Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/217
Title: The  Ability to work in hotel business of Vocational students from the Institute of Vocational Education Northeastern Region 1
ความสามารถในการทำงานในธุรกิจโรงแรมของนักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  กลุ่ม  1
Authors: Pinpinut Gaewsombut
ปิ่นปินัทธ์  แก้วสมบัติ
Siriwan Ghuangpeng
ศิริวรรณ กวงเพ้ง
Mahasarakham University. The Faculty of Tourism and Hotel Management
Keywords: นักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา
ความพร้อมทางอาชีพ
ธุรกิจโรงแรม
Vocational Student
Career readiness
Hotel business
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:     This research investigated the ability to work in hotel business of vocational students from the Institute of Vocational Education Northeastern Region 1.  It aimed to  1) identify factors associated with vocational students’ knowledge and skills in hotel profession;  2) explore work readiness of the vocational students in hotel business labor market;  3) explore the ability to work of vocational students in entering hotel business labor market.  The research used quantitative and qualitative approaches.  The data was collected from 2 sampling groups:  1) Vocational students enrolled in hotel program from  3  vocational institutions;  Udonthani College of Business Administration and Tourism,  Udon Thani Vocational College, and  Nongkhai Vocational College,  and   2) Representatives from hotel business where provided internship program for the hotel students. The quantitative data was collected with a total of 167 hotel students by using questionnaires.  The data was analyzed by descriptive analysis and presented by Percentage and mean.  The qualitative data was collected with a total of  6  hotel students and  3  hotel representatives by using semi structured in-depth interviews.  The data was analyzed by descriptive analysis focusing on meanings and contents.     The research found that:         1. most the hotel students from 3 vocational institutes agreed that factors associated with their development of knowledge and skills in hotel profession were   1) the institute provided budget for students activities related to their knowledge and skills in hotel profession;  2)  The teachers managed students’ learning in accordance with the institutions’ teaching strategy;  3) Effective class room scheduling for students; and  4) The institutions provided meaningful activities that enhance students’ knowledge and skills in hotel profession.         2.  The quantitative analysis revealed that most students of Vocational  Education Northeastern Region 1 perceived themselves to be very much ready to work in hotel business.  This was due to  3  factors;  1) the students were satisfied with their internship experiences,  2) the students were able to work as the hotel business required, and  3) real work experience gave the students as their guidelines for future development in hotel profession.         3.  The interview with the hotel representatives agreed that most internship students had general knowledge and basic hotel operation skills; hence, by taking internship program they were given opportunity to develop additional knowledge and strengthen skills in hotel profession as well as able to compete with others in the hotel business labor market.  However, it was important that the vocational institutions should pay more attentions on developing students’ foreign language skills and right attitude as service personnel.      The research suggested that the vocational education institutes should have internship program planning and preparation for students prior to their internship program.  The hotel business should provide meaningful internship program to the students in which suits to their knowledge, skills and work abilities.  This can develop students’ hotel profession and motivate students to enter hotel business labor market after their course completion.
    งานวิจัยครั้งนี้ศึกษาความสามารถในการทำงานในธุรกิจโรงแรมของนักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่ม 1 โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อบ่งชี้ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความรู้และทักษะของนักศึกษาสายงานการโรงแรม 2) เพื่อสำรวจความพร้อมของนักศึกษาสายงานการโรงแรมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในธุรกิจโรงแรม 3) เพื่อสำรวจความสามารถของนักศึกษาสายงานการโรงแรมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานธุรกิจโรงแรมงานวิจัยนี้ใช้การศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพแผนกการโรงแรมจาก 3 สถาบันอาชีวศึกษา ได้แก่ วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวอุดรธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี  และวิทยาลัยอาชีวศึกษาหนองคาย 2) ตัวแทนสถานประกอบการโรงแรมที่นักศึกษาเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การศึกษาเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 167 คน ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเชิงลึกกับนักศึกษาฝึกงานจำนวน 6 คน และ ตัวแทนสถานประกอบการโรงแรมจำนวน 3 คน      ผลการวิจัยที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา  พบว่า          1. นักศึกษาจาก 3 สถาบันส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกันว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมความรู้และทักษะสายงานโรงแรม ได้แก่ 1) การที่สถาบันจัดงบประมาณให้นักศึกษาทำกิจกรรม เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษา 2) การผู้สอนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์การสอน 3) การจัดตารางการเรียนการสอนมีความเหมาะสมกับระยะเวลา และ 4) การจัดกิจกรรมที่นักศึกษาเข้าร่วมก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะด้านความรู้         2.  จากการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า นักศึกษาสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่ม 1 ส่วนใหญ่มีความพร้อมในการออกสู่ตลาดแรงงานสายวิชาชีพโรงแรมค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก อันเกิดจาก 3 ปัจจัยสำคัญ คือ 1) นักศึกษามีความพึงพอใจประสบการณ์ฝึกวิชาชีพในสถานประกอบการ 2) นักศึกษามีทักษะในการทำงานเป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานประกอบการ และ 3) ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง          3.  จากการสัมภาษณ์กับตัวแทนโรงแรมที่นักศึกษาจากทั้ง 3 สถาบันเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ผลจากการสัมภาษณ์ด้านความสามารถของนักศึกษาในการเข้าสู่ตลาดแรงงานสายงานโรงแรม พบว่า นักศึกษามีพื้นฐานความรู้และทักษะสายงานโรงแรม และการที่สถาบันได้ให้นักศึกษาออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในโรงแรมถือได้ว่าเป็นการสร้างโอกาสพัฒนาทักษะทางอาชีพให้กับนักศึกษา เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานสายงานโรงแรมในอนาคต แต่ประเด็นสำคัญที่สถาบันการศึกษาต้องให้ความสนใจในการปรับปรุงและเตรียมความพร้อมทางอาชีพแก่นักศึกษาต่อไปในอนาคต คือ ทักษะด้านภาษาและทัศนคติในการเป็นผู้ให้บริการ     งานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ คือ สถาบันอาชีวศึกษาควรมีระบบการจัดการการที่ดีในการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพแก่นักศึกษา และควรผลักดันโดยการสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาได้เข้าสู่ตลาดแรงงาน เช่น การจัดภาระหน้าที่การปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้งานของนักศึกษา โดยการมอบหมายงานที่เหมาะสมกับทักษะความรู้ความสามารถในการทำงานให้แก่นักศึกษา เพื่อเป็นการช่วยให้เกิดการการพัฒนาความสามารถในการทำงานให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เป็นต้น
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/217
Appears in Collections:The Faculty of Tourism and Hotel Management

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011080008.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.