Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2287
Title: Monks and the Use of Wisdom in Isan Community Development
พระสงฆ์กับการใช้ภูมิปัญญาในการพัฒนาชุมชนอีสาน
Authors: Akutarasatatikoon Somdet
เอกุตตรสตาธิคุณ วงศ์ธรรม
Sastra Laoakka
ศาสตรา เหล่าอรรคะ
Mahasarakham University
Sastra Laoakka
ศาสตรา เหล่าอรรคะ
sastra.l@msu.ac.th
sastra.l@msu.ac.th
Keywords: พระสงฆ์
ภูมิปัญญา
พัฒนาชุมชน
รูปแบบการพัฒนาชุมชน
Thai monks
Wisdom
Community development
Model of Community Development
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:      The qualitative research entitled Buddhist monks who play the role of Developers : Monks and the Use of Wisdom in Isan Community Development aimed at investigating the following 1) To study the history of the use of monks' wisdom in the development of the community of Isan monks 2) To study the current condition and problems of using monks' wisdom in the development of the Isan community 3) To study the pattern of Use the wisdom of the monks to develop the community of Isan. The researcher selected 3 provinces as the research area through a purposive sampling, they were these : 1) Roi Et province consisted of wat thitawiriyawararam (phrakruwiriyathammakun), Wat pa mettatham (prakru wimansangworakun), and wat phothikaram (prakhru phothiwirakun), 2) kalasin Province consisted of wat klangkalasin (phratham wongsachan), wat pathomkesaram (phrakhrupathomthamlakkhit), and wat sawangtai (Phrakhru siriphattharasophon, 3) Maha sarakham province consisted of wat sri sawat (phrakhru sriyattisophit), wat sawang wari (phrakhrusiripariyatsophit), and wat doawasueng (phrakhru patchimwaranukun). Research period began from March 2013 to March 2014. A sample of 72 people divided into :3 groups were a group of key informants, a group of casual informants, and a general informants. Research instruments were a survey form, a participatory observation form, a non-participatory observation form, a structured interview form, a  non-structured. interview form, and a focus group discussion form, Reliability of data was examined by means of a triangulation technique and research results were presented by means of a descriptive analysis;      Research results have revealed that as for the background of the use of indigenous knowledge for managing community development, it had a changing point resulting from the universities of Buddhist monks sent Buddhist missionaries to be Dhamma teachers in the far rural areas in 1963 and sent Buddhist missionaries to promote development projects in the far-rural areas in 1965. During 1973 1976, it had a political crisis in Bangkok which pushed Buddhist monks studying in Bangkok and the persons having the same cause escaped from Bangkok to be monks in rural areas of Isan region. They led people to develop their community by beginning with road construction, water-supply management, lavatory construction, making vegetable gardens, providing basic public health, and ending with developing the way of life for responding basic needs of community.      The present condition of using the monks' wisdom in the development of the Isan community found that the developer monks have applied folk wisdom to develop the community in 5 aspects, namely 1) The construction of permanent restoration objects and environmental landscape adjustment 2) Career development 3) Public health work 4) Moral and ethical training 5) Continuation and promotion of local traditions, This is to encourage people in the community to be more interested and take part in the development.      The problem of using the wisdom of monks in the development of the Isan community found that the development has received attention from few communities who participated in the development activities, mainly the elderly. because the middle-aged group and youth groups will go to work outside the home or go to school therefore did not receive as much cooperation as it should.      The development pattern found that the developer monks had 5 types of development actions, namely 1) Planning 2) Organization 3) Organizing people to work 4) Commanding and controlling. Most of them have the rank of abbot who is revered and deteriorating the faith of the monks and tayok tayika can proceed according to the prescribed format.      In conclusion, the organizations concerned can adapt the patterns  use of indigenous knowledge for managing community development Buddhist monks to their development affairs in accordance with the feasibility.
