษตรหลังนาเพื่อรอการผลิตฤดูถัดไป และเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง/ไม่เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เงื่อนไขด้านธรรมชาติ เช่น การขาดแคลนน้ำในการผลิต การระบายน้ำ คุณภาพของดิน ส่วนเงื่อนขที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ เช่น การเพิ่มขึ้นของราคาปุ๋ยเคมี การเพิ่มขึ้นของราคาค่าจ้างเครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน เงื่อนไขด้านสถาบัน เช่น การมีหรือไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน นโยบายการจัดสรร จัดรูปที่ดิน เงื่อนไขด้านสังคมและวัฒนธรรม เช่น ระดับการศึกษาที่สูงขึ้นของสมาชิกในครัวเรือน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน การขาดแคลนแรงงานในครัวเรือน และเงื่อนไขด้านเทคโนโลยี เช่น การเข้าถึงข้อมูลเพื่อพัฒนาการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร มีเครื่องจักรแทนแรงงานคนและสัตว์
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2178
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64011381004.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.