Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/226
Title: Development of interactive media presentation for Klong-chang festival of Surin province using Leap motion technique
การพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อการนำเสนอพิธีกรรมการคล้องช้างของจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้เทคนิคลีพโมชั่น
Authors: Ukrit Pinyam
อุกฤษฏ์  พินแย้ม
Suebsiri Saelee
สืบศิริ แซ่ลี้
Mahasarakham University. The Faculty of Informatics
Keywords: สื่อปฏิสัมพันธ์
พิธีกรรมการคล้องช้าง
อุปกรณ์ลีพโมชั่น
การคล้องช้างในเพนียด
Interative media
Klong-chang festival
Leap motion device
Catch elephant in the corral
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research are 1) to study the visitors’ need regarding the presentation about  Khlong-Chang Festival in Museum of Khotcha Sueksa Center, Tha Tum Sub-District, Surin Province by using the leap motion technique; 2) to develop the interactive media in Khlong-Chang Festival of Surin Province by using the leap motion technique; and 3) to study the satisfaction of the visitors toward the interactive media by using the leap motion technique that the researcher has developed.           The sample of this research are the informants, which are 60 visitors in Khotcha Sueksa Center, Tha Tum Sub-District, Surin Province; 3 experts for the interview about the direction in designing the interactive media; and 30 visitors for the satisfaction evaluation by using the accidental sampling method. The research instrument consists of 1) the questionnaire about the needs of the interactive media for the visitors in Khotcha Sueksa Center; 2) the depth interview for the design and content experts; 3) the quality evaluation for the design and the application of the interactive media; 4) the satisfaction evaluation for the audiences of the interactive media in Khotcha Sueksa Center; and 5) the interactive media prototype of Khlong-Chang Festival of Surin Province by using the leap motion technique. The statistics that are used in this research are the arithmetic means and the standard deviation. The research results are as followed:           1. The visitors’ need the interactive media by using the leap motion technique to present the information in Khotcha Sueksa Center because the leap motion technique is new and allows the users to have the shared feelings while watching the interactive media. Also, the motion in the interactive media, which is the button pressing, is suggested since the majority of the visitors still attached to the button pressing and the elder users can easily understand. The content that needs to be added from the main content is the content about the background of Thai elephants and the picture of the famous stone castle of Surin Province can be used as the decoration in the sub-components in the interactive media.           2. Interactive media for Khlong-Chang Festival of Surin Province by using the leap motion technique with the operation by hands instead of mouse and keyboard for the novelty in presenting the information, providing the independent reaction to the users and allowing them to choose the content. There is also the offline Khlong-Chang.           3. From the result of the quality evaluation about the design and the application of the interactive, the researcher found that the interactive media that the researcher created was in the high quality level of 4.16 Moreover, from the satisfaction evaluation of the audiences of the interactive media in Khotcha Sueksa Center, the researcher found that the visitors of Khotcha Sueksa Center were highly satisfied with the interactive media that the researcher created with the average of 4.38.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  ศึกษาความต้องการของผู้เข้าชมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลพิธีกรรมการคล้องช้าง  ในพิพิธภัณฑ์ศูนย์คชศึกษา อำเภอท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์  โดยใช้เทคนิค ลีพโมชั่น  2)  พัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์พิธีกรรมการคล้องช้างของจังหวัดสุรินทร์  โดยใช้เทคนิค ลีพโมชั่น  3)  ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าชมที่มีต่อสื่อปฏิสัมพันธ์ที่ได้ผลิตขึ้น  โดยใช้เทคนิค ลีพโมชั่น  ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น  กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย  1)  ผู้เข้าชมภายในศูนย์คชศึกษา  จำนวน  60  คน  2)  ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ถึงทิศทางในการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์  จำนวน  3  คน  3)  กลุ่มผู้เข้าชมในการประเมินผลความพึงพอใจจำนวน  30  คน  โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  1)  แบบสอบถามความต้องการสื่อปฏิสัมพันธ์  สำหรับผู้เข้าชมในศูนย์คชศึกษา  2)  แบบสัมภาษณ์เชิงลึก  สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบและด้านเนื้อหา  3) แบบประเมินคุณภาพด้านการออกแบบและการใช้งานของสื่อปฏิสัมพันธ์  4)  แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าชมสื่อปฏิสัมพันธ์ในศูนย์คชศึกษา  5)  สื่อปฏิสัมพันธ์ต้นแบบ  พิธีกรรมการคล้องช้างของจังหวัดสุรินทร์  สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  โดยมีผลวิจัยที่สำคัญดังนี้            1.  ผู้เข้าชมส่วนใหญ่ต้องการให้สื่อปฏิสัมพันธ์โดยใช้เทคนิคลีพโมชั่น  มาช่วยในการนำเสนอข้อมูลในศูนย์คชศึกษา เพื่อเพิ่มอารมณ์ร่วมในการรับชมสื่อปฏิสัมพันธ์  โดยมีการเพิ่มเนื้อหาความเป็นมาของช้างไทยและนำการออกแบบในรูปแบบการ์ตูนเอนิเมชั่น 2 มิติ  เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับชม            2.  สื่อปฏิสัมพันธ์พิธีกรรมการคล้องช้างของจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้เทคนิคลีพโมชั่นโดยสามารถใช้งานด้วยมือแทนการใช้เมาส์และคีย์บอร์ด  เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่ในการนำเสนอข้อมูล  มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานได้อย่างอิสระ และใช้งานได้อย่างสะดวกในรูปแบบออฟไลน์           3.  ผลการประเมินคุณภาพด้านการออกแบบและการใช้งานของสื่อปฏิสัมพันธ์พบว่า  สื่อปฏิสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับดี  มีค่าเฉลี่ยที่  4.16  และผลประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าชมสื่อปฏิสัมพันธ์ในศูนย์คชศึกษา  พบว่า  ผู้เช้าชมในศูนย์คชศึกษามีความพอใจมากกับสื่อปฏิสัมพันธ์ที่จัดทำขึ้น  โดยมีค่าเฉลี่ยที่  4.38
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/226
Appears in Collections:The Faculty of Informatics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011283012.pdf9.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.