Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/222
Title: Information Use and Need of Sugarcane Farmer in Satuk District, Buriram Province
การศึกษาการใช้และความต้องการสารสนเทศของเกษตรกรชาวไร่อ้อย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
Authors: Benjamas Meesri
เบญจมาศ  มีศรี
Chanthana Wachousukda
ฉันทนา เวชโอสถศักดา
Mahasarakham University. The Faculty of Informatics
Keywords: การใช้สารสนเทศ
ความต้องการสารสนเทศ
สารสนเทศทางการเกษตร
เกษตรกรชาวไร่อ้อย
Information Use
Information need
Agricultural Information
Sugarcane farmers
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:      The purposes of this study were (1) to study the information Use and Need of sugarcane farmers in Satuk District, Buriram Province, and (2) to study the information need of sugarcane farmers in Satuk District, Buriram Province. This study was a survey study. The population was 2,830 sugar-cane farmers from 4 service centers. The samples of 350 persons: 75 persons from Ban Nong Jan Center, 144 persons from Ban La Ko Center, 76 persons from Ban Nong Pai Center, and 55 persons from Ban Sawai Ta Nguan Center, were determined by using Taro Yamane formula (Taro Yamane, 1973 : 727 - 728) with proportional stratified sampling. The instrument used to collect data was a three-part questionnaire: Part 1 consisted of gender, age, income, education level, experience in sugarcane farming, membership of sugarcane farming service center, and loans and credits. Part 2 consisted of the utilization of information of the sugarcane farmers. And part 3 consisted of the need of information of the sugarcane farmers. The data were analyzed by using statistical program in terms of percentage, mean, and standard deviation. The results were as follows: (1) Most of the farmers were male (74.3%) with the age of 41-50 years old (44.0%) and finished primary school (57.4%). They earned 300,001 – 400,000 baht per year (35.7%) from sugarcane farming and had 6-10 year experience in sugarcane farming (50.6%). They used their own capital (82.0%). (2) In terms of  the utilization of information of the sugarcane farmers in Satuk District, in overall, most of the farmers utilized information at a high level in every item ( = 3.80) and they used more printed media than electronic media or other types of media. When considering each item, the highest top-three scores were from plowing for soil remediation (92.3%), soil fertility (91.4%) and soil types (89.7%), respectively. In terms of the needs of information, most farmers gained the information from place sources rather than from individuals, institutions, events, media and internet. When considering each item, the highest top-three scores were from planting the sugar canes by using human labor (100%) and using chemicals (98.0%), respectively. The use of chemical fertilizer and manure, and taking care of the bottom part of sugar cane were at the same score (97.7%). (3) In terms of the information need of the sugarcane farmers in Satuk District, the sugarcane farmers had a high level of information needs ( = 3.84). Most sugarcane farmers used more printed media than electronic media or other types of media. When considering each item, the use of chemical fertilizer and manure and harvesting the sugar canes by human labor were at the highest score (100%), followed by labor supply and sugarcane truck supply (98.0%). Convenient transportation, adding fertilizer, the use of chemical fertilizer and manure, and taking care of the bottom part of the sugar canes were at the same score (97.7%). In terms of the need of information, most farmers gained the information from place sources rather than from individuals, institutions, events, media and internet. When considering each item, the use of chemical fertilizer and manure, weeding the land, harvesting the sugar canes by using human labor and supplying human labor were at the highest score (100%), followed by highland or dry lowland, convenient transportation, soil types, soil fertility, plowing for soil remediation, sugarcane species and its sources, species preparation, planting the sugar canes by using human labor and by using machinery, taking care of the bottom part of the sugar cane and the use of chemical fertilizer were at the same score (98.0%), and selecting suitable areas (97.4%).
