Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2244
Title: Jao Pu Kham Hua Chang spirit house : Sacred Space  Public Space and Installation Art in the Context of Cultural wayside of National Highway Number 2
ศาลเจ้าปู่คำหัวช้าง : พื้นที่สักการะ พื้นที่สาธารณะและศิลปะจัดวางในบริบทวัฒนธรรมริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2         
Authors: Preecha Noulnim
ปรีชา นวลนิ่ม
Arkom Sa-Ngiamviboon
อาคม เสงี่ยมวิบูล
Mahasarakham University
Arkom Sa-Ngiamviboon
อาคม เสงี่ยมวิบูล
arkomsang@gmail.com
arkomsang@gmail.com
Keywords: ศาลเจ้าปู่คำหัวช้าง
พื้นที่สักการะ
พื้นที่สาธารณะ
ศิลปะจัดวาง
วัฒนธรรมริมทาง
Chao Pu Kham Hua Chang Shrine
Worship Area
Public Area
Roadside Culture
Installation Art
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research on Chao Pu Kham Hua Chang Shrine: Worship Area, Public Area and Installation Art in the Context of Roadside Culture Number 2, “One important phenomenon that occurs along the roadside, especially the road that support people's travel, is the most in special or important points in dangerous areas. It became special areas in the context of roadside culture”. There are 4 objectives 1) to study the development of the process area in becoming a sacred area and worship area of Chao Pu Kham Hua Chang shrine, 2) to study Chao Pu Kham Hua Chang shrine as a worship area and public area in the context of roadside culture, 3) to decode the meaning of contemporary installation art from Chao Pu Kham Hua Chang shrine in the context of roadside culture, and 4) to create installation art in the context of roadside culture. The researcher uses qualitative research emphasizing on research and creation with field phenomena. The research area is defined at Chao Pu Kham Hua Chang shrine, "votive elephants, the curve of hundred corpses", stated in Muang Wan subdistrict, Nam Phong district, Khon Kaen province, which located along National Highway number 2, Mittraphap road, during the 28th kilometer before reaching Ubonrat dam. The research is conducted by collecting field data, academic papers and population groups to be analyzed in order to decode the meaning and lead to the creation of contemporary art works in the forms of multimedia art and installation art. The finding revealed that Chao Pu Kham Hua Chang shrine is the area that has developed in beliefs and rituals since the past. It is related to history, stories, and legends of the Thai nation through the symbols of war elephants that have created discourses causing fear through idols and Chao Pu Kham Hua Chang ghost reproducing beliefs in the old and in new ways. The elephants show the meaning of the needs and hopes that people would like to have. People use worship or sacred area as a way to pass their own needs and follow the type of belief. When people saw others succeed by using elephants to warship, they following to use the same. This reveals the reproduction of beliefs that expect success and becoming a role model and social memory through the idols and Chao Pu Kham Hua Chang ghost. Installation art in the local style in Chao Pu Kham Hua Chang shrine area shows the cultural synergy between local communities and contemporary society. It created an identity of beliefs and rituals along the national highway through local art installations using sculpture statue of Chao Pu Kham Hua Chang, crouching elephant sculptures, idols, Buddha images, Brahmins, ghosts, objects