Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2302
Title: Strategies to Create Humor and Social Interpretation of Gag Cartoon In E-Shann Magazine
กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันและการสื่อความหมายทางสังคมของการ์ตูนมุกตลกในนิตยสารทางอีศาน
Authors: Akekalak Kongthip
เอกลักษณ์ คงทิพย์
Nittaya Wannakit
นิตยา วรรณกิตร์
Mahasarakham University
Nittaya Wannakit
นิตยา วรรณกิตร์
nittaya.w@msu.ac.th
nittaya.w@msu.ac.th
Keywords: กลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน
การสื่อความหมายทางสังคม
การ์ตูนในนิตยสารทางอีศาน
humorous strategies
social interpretation
cartoons in Isaan magazines
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: There were two aims of this study: 1) to 1) Study Learn how to create humor in comics in E-San magazines, and 2) Study the social interpretation of cartoons in Isaan magazines. By conducting a study of only the comic column "Khua Khuk Juk" of Juk Chai in Isaan magazine from the 1st issue of May 2012 to the 100th edition of August 2020, a total of 100 issues. The results of the research revealed that the humorous methods of cartoons in the Isaan magazine were classified into 3 areas, which are (1) the humorous strategies in the structure of the two types as follows Q&A structure (2) strategies for creating humor in content. It appears there are 3 strategies used: The twists and turns to tie the non-directly related matters together. And (3) the language strategies of cartoons in e-san magazines are divided into 2 aspects: word strategy and text strategy. The research results on the social interpretation of cartoons in Isaan magazine the results of the analysis of social meaning into 6 categories are: Interpreting the family Interpretation of politics Interpretation of economy Interpreting the beliefs Interpretation of class and the interpretation of ethnicity. This shows the characteristics of the new Isan social dynamics which have changed with the times and the advancement of technology in the present day
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลวิธีการสร้างอารมณ์ขันของการ์ตูนในนิตยสารทางอีศาน และ 2) ศึกษาการสื่อความหมายทางสังคมของการ์ตูนในนิตยสารทางอีศาน โดยทำการทำการศึกษาเฉพาะคอลัมน์การ์ตูน “ข่วงบักจุก” ของจุกชายคา ในนิตยสารทางอีศาน จากฉบับที่ 1 เดือนพฤษภาคม 2555 ถึง ฉบับที่ 100 เดือนสิงหาคม 2563 รวมทั้งสิ้น 100 ฉบับ ผลการวิจัย พบว่า กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันของการ์ตูนในนิตยสารทางอีศาน จำแนกออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในด้านโครงสร้าง ปรากฏ 2 แบบด้วยกัน ได้แก่ โครงสร้างแบบถามตอบ และโครงสร้างแบบสนทนาโต้ตอบ (2) กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในด้านเนื้อหา ปรากฏมีการใช้อยู่ 3 กลวิธี คือ การหักมุม การผูกเรื่องที่ไม่เกี่ยวกันเข้าด้วยกัน และการประชดประชัน  และ (3) กลวิธีการใช้ภาษาของการ์ตูนในนิตยสารทางอีศาน แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ กลวิธีด้านคำ และกลวิธีทางข้อความ ส่วนผลการวิจัยด้านการสื่อความหมายทางสังคมของการ์ตูนในนิตยสารทางอีศาน จำแนกผลการวิเคราะห์การสื่อความหมายทางสังคมออกเป็น 6 ลักษณะ ได้แก่ การสื่อความหมายเรื่องครอบครัว การสื่อความหมายเรื่องการเมือง การสื่อความหมายเรื่องเศรษฐกิจ การสื่อความหมายเรื่องความเชื่อ การสื่อความหมายเรื่องชนชั้น และการสื่อความหมายเรื่องชาติพันธุ์ ซึ่งทำให้เห็นถึงลักษณะของพลวัตทางสังคมอีสานใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2302
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010180005.pdf10.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.