Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2255
Title: The Identity of the Lao Krang sarong, the ancient woven cloth of Nang Champi Thammasiri and the Local Ethnic Maintenance
อัตลักษณ์ผ้าซิ่นลาวครั่งผ้าทอโบราณนางจำปี  ธรรมศิริ กับการธำรงชาติพันธุ์ท้องถิ่น
Authors: Keangkard Tonthongkam
เก่งกาจ ต้นทองคำ
Arkom Sa-Ngiamviboon
อาคม เสงี่ยมวิบูล
Mahasarakham University
Arkom Sa-Ngiamviboon
อาคม เสงี่ยมวิบูล
arkomsang@gmail.com
arkomsang@gmail.com
Keywords: อัตลักษณ์
ผ้าทอโบราณ
การธำรงค์ชาติพันธุ์ท้องถิ่น
The identity of the Lao Krang sarong
the ancient woven cloth the local ethnic maintenance
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were as follows: 1 To study the history of Lao Khrang ethnic group, cultural identity in the context of history and culture 2 To study Lao Khrang weaving in the context of Lao Khrang cultural identity Uthai Thani Province 3 to study the creation and meaning of ancient woven fabric patterns. Teacher Chang Nang Champee Thammasiri is a Thai of Lao Khrang descent. in terms of roles and preservation of local ethnicities The sample group used in this research consisted of 1) the key informant group, namely Mrs. Champee Thammasiri, 2) the sample group was the ancient fabric of the Lao Khrang ethnic group. The research instruments consisted of 1) an interview form, 2) a field work record form, and 3) an audio-visual data recorder. The main research findings were as follows: 1 History of Lao Khrang ethnic group, cultural identity in historical and cultural context The results showed that the Lao Khrang people in Thailand were originally settled in Phu Krang town. There have been immigrants to settle in Thailand 3 times, after which they continued to migrate to Chainat, Uthai Thani and other provinces in the central region, with the inheritance of culture, traditions, spoken language, dress, food, way of life, including the wisdom of weaving. Identity In which the native woven cloth is a wisdom that is passed on from generations to generations from the past. which is a unique local identity that is more distinctive than the woven fabrics of other ethnic groups In the past, Lao Khrang, in the central region, weaved cloth for household use. 2. Lao Khrang woven cloth in the context of Lao Khrang cultural identity Uthai Thani Province The results showed that Lao Khrang woven cloth is a wisdom that has been passed down. is a cultural heritage from the ancestors of Lao Khrang people for many generations Woven fabrics are part of the Lao Khrang lifestyle that is important for harmony. The way of life since the past and also passed on to the children to be passed on to the present day. Lao Khrang people come to the ability to weave Jok cloth. Lao Khrang woven cloth There is also a distinctive identity. And unlike other ethnic groups, the fabric is unique. Bo tells about the craftsmanship of the Lao Khrang people. Mudmee sarong per tin jok which is regarded as a fabric that represents excellent craftsmanship of Lao Khrang weavers 3. Roles of ethnic preservation creative The meaning of ancient weaving patterns, Teacher Chang, Mrs. Champee Thammasiri in dimensions, roles and maintenance of local ethnicities. The results showed that Mrs. Champee Thammasiri, the keeper of the Lao Krang weaving inheritance from her grandmother. and create a museum for future generations to learn The successor of the ancient Lao Khrang weaving. and also developed their own weaving because of the succession of weaving Therefore, the wisdom of weaving Lao Khrang cloth is not lost. by building a museum Grandmother's cloth house for future generations to study the keys in the brain Wherever you go, you can weave your own clothes and ask for tools and equipment. The pattern key is the original basic pattern, such as the Naga pattern, the necklace pattern, the hook pattern, the chicken wing pattern.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งอัตลักษณ์วัฒนธรรมในบริบทประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาผ้าทอลาวครั่งในบริบทอัตลักษณ์วัฒนธรรม   ลาวครั่ง จังหวัดอุทัยธานี 3) เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์และความหมายของลวดลายผ้าทอโบราณ ครูช่างนางจำปี  ธรรมศิริ คนไทยเชื้อสายลาวครั่ง ในมิติบทบาทและการธำรงค์ชาติพันธุ์ท้องถิ่น โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบไปด้วย 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นางจำปี ธรรมศิริ 2) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผลงานผ้าทอโบราณกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบบันทึกการทำงานภาคสนาม และ 3) เครื่องมือบันทึกข้อมูลภาพและเสียง ผลการวิจัยสำคัญพบว่า 1) ความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งอัตลักษณ์วัฒนธรรมในบริบทประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า ชาวลาวครั่ง ในประเทศไทยนั้นมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองภูครัง โดยมีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย 3 ครั้ง ซึ่งภายหลังได้อพยพต่อเนื่องไปยังจังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลาง โดยมีการสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณี ภาษาพูด การแต่งกาย อาหาร วิถีชีวิต รวมทั้งภูมิปัญญาการทอผ้าซึ่งเป็นอัตลักษณ์ โดยที่ผ้าทอพื้นเมืองเป็นภูมิปัญญาที่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นมาตั้งแต่อดีต ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่มีความโดดเด่นกว่าผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น 2) ผ้าทอลาวครั่ง ในบริบทอัตลักษณ์วัฒนธรรมลาวครั่ง จังหวัดอุทัยธานี ผลการวิจัยพบว่า ผ้าทอลาวครั่งเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดเป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมมาจากบรรพบุรุษเชื้อสายชาวลาวครั่ง ผ้าทอเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวลาวครั่งที่มีความสำคัญผูกพันกลมกลืนต่อวิถีชีวิตมาตั้งแต่อดีตและยังถ่ายทอดให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีประกอบไปด้วย 2.1) เอกลักษณ์ที่สะท้อนภูมิปัญญา และทักษะเชิงช่าง 2.2) ผ้าซิ่นตีนจกที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของชาวลาวครั่ง 2.3) โครงสร้างของผ้าจะแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น และ 2.4)ความเชื่อและเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับวิถีชีวิต และ 3) บทบาท การธำรงชาติพันธุ์ การสร้างสรรค์ ความหมายของลวดลายผ้าทอโบราณ ครูช่าง นางจำปี ธรรมศิริ ในมิติบทบาทและการธำรงชาติพันธุ์ท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า นางจำปี ธรรมศิริ ผู้รักษามรดกการ  ทอผ้าทอลาวครั่งจากย่า ยาย และสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ผู้สืบทอดการทอผ้าทอลาวครั่งแบบโบราณ และยังได้พัฒนาการทอผ้าด้วยตนเอง เนื่องจากมีการสืบทอดการทอผ้าเรื่อยมา จึงทำให้ภูมิปัญญาการทอผ้าทอลาวครั่งไม่สูญหายไป นางจำปี ธรรมศิริ ยังคงเก็บผ้าทอลายโบราณไว้เป็นอย่างดี โดยสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ เรือนผ้าย่ายาย ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษากุญแจลายอยู่ในสมอง จะไปอยู่ที่ไหนก็ทอผ้าได้ขอให้มีเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ กุญแจลายก็คือลายพื้นฐานดั้งเดิม เช่น ลายนาค ลายสร้อยสา ลายขอกำ ลายปีกไก่ โดยส่งต่อภูมิปัญญาการทอผ้า ให้แก่ลูกสะใภ้ หลานชาย หลานสาวและผู้ที่สนใจเรียนรู้การทอผ้าเพื่อวันหนึ่งจะได้เป็นผู้สืบสานผ้าทอลาวครั่งสืบไป
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2255
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010662001.pdf25.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.