of worship, statues of followers, including the placement of contemporary sculptures like Robot Bumblebee in Transformers movie. These installations turn the area into the creation of a specific area in commercial and recreational pilgrimages such as canteen area, sacred object rental area, playground area, as a strategy to make sacred area become more public area. From what was said, it led to decoding the meaning through the phenomenon that occurred in the area of Chao Pu Kham Hua Chang shrine which makes it possible to see symbols representing hidden meanings in beliefs and rituals in the form of Buddha, Brahmin, and ghost through the installation art. Worship objects and idols produced in sacred areas by local people show the dynamics of the cultural movements of the local communities in the past that are linked to modern times. The creation of new meanings and directions in contemporary socio-cultural in terms of time through worship pledge, the interaction with sacred areas of villagers and traveler groups, link to social spaces of people of various classes and link to other sacred areas along the road in Thailand. This causes the integration of elements of art and culture in the contemporary social context of the present day. The research and creativity of Chao Pu Kham Hua Chang shrine: Worship Area, Public Area and Installation Art in the Context of Roadside Culture Number 2 reflects the point of convergence between local art and contemporary art. Because of the current art form, it is something that is not tied to the artist, but art is given new meaning in various dimensions of beliefs, rituals, society and culture. This may be art that is placed in a special area outside a museum or art gallery. Therefore, Chao Pu Kham Hua Chang shrine area indicates the coexistence between the areas of installation art in the installation process of local people that can be transformed into installations in other areas. It can be used as a new perspective to create mixed media art work and installation art by using the old man shape symbol to Chao Pu Kham Hua Chang, crouching elephant shape, and modern sculpture shape. To reconstructing shapes and compositions through the process of creating contemporary art by using modern materials and techniques is different from the use of technical materials in the traditional style of the villagers to understand the phenomenon of the installation of worship objects, idols in the form of local art in the form of visual arts. This creative research is useful in arts and culture. The study method can be used as a model for understanding phenomena in the context of roadside culture through concepts, areas, ritual areas, sacred area. In the context of the identity of roadside culture which in every point of local people and local public areas along the road thus becoming a special area sacred area. In the dimension of cultural travel that contains meaning in terms of beliefs and rituals of past and present societies. It can be used as a study method for understanding the phenomenon in the context of roadside culture in concepts of ritual areas in semiology and signification, understanding the phenomenon in modern society and contemporary art. under the terms of Chao Pu Kham Hua Chang shrine, worship area, public area in the context of roadside culture through the creations of contemporary visual arts and local art area arranged in the form of villagers and engaging with travel groups in various dimensions in cultural identity.
