Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/221
Title: Information Seeking Behavior for Conducting Academic Works of Buriram Rajabhat University Faculty Members
พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศเพื่อทำผลงานทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
Authors: Nutrada Boonyen
ณัฐรดา  บุญเย็น
Gamgarn Sompasertsri
แกมกาญจน์ สมประเสริฐศรี
Mahasarakham University. The Faculty of Informatics
Keywords: พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ
ผลงานทางวิชาการ
อาจารย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
Information seeking behavior
Conducting Academic Works
Faculty Members
Buriram Rajabhat University
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research was to investigate information seeking behavior and barriers in information seeking for producing academic works of the lecturers of Buriram Rajabhat University. The qualitative research method was adopted by using Ellis behavioral model of information seeking as the approach for investigating the behaviors and employing the theoretical framework of Wilson’s and Walt’s barriers in information seeking as the approach in investigating the barriers in information seeking. Semi-structured interviews were conducted according to the developed interview guidelines to collect data from a total of 31 key informants consisted of lecturers who participated in the project of how to produce academic works in one year and complete the five-phase cycle of the fiscal year 2017. Research findings revealed that the lecturers’ information seeking behavior for producing academic works consisted of seven activities: starting, browsing, chaining, monitoring, differentiating, extracting, and verifying. Unlike Ellis behavioral model of information seeking, the missing activity was ending. Barriers encountered in information seeking included 4 aspects: 1) individual aspect in terms of language and keyword determination, 2) economical aspect in terms of expenditure, 3) environment and conditions in terms of time and unstable internet connection, and 4) information resources characteristics in terms of restricted access to sources of information.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ และอุปสรรคในการแสวงหาสารสนเทศเพื่อทำผลงานทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ตัวแบบกระบวนการแสวงหาสารสนเทศของเอลลิสเป็นแนวทางในการศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ  และใช้กรอบแนวคิดเรื่องอุปสรรคในการแสวงหาสารสนเทศของวิลสันและวอลซ์ เป็นแนวทางในการศึกษาอุปสรรคในการแสวงหาสารสนเทศ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่เข้าร่วมโครงการทำผลงานอย่างไรให้ได้ใน 1 ปี ครบวงจร 5 ขั้นตอน ประจำปีงบประมาณ 2560  จำนวน 31 คน ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของอาจารย์ ในการทำผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ การเริ่มต้นแสวงหาสารสนเทศ การสำรวจเลือกดูสารสนเทศ การเชื่อมโยงร้อยเรียงสารสนเทศ การตรวจตราสารสนเทศ การแยกแยะสารสนเทศ การดึงสารสนเทศ และการตรวจสอบสารสนเทศ กิจกรรมที่ขาดหายไป คือ การจบการแสวงหาสารสนเทศ ซึ่งแตกต่างจากตัวแบบพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของเอลลิส ส่วนอุปสรรคในการแสวงหาสารสนเทศ พบอุปสรรคเพียง 4 ด้าน ได้แก่  1) ลักษณะเฉพาะของบุคคล พบว่า เป็นอุปสรรคด้านภาษา และอุปสรรคด้านการกำหนดคำค้น 2) อุปสรรคทางด้านเศรษฐกิจ พบว่า เป็นอุปสรรคด้านค่าใช้จ่าย 3) อุปสรรคด้านสภาพแวดล้อมและสถานการณ์  พบว่า เป็นอุปสรรคด้านเวลา และอุปสรรคด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร 4) ลักษณะเฉพาะของแหล่งสารสนเทศ พบว่าเป็น อุปสรรคจากการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่ให้บริการ 
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/221
Appears in Collections:The Faculty of Informatics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011280003.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.