     การวิจัยเรื่อง พระสงฆ์กับการใช้ภูมิปัญญาในการพัฒนาชุมชนอีสาน ครั้งนี้เป็นการวิจัยชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมายในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการใช้ภูมิปัญญาของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมขนอีสาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้ภูมิปัญญาของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนอีสาน 3) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ภูมิปัญญาของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมขนอีสาน ผู้วิจัยได้คัดเลือกพื้นที่ทำการวิจัยแบบเจาะจง 3 จังหวัด คือ 1) จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย วัดฐิตวิริยาวนาราม (พระครูวิริยธรรมคุณ) วัดป่าเมตตาธรรม (พระครูวิมลสังวรคุณ) วัดโพธิการาม (พระครูโพธิวีรคุณ) 2) จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย วัดกลางกาฬสินธุ์ (พระธรรมวงศาจารย์) วัดปฐมเกศาราม (พระครูปฐมธรรมลักขิต) วัดสว่างใต้ (พระครูสิริภัทรโสภณ 3) จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย วัดศรีสวัสดิ์ (พระครูปริยัติโสภิต) วัดสว่างวารี (พระครูสิริปริยัติโสภิต) วัดดาวดึงส์ (พระครูปัจฉิมวรานุกูล) ระยะเวลาทำการวิจัยเริ่มจากเดือน มีนาคม 2556 ถึงเดือน มีนาคม 2557 โดยกำหนดประซากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 72 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์      ผลการวิจัย พบว่า ประวัติความเป็นมาของการใช้ภูมิปัญญาในการพัฒนาชุมอีสาน มีการเปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ. 2506 โดยมหาวิทยาลัยสงฆ์ ส่งพระธรรมทูตไปเป็นครูสอนธรรมะในชนบทห่างไกล และในปี พ.ศ. 2508 กรมการศาสนาได้ส่งพระธรรมทูตไปส่งเสริมงานพัฒนาในชนบท ที่ห่างไกล เช่นเดี่ยวกัน ปี พ,ศ. 2516-2519 มีความชัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ทำให้พระสงฆ์ที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ และกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ร่วมอุดมการณ์ หนีออกไปบวชเรียนในภาคอีสาน ได้นำชาวบ้านพัฒนาชุมชนลงตน โดยเริ่มจาการทำถนน จัดหาแหล่งน้ำ สร้างห้องน้ำ ปลูกผักสวนครัว สร้างสาธารณสุขมูลฐาน และพัฒนาด้านวิถีชีวิตเพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของชุมซน      สภาพปัจจุบันการใช้ภูมิปัญญาของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนอีสาน พบว่า พระสงฆ์นักพัฒนาได้นำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ในการพัฒนาชุมชน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การก่อสร้างบูรณะถาวรวัตถุ และการปรับภูมิทัศน์สภาพแวดล้อม 2) การพัฒนาอาชีพ 3) การส่งเสริมสุขภาพ 4) การอบรมศีลธรรม จริยธรรม 5) การสืบสานและส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น      สภาพปัญหาการใช้ภูมิปัญญาของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนอีสาน พบว่า การพัฒนาได้รับความสนใจจากชุมชนน้อยคนที่เข้ามาร่วมกิจกรรมการพัฒนาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะกลุ่มวัยกลางคน และกลุ่มเยาวชนจะไปทำงานนอกบ้าน หรือไปเรียนหนังสือ จึงไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร      รูปแบบการพัฒนา พบว่า พระสงฆ์นักพัฒนามีรูปแบบการดำเนินการพัฒนา 5 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การจัดองค์กร 3) การจัดคนเข้าทำงาน 4) การสั่งการ และการควบคุม ซึ่งพระสงฆ์นักพัฒนาส่วนใหญ่จะมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าอาวาสอันเป็นที่เคารพเสื่อมใสศรัทธาของพระสงฆ์ และทายก ทายิกา สามารถดำเนินการตามรูปแบบที่กำหนดได้      โดยสรุปการวิจัยครั้งนี้สามารถนำรูปแบบการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของพระสงฆ์อีสานไปเป็นแนวทางในการพัฒนาได้ตามความเหมาะสม
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2287
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64012461029.pdf5.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.