งานวิจัยเรื่องศาลเจ้าปู่คำหัวช้าง : พื้นที่สักการะ พื้นที่สาธารณะและศิลปะจัดวางในบริบทวัฒนธรรมริมทางหมายเลข 2 "ปรากฏการณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในริมทาง โดยเฉพาะเส้นทางรองรับการเดินทางของผู้คน ส่วนใหญ่จะเป็นจุดพิเศษหรือจุดสำคัญและจะเป็นพื้นที่อันตรายการกลายเป็นพื้นที่พิเศษ ในอัตลักษณ์บริบททางวัฒนธรรมริมทาง" ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 4 ข้อดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของพื้นที่กระบวนการกลายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และพื้นที่สักการะของศาลเจ้าปู่คำหัวช้าง 2) เพื่อศึกษาศาลเจ้าปู่คำหัวช้างในฐานะพื้นที่สักการะและพื้นที่สาธารณะในบริบทวัฒนธรรมริมทาง 3) เพื่อถอดรหัสหมายศิลปะจัดวางร่วมสมัยจากศาลเจ้าปู่คำหัวช้างในบริบทวัฒนธรรมริมทาง  4) เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะจัดวางในบริบทวัฒนธรรมริมทาง ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitatative Research) เน้นการวิจัยสร้างสรรค์ (Research & Creation) ร่วมกับปรากฏการณ์สนาม ซึ่งได้กำหนดพื้นที่ในการวิจัย ศาลเจ้าปู่คำหัวช้าง “ช้างแก้บน โค้งร้อยศพ” ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ถนนสายมิตรภาพ ช่วงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 28 ก่อนถึงเขื่อนอุบลรัตน์ และมีดำเนินการวิจัย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลสนามเอกสารทางวิชาการและกลุ่มประชากร เพื่อนำไปวิเคราะห์ ทำความเข้าใจปรากฏการณ์เพื่อถอดรหัสหมายและนำไปสู่การสร้างสรรค์เป็นผลงานทางด้านศิลปะร่วมสมัยในรูปแบบศิลปะสื่อประสม (Multimedia art) ศิลปะจัดวาง (Installation art)           ผลการวิจัยสร้างสรรค์ พบว่า ศาลเจ้าปู่คำหัวช้าง คือ พื้นที่มีการพัฒนาการทางด้านความเชื่อและพิธีกรรมมาตั้งแต่อดีต ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เรื่องเล่า ตำนาน ของชาติไทย ผ่านสัญญะของช้างศึก ทีมีการสร้างวาทกรรม ทำให้เกิดความเกรงกลัว ผ่านรูปเคารพ ผีเจ้าที่เจ้าปู่คำหัวช้างและการผลิตซ้ำทางความเชื่อในรูปแบบเดิมและในรูปแบบใหม่ ซึ่งทำให้เห็นความหมาย ความต้องการและความหวังที่อยากจะเป็นอยากจะมีของคน เพราะมนุษย์ต้องการใช้พื้นที่สักการะ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นทางผ่านตามความต้องการของตัวเองและเป็นการทำตามแบบแผนของความเชื่อที่คนอื่นเขามุ่งหวังทำกันมา เห็นคนอื่นประสบความสำเร็จ เห็นคนอื่นใช้ช้าง จึงใช้ช้างตามบ้าง ซึ่งทำให้เห็นการผลิตซ้ำทางความเชื่อที่คาดหวังความสำเร็จ จนกลายเป็นแบบอย่างกลายเป็นความทรงจำทางสังคม ผ่านรูปเคารพ ผีเจ้าที่เจ้าปู่คำหัวช้าง           ดังนั้นปฏิบัติการจัดวางศิลปะในรูปแบบท้องถิ่นในพื้นที่ศาลเจ้าปู่คำหัวช้าง ทำให้เห็นการประสานความหมายทางวัฒนธรรมระหว่างชุมชนท้องถิ่นเข้ากับสังคมร่วมสมัย ที่ก่อเกิดเป็นอัตลักษณ์ทางความเชื่อและพิธีกรรมริมทางหลวงแผ่นดิน ผ่านการเชิญชวนทางด้านความงามการจัดวางศิลปะแบบท้องถิ่น โดยอาศัย ประติมากรรมรูปปั้นเจ้าปู่คำหัวช้าง ประติมากรรมรูปช้างหมอบ รูปเคารพ พุทธ พราหมณ์ ผี วัตถุสักการะรูปปั้นบริวาร รวมทั้งการจัดวางประติมากรรมร่วมสมัย รูปทรงหุ่นยนต์บัลเบิลบี (Bumblebee) ในภาพยนตร์เรื่อง Transformers) ทำให้พื้นที่ศาลเจ้าปู่คำหัวช้างในแบบเดิมกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าไปสู่การประดิษฐ์สร้างพื้นที่เฉพาะ ในเชิงพุทธพาณิชย์และการพักผ่อน แสวงบุญ เช่น พื้นที่โรงทาน พื้นที่การเช่าวัตถุมงคล พื้นที่สนามของเล่น เพื่อเป็นกุศโลบายในการทำให้พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลายเป็นพื้นที่สาธารณะมากขึ้น   จากสิ่งที่กล่าวนั้นนำไปสู่ การถอดรหัสหมายผ่านปรากฏการณ์ทีเกิดขึ้นในพื้นที่ศาลเจ้าปู่คำหัวช้าง ซึ่งทำให้เห็นสัญญะภาพแทนความหมายที่ถูกซ่อนเร้นเอาไว้กับการความเชื่อและพิธีกรรม