Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2207
Title: Molum Transmission Process by Lamul Pakfai
กระบวนการถ่ายทอดหมอลำกลอนของหมอลำละมุล ปากไฟ
Authors: Norachon Tobuddee
นรชน โทบุดดี
Phiphat Sornyai
พิภัช สอนใย
Mahasarakham University
Phiphat Sornyai
พิภัช สอนใย
phiphat.s@msu.ac.th
phiphat.s@msu.ac.th
Keywords: กระบวนการถ่ายทอดหมอลำกลอน
หมอลำกลอน
องค์ความรู้หมอลำ
หมอลำละมุล ปากไฟ
Molum Transmission Process
The study of Mor Lam Klon
Molumklon
Knowledge of Molamklon
Mo-Lam Lamun Pakfai
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis is to study the elements. There were collecting data from documents and fieldwork that was studied from 2021 to 2022 A.D. Research instruments are structured and observational. Information providers are well-informed groups, general groups, and practitioners, which are verified with triangular validation. Suggestion and presentation the research results in the form of an analytical description. The findings appear as follows. Mo-Lam Klon art performance elements of Mo-Lam Lamun Pakfai are composed by lyric, normal intonation, local intonation, content, beateous posture that could communiate with eye-contact ans dance. Performer elements consist of a well-toned voice, a good human relationship, and a show sequence, which is Wai-Kru, introduction, greeting, asking for advice, and farewelling. Mo-Lam Klon's transference of Mo-Lam Lamun Pakfai starts with registration as a disciple and testing basic and background knowledge. Firstly, the introduction to Mo-Lam Klon transference is to remember the Mo-Lam rylics. Disciples would get the lyric, and they must memorize it accurately. Next, they take the step of drawing out the note "O La Noh". It is a kind of comparison of their voice with Khaen. Then, they must train the intonation from many Mo-Lam rylics and beateous postures that could be a feeling communicate with audiences. Wai-Kru, or a repecting ceremeny, is a step to make the disciple recall to their parents and teachers. Finally, all disciples must know how to cope with tough situations. Mo-Lam Lamun Pakfai would be their role model, and they must imitate their teacher. It is a guideline when they struggle with their real performance.
วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ความรู้การลำกลอนของหมอลำละมุล ปากไฟ และเพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดหมอลำกลอนของหมอลำละมุล ปากไฟ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการลงพื้นที่ภาคสนาม เริ่มทำการศึกษาตั้งแต่ปี2564-2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสังเกต บุคลากรที่ให้ข้อมูล กลุ่มผู้รู้ กลุ่มทั่วไป และกลุ่มผู้ปฏิบัติ โดยตรวจสอบความถูกต้องแบบสามเส้า แนะนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ องค์ประกอบศิลปะการแสดงหมอลำกลอนของหมอลำละมุล ปากไฟ ประกอบไปด้วยด้านกลอนลำทำนองทั่วไปทำนองท้องถิ่นลักษณะเนื้อหา ท่าทางในการแสดงสวยงามอ่อนช้อยสามารถสื่ออารมณ์ด้วยสายตาและการฟ้อน องค์ประกอบทางด้านผู้แสดงต้องมีน้ำเสียงที่ดี มีมนุษสัมพันธ์ที่ดี ลำดับการแสดงประกอบด้วย ยกที่หนึ่งไหว้ครู ยกที่สองประกาศศรัทธา ยกที่สามถามข่าว ยกที่สี่ปรึกษาการลำ ยกที่ห้าเต้ยลา กระบวนการถ่ายทอดหมอลำกลอนของหมอลำละมุล ปากไฟ เริ่มต้นด้วยการรับลูกศิษย์และทดสอบความรู้ความสามารถเบื้องต้น และนำเข้าสู่กระบวนการถ่ายทอด กระบวนการท่องจำกลอน ลูกศิษย์รับกลอนลำมาฝึกท่องจำให้ถูกต้องและแม่นยำ กระบวนการฝึกเอื้อนโอละหนอเป็นการฝึกเทียบเสียงของตนให้เข้ากับเสียงแคน กระบวนการฝึกท่วงทำนองเป็นกระบวนการฝึกลำกลอนตามทำนองต่างๆ กระบวนการฝึกท่าฟ้อนการฟ้อนและสื่ออารมณ์ของการแสดงมีความอ่อนช้อยสวยงามให้เข้ากับการแสดงหมอลำกลอน การยกอ้อยอครูเป็นการฝึกอบรมความมีจริยธรรม กตัญญูรู้คุณ ความเคารพต่อบิดามารดาครูอาจารย์ เพื่อไม่ให้ลืมพระคุณ กระบวนการฝึกแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการแสดงหมอลำ โดยให้เลียนแบบจากหมอลำละมุล ปากไฟ เป็นการฝึกประสบการณ์การแสดงหมอลำในสถานที่จริง เพื่อจะได้รู้แนวทางในการแก้ไขในสถานการณ์การแสดงจริง และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆที่พบเจอจากการแสดงจริงนั้นได้
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2207
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62012050004.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.