Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2298
Title: | ISAN Intonation Preaching of Athitthansiangdharma group, Watseesawang, Nhonggo Sub-district, Kranuan district, Khon Kaen Province การเทศน์แหล่อีสานคณะอธิษฐานเสียงธรรม วัดศรีสว่าง ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น |
Authors: | Watcharawut Sripumkun วัชรวุธ ศรีภูมิกุล Jaruwan Thammawatra จารุวรรณ ธรรมวัตร Mahasarakham University Jaruwan Thammawatra จารุวรรณ ธรรมวัตร aj_wish11@hotmail.com aj_wish11@hotmail.com |
Keywords: | รูปแบบ องค์ประกอบ การเทศน์แหล่อีสาน Styles Composition Isan intonation preaching |
Issue Date: | 22 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purpose of this article aimed to investigate ISAN Intonation Preaching of Athitthansiangdharma group, Srisawang temple, Nhonggo Sub-district, Kranuan district, Khon Kaen Province. ISAN Intonation Preaching compound with the sender, message, recipient, and communication context. Investigating the preaching styles and the ISAN intonation preaching content about fifteen story such as tory of Gautama Buddha as Vessantara, The little rice box that killed his mother, Nang mha khao, Krama of Mogkalana, Babaiboonmun, Phuhugdaikinnangphuchangdaikinduk, Kintaoluemmha, Hangkabmakakabni, Boonmumkrammataeng, Mahadaeng, Hua-oakmaenanumtaluklaing, korphaiyainokeiang, Muetuesakpaktuesil, Boonborsomboad, and Numtamaemaiyalaingkaibormeetoukhan.
The result of this study found that ISAN intonation preaching is preaching performance by using the melody, conversation through the storytelling, and or role play. The aims are to convey the contents of the Dharma to the listeners through the ISAN intonation preaching that popular preaching in the Bun Pha Wet, Kathina robe offering, radiation of merit to the dead relatives. 1) There are three preachers in this current study are Phramaha Ubon Siriwanno, Phamaha Setthapol Sosakittiphavee, and Phamaha Sarayoot Kittitammapani They are the new generation that has modern thinking, and They adapted Dharma to convey to the listeners in a new society. They also use easy methods in order to convey Dharma for comprehending easily. 2) Recipient is a host and listeners who have faith and money for remuneration. They also organize events and facilitating the preachers and listeners in order to complete the ISAN intonation preaching. 3) There are 15 stories written by three monks are Phramaha Thongpetch Veerathummo, Phra Kru Suthsarapimol and, Phramaha Udom Ut-tamo. Isan Intonation Preaching plays a major role in the ideal family within the community and, presenting ethical problems in the form of a conversation between opposing ideas in both worldly and moral cases. Firstly, the contents of the Isan intonation preaching focuses on giving, the law of karma, gratitude and passion. The secondary point aims to teach about Mother, fear of sin, and problems of family institutions.
Isan intonation preaching style consists of precepts, recitations, Dharma showing, and spiritual sermons to reproduce the memory of the parents. The art of Isan intonation preaching is used words and rhetoric as the main in composing in the stories. Foreign languages are used Bali and English. The preachers choose the language level that appropriates to the listeners. For example, using emotional words, imitate natural sounds, using words melody, repeat words, using slang words, and using Thai proverbs. The art of rhetoric consists of descriptive writing, narrative writing, sermons, and rhetorical. The figure of Speech, namely, Metaphor, Personification, Hyperbole and, argument. Isan intonation preaching style of the Athitthansiangdharma group. It is related to the form of poetry as follows: Isan language performance, Thai language performance. Preachers also can connect appropriate events and adapt their presentation techniques to the events of today's society. There are three melodies of Isan intonation preaching, namely, sermon, poem and, Isan melody. