Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2246
Title: | Political dynamic on Area and Creation in Chang Arena Stadium in Buriram พลวัตทางการเมืองเรื่องพื้นที่และการสร้างสรรค์ในสนามช้างอารีน่า จังหวัดบุรีรัมย์ |
Authors: | Thongchai Srisophon ธงชัย สีโสภณ rachan nilawanapa ราชันย์ นิลวรรณาภา Mahasarakham University rachan nilawanapa ราชันย์ นิลวรรณาภา nilawanapa@yahoo.com nilawanapa@yahoo.com |
Keywords: | พลวัต การเมือง สนามช้างอารีน่า Dynamic Political Chang Arena Stadium |
Issue Date: | 6 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The title of the research was “Political dynamic on Area and Creation in Chang Arena Stadium in Buriram” which objectives of research were 1) to study the development of the Chang Arena Stadium and the surrounding area, 2) to study the politics on area in the Chang Arena Stadium and the surrounding area, and 3) to study the transformation of culture into creative economy of Chang Arena Stadium and the surrounding area. The researcher applied the important concepts and theories in the analysis which consisted of tourism concepts and creative ideas as well as political theory of space, creative economy, and eco-culture was applied in the detailed analysis of various issues. Research areas include the Chang Arena Stadium and its surroundings, Nai Mueang Sub-district, Mueang District, Buriram Province.
The research methodology employed this research was qualitative, including collected data by conducting field studies, in-depth interview and participatory observation, and study information from information media and related documents, in which descriptive approach of data analysis were employed.. The results of each study were as follows:
1. The development of the Chang Arena Stadium and the Surrounding area found that this area is the residence and farming area of Thai people of Khmer descent before Stadium of Chang Arena was built. Moreover, the expansion of Buriram in the old and new eras began when Chao Phraya Chakri (Rama 1) came to meet the abandoned city and ordered the Khmer people moved in and named it called Muang Pae. However, the name was changed to Buriram in the reign of King Rama V.
The construction of the football field started from Mr. Newin Chidchob who bought shares in the Provincial Electricity Authority Football Club and moved the team to Buriram. It changed the name to Buriram PEA Football Club and create another football club called Buriram FC. In 2011, a football field project was established, initially called the I-Mobile Stadium. Later in 2017, the name was changed to Chang Arena. After the football stadium took place, many other buildings were built, such as hotels, market stalls, racing tracks and various sports fields. In addition, tourism areas have been built, such as a replica of the Phanom Rung Castle, Shiva Park, as well as areas for people to participate in activities according to traditions, such as holding Songkran Festivals and New Year celebrations. It is an important area to stimulate the economy, tourism, culture, and political dimension of Buriram Province.
2. Politics on the area in Chang Arena Stadium and the surrounding area found two characteristics as follows: 1) creating a physical area which has applied cultural capital and historical knowledge to create the architecture of a football field in the shape of a turquoise lightning castle. Architecture in Buriram Market Castle such as Mega Store, other shops etc. Shiva Park, World Championship Flat Tracks, 2) the politics of imaginary space, for example, Prasat Phanom Rung was made as a symbol of the football team in a shape in front of the field and there was another replica of Prasat Hin Phanom Rung in the field. In addition, beliefs about Lord Shiva and beliefs about Kama Sutra were brought to create a garden to be a tourist area to attract tourists. So, Chang Arena Stadium and surrounding area became a civilized political area such as sports center and causing the area of political power hidden on the area in the Chang Arena and the surrounding area.