      การศึกษาการใช้และความต้องการสารสนเทศ ของเกษตรกรชาวไร่อ้อยอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1) ศึกษาสภาพการใช้สารสนเทศของเกษตรกรชาวไร่อ้อยอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ (2) ศึกษาความต้องการสารสนเทศของเกษตรกรชาวไร่อ้อย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์  เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ เกษตรกรชาวไร่อ้อย 4 ศูนย์บริการ จำนวน 2,830 คน  กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973 : 727 - 728) โดยวิธีการคำนวณแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน จำนวน 350 คน ประกอบด้วย ศูนย์บ้านหนองจาน จำนวน 75 คน  บ้านละกอ  จำนวน 144 คน บ้านหนองไผ่ จำนวน 76 คน  และศูนย์บ้านสวายตางวน จำนวน  55 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำไร่อ้อย เป็นสมาชิกศูนย์บริการชาวไร่อ้อย และแหล่งเงินกู้/สินเชื่อ ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้สารสนเทศของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศของเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 74.3 มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี ร้อยละ 44.0  จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 57.4  มีรายได้จากการประกอบอาชีพทำไร่อ้อยประมาณ 300,001 – 400,000 บาทต่อปี ร้อยละ 35.7  มีประสบการณ์ทำไร่อ้อย 6-10 ปี ร้อยละ 50.6  แหล่งเงินทุนในการทำไร่อ้อยส่วนใหญ่เป็นเงินทุนตัวเอง ร้อยละ 82.0  (2) สภาพการใช้สารสนเทศของเกษตรกรชาวไร่อ้อย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกข้อ ( = 3.80) การใช้ประเภทสารสนเทศ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารสนเทศเทศประเภทสิ่งพิมพ์มากกว่าสิ่งไม่ตีพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การไถเพื่อปรับสภาพดิน ร้อยละ 92.3 รองลงมาคือ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ร้อยละ 91.4 และ ลักษณะของดิน ร้อยละ 89.7 ส่วนการใช้แหล่งสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้แหล่งสถานที่มากกว่าแหล่งบุคคล แหล่งสถาบัน แหล่งเหตุการณ์ แหล่งสื่อมวลชน และแหล่งอินเทอร์เน็ต เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่ามากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ปลูกด้วยแรงงานคน ร้อยละ 100 รองลงมาคือ การใช้สารเคมี ร้อยละ 98.0 และข้อที่มีค่าเท่ากัน ร้อยละ 97.7 ได้แก่ การให้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์และปุ๋ยเคมี และการบำรุงตออ้อย  (3) ความต้องการสารสนเทศของเกษตรกรชาวไร่อ้อย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า เกษตรกรมีความต้องการใช้สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.84) เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์มากกว่าสิ่งไม่ตีพิมพ์และสื่อเล็กทรอนิกส์ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเท่ากัน ร้อยละ 100 ได้แก่ การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ และการตัดอ้อยด้วยแรงงานคน รองลงมามีค่าเท่ากัน ร้อยละ 98.0 ได้แก่ การจัดหาแรงงานคน และการจัดหารถบรรทุกอ้อย และข้อที่มีค่าเท่ากัน ร้อยละ 97.7 ได้แก่ การคมนาคมสะดวก การให้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์และปุ๋ยเคมี และการบำรุงตออ้อย ส่วนความต้องการใช้แหล่งสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้แหล่งสถานที่มากกว่าแหล่งบุคคล แหล่งสถาบัน แหล่งเหตุการณ์ แหล่งสื่อมวลชน และแหล่งอินเทอร์เน็ต เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเท่ากัน ร้อยละ 100 ได้แก่ การให้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์และปุ๋ยเคมี การกำจัดวัชพืช การตัดอ้อยด้วยแรงงานคน การตัดอ้อยด้วยรถตัดอ้อย และการจัดหาแรงงานคน รองลงมามีค่าเท่ากัน ร้อยละ 98.0 ได้แก่ เป็นที่ดอนหรือที่ลุ่มน้ำไม่ท่วมขัง การคมนาคมสะดวก ลักษณะของดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ การไถเพื่อปรับสภาพดิน พันธุ์อ้อยและแหล่งพันธุ์อ้อย การเตรียมท่อนพันธ์ ปลูกด้วยแรงงานคน ปลูกด้วยเครื่องจักร การบำรุงตออ้อย และการใช้สารเคมี และเลือกพื้นที่เหมาะสม ร้อยละ 97.4
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/222
Appears in Collections:The Faculty of Informatics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011280005.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.