Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2252
Title: The community's collective memory on Song Ku festival at the Pagoda in Mahasarakham province
ความทรงจำร่วมของชุมชนกับประเพณีการสรงกู่ในจังหวัดมหาสารคาม
Authors: Kraiwit Norasan
ไกรวิทย์ นรสาร
Taveesinp Subwattana 
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ
Mahasarakham University
Taveesinp Subwattana 
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ
thaveesilp.s@msu.ac.th
thaveesilp.s@msu.ac.th
Keywords: ความทรงจำร่วม,กู่,ประเพณีสรงกู่
Collective memory/ Ku /Song Ku tradition
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed 1. To study the history and development of Song Ku tradition in Maha Sarakham province 2. To study the shared memories of the people in the community and the surrounding community that there was a shared memory of that place. 3. To study the process in which the government came to manage the culture in Songku tradition. The researcher had used qualitative research to prepare research. The research tools are interviews and observations. The targets in the research was 15 community philosophers, 25 practitioners and 25 general groups that come from specific selection. Then brought the information collected from the interview form and related documents to analyze in the content. The result showed that 1. Song Ku or Boon Song Ku is a ritual that the community organizes to pay homage to the supernatural power that the community respects. Most of them are popular during the fifth month merit or Songkran merit according to the beliefs of the Isan people. For Kusantarat and Prang Prang in 1982 BE. Before the government has a policy to promote the economy from tourism, both areas called the ritual that Boon Song Nam, including Boon Song Nam Ku Santarat Boon Song Nam Huai Kut Rang After 1982 BE, the state has promoted tourism. Causing the local government to pick up the original of Boon Song Nam in local to create a new festival in order to support tourists and change the name of the merit, use the word tradition instead, such as Song Ku Santarat tradition Song Kut Rang tradition. In order for those words to attract tourists to visit the local traditions held for Ku Ban Non, it is a new place that was built in 2015 BE using the original belief place of the Pradit community to build an archaeological site using replicas from Ku Ban Daeng. Ku Ban Non Young has no ritual traditions related to Sang Ku directly. There is only a merit event in the seventh month or merit that the community has been doing since the ancestors before the creation of this Ku over the original area. Therefore making Ku Ban Non become a ritual area instead of traditional areas. 2. Shared memories of the people in the community and the people in the community around Ku, First of all, the three Ku are the center of the beliefs, rituals of the community. Because it is a place of mental dependence of the community and nearby communities, Secondly, Ku is a sacred area where the statics of supernatural powers respected by people inside and outside the community. 3. After 1982 BE, the government has a policy to promote tourism. Local government organizations have participated in community traditions. By allocating the operating budget and increasing the activities of Family Day and Elderly Day in Boon Song Ku. Ku Santarat and Prang Ku Kut Rang Is an area that the government has participated in community traditions While Ku Ban Non, the community is the operator itself, not about the government at all.
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1. เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของประเพณีสรงกู่ในจังหวัดมหาสารคาม 2. เพื่อศึกษาความทรงจำร่วมของคนในชุมชน และ ชุมชนรอบๆกู่ ว่ามีความทรงจำร่วมต่อสถานที่แห่งนั้นอย่างไร 3. เพื่อศึกษากระบวนการที่ภาครัฐเข้ามาจัดการวัฒนธรรมในประเพณีสรงกู่ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อจัดทำการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ปราชญ์ชุมชน 15 ท่าน  กลุ่มผู้ปฏิบัติ 25 ท่าน และกลุ่มคนทั่วไป 25 ท่าน ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสัมภาษณ์และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การสรงกู่ หรือ บุญสรงกู่ เป็นพิธีกรรมที่ชุมชนจัดขึ้นเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่ออำนาจเหนือธรรมชาติที่ชุมชนให้ความเคารพนับถือ ส่วนใหญ่นิยมทำขึ้นในช่วงบุญเดือน 5 หรือบุญสงกรานต์ตามคติความเชื่อของชาวอีสาน สำหรับกู่สันตรัตน์และปรางค์กู่กุดรัง ในช่วงก่อนปี 2525 ก่อนที่ภาครัฐจะมีนโนบายส่งเสริมเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวทั้งสองพื้นที่เรียกพิธีกรรมดังกล่าวว่า บุญสรงน้ำ ได้แก่ บุญสรงน้ำกู่สันตรัตน์ บุญสรงน้ำห้วยกุดรัง หลังจากช่วงปี 2525 รัฐได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้น ทำให้องค์การปกครองท้องถิ่นได้หยิบเอาบุญสรงน้ำเดิมในท้องถิ่นขึ้นมาสร้างสรรค์ให้เป็นเทศกาลใหม่เพื่อที่จะรองรับนักท่องเที่ยวและเปลี่ยนชื่องานบุญ ให้ใช้คำว่า ประเพณี แทน เช่น ประเพณีสรงกู่สันตรัตน์ ประเพณีสรงกู่กุดรัง เพื่อให้คำเหล่านั้นเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวยังงานประเพณีที่ท้องถิ่นนั้นๆจัดขึ้น สำหรับ กู่บ้านโนน เป็นสถานที่ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงปี 2558 โดยใช้สถานที่ทางความเชื่อเดิมของชุมชนประดิษฐ์สร้างเป็นโบราณสถานโดยใช้การเลียนแบบต้นแบบมาจากกู่บ้านแดง กู่บ้านโนนยังไม่มีประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการสรงกู่โดยตรง มีเพียงงานบุญเดือน 7 หรือ บุญซำฮะ ที่ชุมชนรวมทำกันมาตั้งแต่ครั้นบรรพบุรุษก่อนจะมีการสร้างกู่แห่งนี้ทับลงบนพื้นที่เดิม จึงทำให้กู่บ้านโนนกลายเป็นพื้นที่ในการประกอบพิธีกรรมแทนพื้นที่แบบดั้งเดิม  2. ความทรงจำร่วมของคนในชุมชนและคนในชุมชนรอบๆ กู่  ประการแรกคือกู่ทั้งสามแห่งเป็นศูนย์กลางด้านความเชื่อ พิธีกรรม ของชุมชน เนื่องจากเป็นสถานที่พึ่งพิงทางจิตใจของชุมชนและชุมชนใกล้เคียงได้อย่างเสมอๆ ประการที่สองกู่เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สิ่งสถิตของอำนาจเหนือธรรมชาติที่ผู้คนทั้งในและนอกชุมชนให้ความเคารพนับถือ 3. หลังจากปี 2525 ที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเกิดขึ้น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดงานประเพณีของชุมชน โดยได้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานและเพิ่มกิจกรรมวันครอบครัวและวันผู้สูงอายุในงานบุญสรงกู่  กู่สันตรัตน์และปรางค์กู่กุดรัง เป็นพื้นที่ที่ภาครัฐได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดงานประเพณีของชุมชน  ในขณะที่กู่บ้านโนนทางชุมชนเป็นผู้ดำเนินการเองไม่ได้เกี่ยวกับภาครัฐเลยแต่อย่างไร
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2252
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61012180009.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.