3. The transformation of culture into a creative economy in the Chang Arena has three things: 1) Products and services, including building a football stadium, racing field, and other fields, becoming a tourist attraction and shopping center of Buriram Province, 2) Beliefs and religions include reviving the history of Buddhism beliefs and Brahmin-Hinduism, combining social beliefs in the modern world, creating Kamasut architecture with a Buddha image enshrined on the tip of a sandstone lingam, and 3) The conversion of culture into Buriram city sign activities such as football social group activities, racing social group activities, activities of Wan Buriram Children’s society, Buriram Car Parade society activities, family social group activities, and other social group activities such as there are social group activities for runners (Buriram Marathon) and food social group activities in Buriram. ปรัชญาดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “พลวัตทางการเมืองเรื่องพื้นที่และการสร้างสรรค์ในสนามช้างอารีน่า จังหวัดบุรีรัมย์” มีความมุ่งหมายศึกษา 3 ประเด็น คือ 1.ศึกษาพัฒนาการของสนามช้างอารีน่าและอาณาบริเวณ 2.ศึกษาการเมืองเรื่องพื้นที่ในสนามช้างอารีน่าและอาณาบริเวณ และ 3.ศึกษาการแปลงวัฒนธรรมให้เป็นเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในสนามช้างอารีน่าและอาณาบริเวณ โดยการศึกษานี้ผู้วิจัยประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีสำคัญในการวิเคราะห์ ประกอบด้วยแนวคิดการท่องเที่ยว และแนวคิดการประดิษฐ์สร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเมืองเรื่องพื้นที่ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และนิเวศวัฒนธรรม ในการวิเคราะห์รายละเอียดในประเด็นต่างๆ พื้นที่การวิจัย ได้แก่ สนามช้างอารีน่าและอาณาบริเวณ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการลงศึกษาพื้นที่ภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และศึกษาข้อมูลจากสื่อสารสนเทศและเอกสารที่เกี่ยวข้อง นำเสนอผลศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ ซึ่งผลการศึกษาในแต่ละความมุ่งหมายมีดังนี้ 1. พัฒนาการของสนามช้างอารีน่าและอาณาบริเวณ พบว่า พัฒนาการของสนามช้างอารีน่าช่วงก่อนการสร้างสนามสร้างอารีน่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินของกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมร บางส่วนภูเขาไฟกระโดงมีหินแกร่งใช้สร้างทางรถไฟจึงเกิดอาชีพถลุงหินของประชาชนโดยใช้ชะแรงงัดก้อนหิน แล้วใช้ค้อนปอนทุบขายก่อนเปลี่ยนแปลงมาใช้เครื่องจักรกล ซึ่งการขยายตัวเมืองบุรีรัมย์ยุคเก่าและยุคใหม่เริ่มจากการที่เจ้าพระยาจักรี (ร.1) เสด็จมาพบเมืองร้างจึงบัญชาให้ชาวเขมรป่าดงเข้ามาอยู่อาศัยแล้วทรงตั้งชื่อว่าเมืองแปะ ในสมัย ร.5 ทรงเปลี่ยนชื่อมาเป็นเมืองบุรีรัมย์ ช่วงการก่อสร้างสนามฟุตบอดเริ่มต้นจากนายเนวิน ชิดชอบ ได้ซื้อหุ้นทีมสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้วย้ายทีมมาอยู่เมืองบุรีรัมย์ เปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์พีอีเอ และสร้างสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์เอฟซีอีกทีมหนึ่ง ในปี พ.