Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2245
Title: The Nadun Jampasri Votive Tablets : Socio-Cultural Relationship and Creation
พระพิมพ์กรุนาดูนนครจำปาศรี : ความสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์
Authors: Apiched Teekalee
อภิเชษฐ์ ตีคลี
Arkom Sa-Ngiamviboon
อาคม เสงี่ยมวิบูล
Mahasarakham University
Arkom Sa-Ngiamviboon
อาคม เสงี่ยมวิบูล
arkomsang@gmail.com
arkomsang@gmail.com
Keywords: พระพิมพ์กรุนาดูน
อัตลักษณ์วัฒนธรรม
ผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม
การสร้างสรรค์
The Nadun votive tablets
Cultural identity
Cultural Products
Creation
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis There are 1) study of The Nadun votive tablets in the cultural society of the Dvaravati period, 2) study of The Nadun Jampasri votive tablets as an ancient artifact in today's society, and 3) apply the results from the study to the creation of cultural products as research and development with mixed methods. Cultural Identity in the research is a study of similarities based on the relationship of the monk The Nadun Jampasri votive tablets with Dvaravati culture. Indian culture during the Gupta period and after Gupta with a comparison of similarities and differences. Use the method of collecting document data. Field work Use the interview record as a research tool, with structured interview methods, open-ended questions, and information in the field to guide further questioning. In-depth interviews collected additional information on the issues obtained from field interviews and prototype product assessment drawings by experts in design, sculpture, community philosophers, and the following research results. The identity of the Buddha The Nadun Jampasri votive tablets is related to the cultural society of the Dvaravati period and the Indian cultural society of the Gupta period and after Gupta through forms, beliefs, symbols, meanings, purpose of creation. However, there are still developments that are different from their origins, such as making mudras, in which Gupta art creates a mudra with one right hand. Dvaravati has the development of mudra on both sides. Identity Meaning The duties of The Nadun Jampasri votive tablets have relationships with people both inside and outside the area. Being a talisman, and then the operations that are happening today. Relationships develop through the form, meaning, purpose of possession, both government and the definition of being an ancient artifact, representing the prosperity of ancient cultures in the area. The public sector gives meaning as a talisman. Thus, the Grunadun monk has a meaning, shifting according to the social context, according to the conditions of relationship with a group of people, possession, and time. Cultural product creation is a design that aims to achieve historical value by studying identities that are connected to the past, including forms, meanings, concepts, and values of cultural memory in the area. The meaning has changed. A model that values the importance of people today. Memories of those who were present Those ingredients will have an effect on creating a cultural product.
 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุงหมาย 1) ศึกษาพระพิมพ์กรุนาดูนในสังคมวัฒนธรรมสมัยทวารวดี 2) ศึกษาพระพิมพ์กรุนาดูนนครจำปาศรีในฐานะศิลปวัตถุโบราณในสังคมปัจจุบัน และ 3) นำผลที่ได้จากการศึกษาสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ใช้แนวคิด อัตลักษณ์วัฒนธรรม (Cultural Identity) ในการวิจัย เป็นการศึกษาความเหมือนบนพื้นฐานความสัมพันธ์ของพระพิมพ์กรุนาดูนนครจำปาศรี กับวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมอินเดียสมัยคุปตะ และหลังคุปตะ พร้อมการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง ใช้วิธีการเก็บข้อมูลภาคเอกสาร การทำงานภาคสนาม     ใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย พร้อมวิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างคำถามปลายเปิด และให้ข้อมูลในภาคสนามเป็นแนวทางในการตั้งประเด็นคำถามต่อ การสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่ได้จากการสัมภาษณ์ในภาคสนาม และแบบประเมินผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบ ด้านประติมากรรม ปราชญ์ชุมชน มีผลการวิจัยดังนี้ อัตลักษณ์พระพิมพ์กรุนาดูนนครจำปาศรี มีความสัมพันธ์กับสังคมวัฒนธรรมสมัยทวารวดี และสังคมวัฒนธรรมอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ ผ่านรูปแบบ คติความเชื่อ สัญลักษณ์ ความหมาย วัตถุประสงค์การสร้าง เป็นภาพตัวแทนสังคมวัฒนธรรมในอดีต อาทิ พระเนตรที่สร้างเป็นกลีบบัว เหลือบมองต่ำทำให้ดูสงบ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะคุปตะผ่านมาทางทวารวดี อย่างไรก็ดียังคงมรพัฒนาการที่ต่างออกไปจากต้นกำเนิด อาทิ การทำมุทรา ซึ่งศิลปะคุปตะจะสร้างมุทราด้วยพระหัตถ์ขวาข้างเดียว ทวารวดีมีพัฒนนาการเป็นมุทราทั้งสองข้าง อัตลักษณ์ ความหมาย หน้าที่ของพระพิมพ์กรุนาดูนนครจำปาศรี มีความสัมพันธ์กับผู้คนทั้งในและนอกพื้นที่ มีผลต่อจิตใจ ทั้งการเป็นของฝากของที่ระลึก การเป็นเครื่องรางของขลัง แล้วปฏิบัติการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความสัมพันธ์นั้นพัฒนาผ่านรูปแบบ ความหมาย วัตถุประสงค์ของการครอบครอง ทั้งภาครัฐที่ให้ความหมายถึงการเป็นวัตถุโบราณ เป็นภาพตัวแทนความรุ่งเรื่องของวัฒนธรรมโบราณในพื้นที่ ภาคประชาชนให้ความหมายเป็นเครื่องรางของขลัง สิ่งให้โชค ตามแนวคิดมนุษยนิยม ดังนั้นพระพิมพ์กรุนาดูนมีความหมาย เลื่อนไหลตามบริบททางสังคม ตามเงื่อนไขความสัมพันธ์กับกลุ่มคน การครอบครอง และเวลา การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม เป็นการออกแบบที่มุ่งสู่คุณค่าทางประวัติศาสตร์   โดยศึกษาอัตลักษณ์ ที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับอดีต ทั้งรูปแบบ ความหมาย แนวคิดในการสร้าง และคุณค่าทางความทรงจำวัฒนธรรมในพื้นที่ โดยประกอบไปด้วย ความหมายที่มีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบที่มีการให้คุณค่าความสำคัญของคนในปัจจุบัน ความทรงจำของคนที่อยู่ร่วมเหตุการณ์ ส่วนผสมเหล่านั้นจะมีผลต่อการสร้างเป็นผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2245
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010661013.pdf25.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.