Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2200
Title: Effectiveness of Smoking Cessation Program for Non-communicable Disease Patients:  A randomized controlled trial
ประสิทธิผลของโปรแกรมช่วยเลิกสูบบุหรี่สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
Authors: Odd Saksiri
อ๊อด ศักดิ์ศิริ
Nirun Intarut
นิรันดร์ อินทรัตน์
Mahasarakham University
Nirun Intarut
นิรันดร์ อินทรัตน์
nirun.i@msu.ac.th
nirun.i@msu.ac.th
Keywords: โปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs), ข้อความสั้น (SMS), การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
text messaging
randomized controlled trial
Tambon Health Promoting Hospital
Smoking cessation program for patients with non-communicable diseases (NCDs)
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Background: Smoking cessation is a possible behavior change to help reduce the risk of smoking-related complications in NCDs. An effective smoking cessation service system for NCDs has considered still less accessible in the region with the highest poverty in Thailand the smoking rate is generally very high. This study set Packages for smoking cessation services with short messages and assessed effectiveness in primary health care settings in the Northeast of Thailand. Objective: 1) To compare the mean values of exhaled carbon monoxide between the intervention and control groups; 2) To compare the proportion of smoking cessation between the intervention and control groups. Method: A total of 200 participants were assigned to either a modified cessation or a control group. Exhaled carbon monoxide was measured at baseline, 6 weeks, and 18 weeks. Mixed linear regression was used to test the interaction effect of the intervention group and follow-up time. Results: The results of mixed linear regression show the low of exhaled carbon monoxide in the intervention group compared to the control at 6- weeks (mean difference: -5.79; 95% confidence interval: -7.26, -4.32) and 18-week (mean difference: -4.19; 95% confidence interval: -5.67, -2.71). Conclusion: Modified cessation effectively reduced exhale carbon monoxide in non-communicable disease patients and helped them quit smoking. But it is likely that The mean exhaled carbon monoxide of the two groups increased over time. Therefore, further research with a longer follow-up time is needed, or a longer program if the patient will return to smoking. How long will the program take effect and should continue to find a way to help NCD patients quit smoking permanently.
ความเป็นมา: การเลิกสูบบุหรี่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นไปได้ในการช่วยลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนและโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ระบบบริการเลิกบุหรี่อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้นับว่ายังเข้าถึงได้น้อย  ในภูมิภาคที่มีความยากจนเป็นอันดับต้นของประเทศไทย และมีอัตราการสูบบุหรี่โดยทั่วไปสูง การศึกษาครั้งนี้ได้กำหนด แพ็คเกจบริการเลิกบุหรี่ด้วยข้อความสั้นและประเมินประสิทธิผลในการสถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย วัตถุประสงค์: 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออกระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของการเลิกสูบบุหรี่ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม รูปแบบการวิจัย: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ผู้เข้าร่วมทั้งหมด 200 คน กลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมช่วยเลิกสูบบุหรี่สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยข้อความสั้น กลุ่มควบคุมได้รับการบริการแบบปกติในคลินิกโรค NCDs ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประเมินผลโดย การวัดค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก ด้วยเครื่อง PiCO+ Smokerlyzer ก่อนการทดลอง ที่ 6 สัปดาห์ และ 18 สัปดาห์ ผลลัพธ์: ความสัมพันธ์ของผลในกลุ่มทดลองและช่วงเวลาที่ติดตามผล Mixed linear regression พบว่า ค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ที่หายใจออกในกลุ่มทดลองน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ 6 สัปดาห์ (mean difference: -5.79;  95%CI : -7.26, -4.32) และที่ 18 สัปดาห์ (mean difference: -4.19;  95%CI : -5.67, -2.71)  สรุป: โปรแกรมช่วยเลิกสูบบุหรี่สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยข้อความสั้น มีประสิทธิผลในการลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออกและช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ ในผู้ป่วยโรค NCDs แต่มีแนวโน้มว่า ค่าเฉลี่ยของปริมาณคาร์บอนมอนออกไซด์ในลมหายใจออกของทั้ง 2 กลุ่ม เพิ่มขึ้นตามเวลาที่นานขึ้น ดังนั้นในอนาคตจึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมโดยใช้เวลาติดตามนานขึ้น หรือให้โปรแกรมนานกว่านี้ เพื่อดูว่า ผู้ป่วยจะกลับไปสูบบุหรี่อีกหรือไม่ โปรแกรมจะมีผลนานเท่าไร และควรหาตัวช่วยให้ผู้ป่วย NCDs เลิกบุหรี่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2200
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011560004.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.