ศ.2554 จึงมีโครงการสนามฟุตบอลขึ้นโดยในเริ่มแรกใช้ชื่อว่าสนามฟุตบอลไอ-โมบาย สเตเดี้ยม ต่อมาปี พ.ศ.2560 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสนามช้างอารีน่า หลังจากสนามฟุตเกิดขึ้นแล้วได้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ตามมาอีกหลายอย่าง เช่น โรงแรม ตลาดจำหน่ายสินค้า สนามแข่งรถ และสนามกีฬาอีกหลายชนิด นอกจากนั้นยังได้มีการสร้างพื้นที่การท่องเที่ยว เช่น ประสาทพนมรุ้งจำลอง สวนศิวะ รวมถึงพื้นที่ให้ประชาชนมาทำกิจกรรมตามประเพณีความเชื่อ เช่น จัดประเพณีสงกรานต์ และงานสำคัญอื่นๆ รวมถึงการจัดพื้นตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าต่างๆ อีกด้วย จากพัฒนาการดังกล่าวทำให้พื้นที่สนามฟุตบอลและอาณาบริเวณกลายมาเป็นพื้นที่มีความสำคัญทางด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และในมิติพื้นที่ทางการเมือง 2. การเมืองเรื่องพื้นที่ในสนามช้างอารีน่าและอาณาบริเวณพบ 2 ลักษณะ ได้แก่ การสร้างพื้นที่ทางกายภาพ มีการนำทุนทางวัฒนธรรมและองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์มาประยุกต์สร้างสถาปัตยกรรมสนามฟุตบอลรูปทรงปราสาทสายฟ้าสีน้ำเงินคราม สถาปัตยกรรมพื้นที่ตลาดบุรีรัมย์ คาสเซิล สถาปัตยกรรมพื้นที่สวนศิวะ 12 สนามแข่งรถทางเรียบชิงแชมป์โลก ส่วนการเมืองเรื่องพื้นที่ทางจินตนา มีการรื้อสร้างอุดมคติเกี่ยวกับองค์ปราสาทพนมรุ้งมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำทีมฟุตบอลเป็นแบบรูปทรงด้านหน้าสนามทำให้ผู้คนที่เข้ามาได้เกิดความรู้สึกเช่นเดียวกับการได้ไปที่ปราสาทพนมรุ้ง และยังได้จำลองปราสาทหินพนมรุ้งมาตั้งไว้ในพื้นที่ใกล้สนามฟุตบอลด้วย นอกจากนี้ได้นำเอาความเชื่อเกี่ยวกับพระศิวะและความเชื่อเกี่ยวกับกามาสูตร มาจัดสร้างเป็นสวนเพื่อให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการสร้างแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากเข้ามาเที่ยวชม รวมถึงการเข้ามาออกกำลังกายและซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค การประกอบสร้างดังกล่าวทำให้สนามช้างอารีน่าและอาณาบริเวณเกิดเป็นพื้นที่การเมืองแบบอารยะ ที่เป็นทั้งศูนย์ราชการ ศูนย์อำนวยการแข่งกีฬา และทำให้เกิดพื้นที่การเมืองเชิงอำนาจแฝงอยู่บนพื้นที่ในสนามช้างอารีน่าและอาณาบริเวณ 3. การแปลงวัฒนธรรมให้เป็นเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในสนามช้างอารีน่าและอาณาบริเวณ พบว่า 3.1 มีการแปลงวัฒนธรรมให้เป็นสินค้าและบริการ ได้แก่สร้างสนามฟุตบอล สนามแข่งรถ สนามอื่นๆ กลายมาเป็นพื้นที่ลานกีฬาคนเมืองบุรีรัมย์และพื้นที่ท่องเที่ยวชมสถาปัตยกรรม 3.2 การแปลงวัฒนธรรมให้เป็นพื้นที่ความเชื่อและศาสนา ได้แก่ การรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผสานความเชื่อทางสังคมโลกยุคใหม่สร้างสถาปัตยกรรมกามสูตมีพระพุทธรูปประดิษฐานบนปลายศิวลึงค์ศิลาหินทราย 3.3 การแปลงวัฒนธรรมให้เป็นกิจกรรมสัญญะเมืองบุรีรัมย์ ได้แก่ กิจกรรมกลุ่มสังคมฟุตบอล กิจกรรมกลุ่มสังคมรถแข่ง กิจกรรมกลุ่มสังคมเด็กแว๊นบุรีรัมย์ กิจกรรมกลุ่มสังคมรถแห่บุรีรัมย์ กิจกรรมกลุ่มสังคมครอบครัว และกิจกรรมกลุ่มสังคมอื่นๆ มีกิจกรรมกลุ่มสังคมนักวิ่ง (บุรีรัมย์มาราธอน) และกิจกรรมกลุ่มสังคมอาหารการกินเมืองบุรีรัมย์ |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2246 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59012160005.pdf | 5.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.