Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2295
Title: The Ecological Concept In Feature Writings of  Veerasak Chansongsang
มโนทัศน์เชิงนิเวศในสารคดีของวีระศักดิ์  จันทร์ส่งแสง 
Authors: Benjamas Panpoo
เบญจมาศ พันพู
Rachan Nilawanapa
ราชันย์ นิลวรรณาภา
Mahasarakham University
Rachan Nilawanapa
ราชันย์ นิลวรรณาภา
nilawanapa@yahoo.com
nilawanapa@yahoo.com
Keywords: มโนทัศน์
มโนทัศน์เชิงนิเวศ
สารคดี
Concept
Ecological Concept
non-fiction
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis has two research objectives: to study The Ecological Concept In Feature Writings of Veerasak Chansongsang and to study the strategies of presenting the eco-concept in the documentary by Veerasak Chansongsang. In the documentary, the researcher has selected 4 documentaries that present nature and environment with diverse landscapes, including 34 documentaries, which are Behind the Curtain of Trees (2005), Land This on the other side of the mountain (2011), Isan Ban Hao (2012) and the ordinary miracle of the common people (2013). The researcher has applied the theory of ecological critical literature. And the concept of documentary presents techniques as a guideline for the study and analysis. The results of the study revealed that in the documentary writings of Veerasak Chansongsang reflected two aspects of eco-manatism under the concept of relationship between nature, first one is the eco-concept of nature. And second one is the traditional way of life. Based on the dependence on the way of life of human beings that depend on nature. under the concept of nature as the center Both dependence on the way of life that is both a habitat and a food source. including a culture of spiritual beliefs and the concept of nature and its way of development which is based on the desire to conquer nature in order to seek benefits from nature under a human-centered concept. Also, the tourism sector that is a source of investment resources and generates profits that include government development policies, as a tool for building power bases and seeking benefits. Strategies for presenting The Ecological Concept In Feature Writings of Veerasak Chansongsang, The results show that 5 characteristics: 1) Strategies for presenting through documentary elements. naming opening and closing the subject 2) Presentation through references from academic papers and from the interview 3) the use of metaphor found that there was a use of figurative metaphor and conceptual 4) presentation of dialects found that the presentation of dialects about plant and animal names; and 5) presentation of documentary illustrations. The concept of nature and the environment at Veerasak Chansongsang presented the important role of nature and the environment. Through the way of life of people who all depend on nature both physically and spiritually. leading to the concept of conservation and sustainable coexistence with nature
            วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีความมุ่งหมายของการวิจัย 2 ประการ คือการศึกษามโนทัศน์เชิงนิเวศในสารคดีของวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง และเพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอมโนทัศน์เชิงนิเวศในสารคดีของวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง ในการวิจัยเรื่องมโนทัศน์เชิงนิเวศในสารคดีของวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง ผู้วิจัยได้เลือกงานเขียนสารคดีที่มีเนื้อหาการนำเสนอธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางภูมิเวศ จำนวน 4 เล่ม รวมสารคดีทั้งหมด 35 เรื่อง คือ หลังม่านต้นไม้ (พ.ศ.2548) แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา (พ.ศ.2554) อีสานบ้านเฮา (พ.ศ. 2555) และมหัศจรรย์ธรรมดาของสามัญชน (พ.ศ. 2556)  โดยผู้วิจัยได้นำทฤษฎีวรรณกรรมวิจาร์เชิงนิเวศ และแนวคิดกลวิธีการนำเสนอสารคดีมาเป็นแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าในงานเขียนสารคดีของวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง ได้สะท้อนให้เห็นถึงมนัศน์เชิงนิเวศภายใต้แนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ มโนทัศน์เชิงนิเวศว่าด้วยธรรมชาติกับวิถีดั้งเดิมซึ่งวางอยู่บนฐานของการพึ่งพาในแง่วิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ภายใต้แนวคิดธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง ทั้งการพึ่งพาในแง่วิถีการดำรงชีวิตที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหาร รวมถึงวัฒนธรรมความเชื่อในเชิงจิตวิญญาณ และมโนทัศน์ว่าด้วยธรรมชาติกับวิถีการพัฒนาซึ่งวางอยู่บนรากฐานของความต้องการที่จะเอาชนะธรรมชาติทั้งนี้ก็เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติภายใต้แนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ทั้งภาคธุรกิจในเชิงการท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งทรัพยากรการลงทุนและสร้างผลกำไร รวมถึงนโยบายการพัฒนาในเชิงภาครัฐทั้งในฐานะเป็นเครื่องมือสร้างฐานอำนาจและแสวงหาผลประโยชน์ ส่วนกลวิธีการนำเสนอมโนทัศน์เชิงนิเวศในสารคดีของวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง ผลจากการศึกษาพบว่าในงานเขียนสารคดีของวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสงนั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงการนำเสนอมโนทัศน์เชิงนิเวศผ่านกลวิธีอยู่ 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) กลวิธีการนำเสนอผ่านองค์ประกอบสารคดี การตั้งชื่อเรื่อง การเปิดเรื่อง และการปิดเรื่อง 2) การนำเสนอผ่านการอ้างถึงข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ และจากบทสัมภาษณ์ 3) การใช้อุปลักษณ์พบมีการใช้อุปลักษณ์เชิงภาพพจน์ และเชิงมโนทัศน์  4) การนำเสนอภาษาถิ่น พบว่าการนำเสนอภาษาถิ่นเกี่ยวกับเรียกชื่อพืชและสัตว์ และ 5) การนำเสนอภาพประกอบสารคดี กล่าวได้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสงได้นำเสนอแสดงให้เห็นบทบาทสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านวิถีชีวิตของผู้คนที่ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาธรรมชาติทั้งด้ายกายภาพและจิตวิญญาณ นำไปสู่แนวคิดการอนุรักษ์และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2295
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010180004.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.