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเทศน์แหล่อีสานคณะอธิษฐานเสียงธรรม วัดศรีสว่าง ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ด้านองค์ประกอบการเทศน์แหล่อีสาน ด้านผู้ส่งสาร สาร ผู้รับสาร และบริบทการสื่อสาร โดยศึกษารูปแบบการเทศน์แหล่อีสานของคณะอธิษฐานเสียงธรรม และตัวบทเทศน์แหล่อีสานจำนวน 15 เรื่อง ได้แก่ มหาเวสสันดรชาดก ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ นางหมาขาว บุพกรรมพระโมคคัลลานะ บาปไผบุญมัน ผู้ฮักได้กินหนังผู้ซังได้กินกระดูก กินเต่าลืมหมา แฮ้งคาบมากาคาบหนี บุญนำกรรมแต่ง มหาแดง หัวอกแม่น้าน้ำตาลูกเลี้ยง กอไผ่ยายนกเอี้ยง มือถือสากปากถือศีล บุญบ่สมบวช และเรื่องน้ำตาแม่หม้ายย่าเลี้ยงไก่บ่มีโตขัน ผลการศึกษาพบว่า การเทศน์แหล่อีสาน คือ การแสดงธรรมโดยใช้ลีลาทำนองเสียงแบบขับลำนำ และสนทนาโต้ตอบผ่านเรื่องเล่าแบบสมมติภาวะ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารสารัตถะธรรมให้แก่ผู้ฟังผ่านบทเทศน์แหล่อีสาน นิยมเทศน์ในประเพณีบุญมหาชาติหรือบุญผะเหวด บุญกฐิน บุญอุทิศส่วนกุศล (บุญแจกข้าว) องค์ประกอบของการเทศน์แหล่อีสานของคณะอธิษฐานเสียงธรรม มี 3 ส่วนคือ 1) ผู้ส่งสารหรือพระนักเทศน์ เป็นพระสงฆ์ 3 รูป คือ พระมหาอุบล สิริวณฺโณ พระครูปลัดเศรษฐพล โฆสกิตฺติภาวี และพระมหาศรายุทธ กิตฺติธมฺมภาณี มีคุณสมบัติเด่นที่พระนักเทศน์เป็นคนรุ่นใหม่ มีแนวคิดทันสมัยสามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาประยุกต์กับสถานการณ์ในสังคมปัจจุบัน โดยใช้บทเทศน์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ฟังทำให้ธรรมะเข้าถึงผู้คนได้ทั่วถึงและเข้าใจง่าย 2) ผู้รับสาร คือเจ้าภาพงานและผู้ฟังเทศน์ เจ้าภาพงานมีคุณสมบัติคือ เป็นผู้มีความเชื่อ ความศรัทธา และมีทุนทรัพย์ในการจัดงาน มีบทบาทในการจัดงานและอำนวยความสะดวกให้แก่พระนักเทศน์และผู้ร่วมงาน ผู้ฟังเทศน์ มีคุณสมบัติคือเป็นผู้ร่วมงานและเป็นผู้ฟังเทศน์ร่วมกับเจ้าภาพงานเพื่อให้การฟังเทศน์และการจัดงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีบทบาทในการฟังเทศน์และมีส่วนร่วมในการเทศน์ให้ดำเนินไปตั้งแต่ต้นจนจบการเทศน์ 3) สารหรือตัวบทเทศน์แหล่อีสานทั้ง 15 เรื่อง เป็นบทเทศน์ที่แต่งขึ้นโดยพระสงฆ์ 3 รูป คือ พระอธิการทองเพชร วีรธมฺโม พระครูสุตสารพิมล และพระอธิการอุดม อุตฺตโม บทเทศน์แหล่อีสานมีบทบาทหน้าที่สร้างบุคคลอุดมคติในครอบครัวภายในชุมชน และเสนอปัญหาเชิงจริยธรรมในรูปแบบสนทนาโต้ตอบระหว่างความคิดคู่ตรงข้ามทั้งคดีโลกและคดีธรรม สารัตถะของบทเทศน์มุ่งสอนเรื่องการทำทาน กฎแห่งกรรม ความกตัญญูกตเวที และเรื่องกิเลส สารัตถะรองมุ่งสอนเรื่องปิตาธิปไตย อำนาจของมาตุคุณ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป และปัญหาของสถาบันครอบครัว รูปแบบการเทศน์แหล่อีสาน ประกอบด้วยการอาราธนาศีล อาราธนาธรรม การแสดงธรรมและพิธีกรรมเทศน์เรียกวิญญาณเพื่อผลิตซ้ำความทรงจำต่อบุพการี ศิลปะการใช้คำและโวหารของบทเทศน์แหล่อีสาน มีการใช้คำภาษาถิ่นอีสานเป็นหลักในการแต่งเรื่อง ลักษณะคำประพันธ์หลักเป็นกลอนเทศน์แหล่อีสานและร่าย คำประพันธ์ประกอบมีกลอน 4 กลอน 6 กลอน 8 หรือกลอนสุภาพ มีการใช้คำภาษาต่างประเทศ ได้แก่ คำภาษาบาลี และภาษาอังกฤษ การเลือกใช้ระดับภาษาให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคล การใช้คำแสดงอารมณ์ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ การเล่นเสียงของคำ การซ้ำคำ การใช้คำสแลง การใช้สำนวนสุภาษิตไทย และการใช้ผญาภาษิต ศิลปะการใช้โวหาร ประกอบด้วย บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร เทศนาโวหาร สาธกโวหาร ศิลปะภาพพจน์ ประกอบด้วย อุปมา อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐาน อติพจน์ และปฏิพากย์ ลีลาการเทศน์แหล่อีสานของคณะอธิษฐานเสียงธรรม มีความสัมพันธ์กับรูปแบบคำประพันธ์ดังนี้ บทบรรยายภาษาอีสาน บทบรรยายภาษาไทย บทเทศน์แหล่อีสาน และร่าย พระนักเทศน์มีความสามารถในการเชื่อมโยงเหตุการณ์ที่เหมาะสมและปรับเทคนิคในการนำเสนอให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ในสังคมปัจจุบัน ทำนองการเทศน์แหล่อีสานมี 3 ทำนอง คือ ทำนองแหล่ลำ ใช้กับรูปแบบคำประพันธ์ประเภท กลอนเทศน์แหล่อีสาน ทำนองขับเสภา ใช้กับรูปแบบคำประพันธ์ประเภท กลอน 8 หรือกลอนสุภาพ และทำนองร่ายยาว ใช้กับรูปแบบคำประพันธ์ประเภทร่ายของภาคอีสาน |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2298 |
Appears in Collections: | The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010180004.pdf | 6.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.