Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2251
Title: Identity formation of Tha Rae Community: historical, socio-cultural, and economic contexts
อัตลักษณ์ของชุมชนท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
Authors: Kerkkrit Chokchairatchada
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
Taveesinp Subwattana 
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ
Mahasarakham University
Taveesinp Subwattana 
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ
thaveesilp.s@msu.ac.th
thaveesilp.s@msu.ac.th
Keywords: การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
อัตลักษณ์
ชุมชนท่าแร่
social change
Identity
Tha Rae Community
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The study has two main objectives: 1) to examine the historical change of Tha Rae community, and 2) to portray the identity formation of Tha Rae community. The study of the local history of Tha Rae community has revealed that the community was established in 1884, thirty-six years ago. The historical timeline of the community can be divided into three stages, therefore, each stage has reflected a particular community’s identity. The first stage of identity formation of the community was influenced by the local Catholic Christain. According to the religious interference in Muang district, Sakon Nakhon occurring in 1884, Pastor Savia Keko who was the religious leader had made his decision to relocate to Tha Rae district. Another incident relating to religion was in 2480-2490, during the Indochina war, the government policy of Field Marshal Plaek Pibulsongkram determined Buddism as a national religion, therefore, all Christians were forced to change their religion to Buddism. This incident was seen as the darkest period of Christianity in the area because all Christians were abused and tortured for that reason. The second stage of identity formation was made unintentionally by a new business in the area. In 1967, dog meat had become a new business as well as a popular dish in the community. The business had exceedingly upgraded the living condition of the people in the community. On the other hand, it brought a negative attitude to the community. The outsiders conceived them as people who eat dog meat. The incident had become a turning point that pushed the government to issue an important animal law of Cruelty prevention and welfare of animal Act, 2014. Consequently, the Act had made this business disappear from the community.  The third stage of identity formation was influenced by tourism. From 1982-2022, the parade of the Christmas star festival was held every year to celebrate the birth of Jesus. In fact, the celebration had been long practiced in the community up until 1982, Bishop Lauryn Kind Phonseaon introduced this festival to Muang district as well as spread put Christianity to them.  Afterward, in 2003, with the cooperation of Sakon Nakhon municipality and the Tourism Authority of Thailand, this festival was promoted as a national festival that can attract more tourists to visit Sakon Nakhon province. The incidents mentioned earlier are significant to the historical change within Tha Rae community. The change that occurred each time has illuminated the interwoven relationship of people, religion, economy, and society. All of these are crucial to the identity formation of Tha Rae community.
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประเด็น คือ 1. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชุมชนท่าแร่ 2. เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนท่าแร่ ผลการศึกษาโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น พบว่าชุมชนท่าแร่ตั้งชุมชนตั้งแต่ พ.ศ.2427 ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 136 ปีมา ภายใต้ระยะมิติเวลาของประวัติศาสตร์ได้เกิดการเปลี่ยนของชุมชนท่าแร่ แบ่งได้ 3 ช่วงเวลาโดยในแต่ละช่วงเวลามีอัตลักษณ์ของชุมชน ดังต่อไปนี้  1.อัตลักษณ์ผ่านกระบวนการกล่อมเกลาของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก จากเหตุผลทางการเมืองนำไปสู่เหตุการณ์เบียดเบียนทางศาสนาที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2427 ส่งผลบาทหลวงซาเวียร์ เกโกนำผู้คนที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์และศาสนาต้องเคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากเมืองสกลนครมาที่ชุมชนท่าแร่ และครั้งที่ 2 ในช่วงราวทศวรรษ 2480-2490 กรณีพิพาทสงครามอินโดจีน จากนโยบายของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ทำให้ผู้นับถือศาสนาคริสต์ได้ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบังคับเพื่อให้เปลี่ยนศาสนาคริสต์มานับถือศาสนาพุทธ รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆที่ทำร้ายจิตใจของชาวคริสต์ ซึ่งถือว่าเป็นยุคมืดของชุมชนชาวคริสต์ เมื่อกรณีพิพาทอินโดจีนสิ้นสุดลงผู้คนในชุมชนซ่อมแซมอาคารสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และฟื้นฟูจิตใจซึ่งกันและกันโดยให้ศาสนาคริสต์เป็นสิ่งที่ช่วยกล่อมเกลาสภาพจิตใจของผู้คนในชุมชน  2. อัตลักษณ์ตัวตนโดยไม่ตั้งใจ คือธุรกิจค้าขายเนื้อสุนัขเริ่มต้นเมื่อ พ.ศ.2510 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นยุคที่เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนเป็นอย่างมาก และเป็นอาชีพที่ถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ยกระดับชีวิตของผู้คนบางกลุ่มในชุมชนให้ดีขึ้นจากเดิม แม้ว่ามีกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากการกระทำในอาชีพนี้ ซึ่งย่อมมีกลุ่มคนที่เสียผลประโยชน์ทางด้าน “ความรู้สึก” ที่ถูกคนนอกมีมุมมองและทัศนะคติเชิงลบต่อคนในชุมชนและระดับจังหวัด เหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือรัฐบาลได้ออกกฎหมายและประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 หรือ กฎหมายห้ามทารุณสัตว์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจการค้าสุนัขยกเลิกกิจการ และการค้าสุนัขได้หายไปจากชุมชน  3) อัตลักษณ์ใหม่จากการท่องเที่ยว พ.ศ.2525-2565  ในยุคนี้เป็นการนำประเพณีแห่ดาว ที่จัดขึ้นในวันคริสต์มาส ของทุกปีเพื่อระลึกถึงวันประสูตของพระเยซูเจ้า ชุมชนได้ปฏิบัติตามความเชื่อนี้มาเป็นเวลานานจนกระทั้ง พ.ศ.2525 พระอัครสังฆราชลอเรนซ์คายน์ แสนพลอ่อน ได้นำ ประเพณีแห่ดาว จากชุมชนท่าแร่ไปจัดยังเมืองสกลนคร เพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ประเพณีของศาสนาคริสต์ ต่อมาในปี พ.ศ.2546 ทางจังหวัดสกลนครร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย จัดงานประเพณีแห่ดาว ให้มีความยิ่งใหญ่อลังการ ผลของกระแสของการท่องเที่ยวทำให้ชุมชนท่าแร่กลายเป็นชุมชนคริสต์ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ จากเหตุการณ์ต่างๆ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชุมชนที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ที่สะท้อนให้เห็นภาพของความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้คน ศาสนา เศรษฐกิจ สังคม  เรื่องราวเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่อัตลักษณ์ของชุมชนท่าแร่
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2251
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61012180008.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.