ในรูปแบบ พุทธ  พราหมณ์  ผี  ผ่านศิลปะจัดวาง วัตถุสักการะ รูปเคารพ ที่ผลิตสร้างขึ้นในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยกลุ่มคนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงพลวัตของการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นในอดีตที่เชื่อมโยงถึงความเป็นสมัยใหม่ ที่มีการประกอบสร้างความหมายและทิศทางใหม่ๆในเชิงสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย ในเงื่อนไขของเวลา ผ่านการสักการะ บนบานศาลกล่าว การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้านและกลุ่มคนเดินทางสัญจร นักแสวงบุญ เชื่อมโยงไปสู่พื้นที่ทางสังคม ของคนในหลากหลายชนชั้นและเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ริมทางอื่นๆในประเทศไทย ก่อเกิดการผสมผสานองค์ประกอบทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมในบริบททางสังคมร่วมสมัยในยุคปัจจุบัน     งานวิจัยและสร้างสรรค์ ศาลเจ้าปู่คำหัวช้าง : พื้นที่สักการะ พื้นที่สาธารณะและศิลปะจัดวางในบริบทวัฒนธรรมริมทางหมายเลข 2 เป็นการสะท้อนให้ถึงจุดร่วมระหว่างศิลปะแบบท้องถิ่นกับศิลปะร่วมสมัย เนื่องจากรูปแบบศิลปะในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่มิได้ผูกพันธ์ไว้กับศิลปินแต่ศิลปะถูกให้ความหมายใหม่ในมิติต่างๆทางความเชื่อพิธีกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งอาจจะเป็นศิลปะที่ถูกจัดวางในพื้นที่พิเศษภายนอกพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ทางด้านศิลปะ พื้นที่ศาลเจ้าปู่คำหัวช้าง จึงเป็นสิ่งบ่งบอกถึงการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างพื้นที่ของศิลปะจัดวางในกระบวนการติดตั้งของคนท้องถิ่นที่สามารถแปรเปลี่ยนถ่ายเทรูปแบบไปสู่การจัดวางในพื้นที่อื่นๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นมุมมองใหม่ในการสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะสื่อประสม ศิลปะจัดวาง โดยการใช้สัญญะรูปทรงชายแก่เจ้าปู่คำหัวช้าง รูปทรงของช้างหมอบ รูปทรงประติมากรรมสมัยใหม่ การประกอบสร้างรูปทรงและการจัดองค์ประกอบในรูปแบบใหม่ ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย โดยการใช้วัสดุและเทคนิคสมัยใหม่ ที่แตกต่างกับการใช้วัสดุเทคนิคในรูปแบบเดิมของชาวบ้าน เพื่อทำความเข้าใจในปรากฏการณ์การติดตั้งจัดวางวัตถุสักการะ รูปเคารพ ในรูปแบบความงานของศิลปะท้องถิ่น ในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปแบบทางด้านทัศนศิลป์           งานวิจัยสร้างสรรค์ครั้งนี้เป็นประโยชน์ในด้านศิลปะและวัฒนธรรม สามารถใช้วิธีศึกษาเป็นตัวแบบในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ในบริบทของวัฒนธรรมริมทาง ผ่านแนวคิด พื้นที่ พื้นที่พิธีกรรม พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในบริบทความเป็นอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมริมทาง ซึ่งในทุกจุดของคนท้องถิ่นกับพื้นที่สาธารณะท้องถิ่นริมทาง จึงกลายเป็นพื้นที่พิเศษ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในมิติวัฒนธรรมการเดินทางที่บรรจุไปด้วยความหมายในเงื่อนไขทางความเชื่อและพิธีกรรมของสังคมในอดีตและปัจจุบัน สามารถใช้เป็นตัวแบบวิธีการศึกษาในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ในบริบทของวัฒนธรรมริมทาง ในแนวคิด พื้นที่พิธีกรรม ในทางสัญวิทยาและการสร้างความหมาย (Semiology and Signification) การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ในสังคมสมัยใหม่และศิลปกรรมร่วมสมัย ภายใต้เงื่อนไขของ ศาลเจ้าปู่คำหัวช้าง  พื้นที่สักการะ พื้นที่สาธารณะในบริบทวัฒนธรรมริมทาง ผ่านผลงานสร้างสรรค์ทางด้านทัศนศิลป์ร่วมสมัยและพื้นที่ศิลปะท้องถิ่นที่ถูกจัดวางในรูปแบบของชาวบ้านและการมีส่วนร่วมกับกลุ่มคนเดินทางในหลากหลายมิติ ในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2244
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010661010.pdf26.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.