Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2319
Title: | Development of Learning Plans Using Project-Based Learning Approach to Promote Science Problem Solving Thinking and Science Learning Achievement of Prathomsuksa 3 Student การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 |
Authors: | Wassiga Samong วัสสิกา ซามงค์ Butsara Yongkhamcha บุษรา ยงคำชา Mahasarakham University Butsara Yongkhamcha บุษรา ยงคำชา butsara.y@msu.ac.th butsara.y@msu.ac.th |
Keywords: | การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหา Project - based learning Problem - solving - thinking |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this research were (1) to develop a project-based learning plan on the topic of animals in life at 75/75 criteria and (2) to determine the effectiveness index of the project-based learning plan before and after learning (3) to compare learning achievements in science subjects about the lives of animals using a project - based learning plan before and after learning. (4) to compare the ability to think problem - solving through a project - based learning approach before and after school. The sample group used in this research was composed of 23 Prathomsuksa 3 students from Ban Bak 2 School, Don Tan District, Mukdahan Province, studying in the first semester of the academic year 2022. They were gathered via cluster random sampling from a sample of learning achievement and scientific problem-solving examinations. The tools used in this research are 5 plans for a project - based learning approach, 2 hours each, 10 hours total, a science learning achievement test about animal life that is a four multiple - choice test consisting of 20 items, with a difficulty value ranging from 0.33 to 0.75, an item discriminating power range of 0.33 to 1.00, and a confidence value of 0.82. A test measuring ability in problem - solving that consists of four multiple - choice tests consists of 20 items, with difficulty ranging from 0.50 to 0.75. An item discriminating power ranging from 0.33 to 0.83, with a confidence value of 0.89. Statistics were calculated using SPSS Statistics software package and expressed as mean, percentage, and deviation standards (S.D.); the assumption was tested using a dependent-samples t test. Differences were considered significant at p<.05
The results of this research show that (1) Prathomsuksa 3 students who received scientific instruction utilizing a project - based learning approach performed better than the required 82.03/81.09 (2) The effectiveness index (E.I.) of the project - based learning plan was equal to 0.72, indicating that students made 72 % progress in learning. (3) Students who received a project - based learning approach had higher learning achievement after than before learning (p<.05), and (4) students who received a project - based learning approach had higher problem - solving abilities after than before learning (p<.05). Therefore, teachers are encouraged to use project - based learning as a teaching method to enhance students' learning outcomes and promote their problem - solving skills. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่องการดำรงชีวิตของสัตว์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ก่อนและหลังเรียน (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงชีวิตของสัตว์ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ก่อนและหลังเรียน (4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบาก 2 อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 23 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างจากการให้ประชากรดำเนินการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน จำนวน 5 แผน แผนการเรียนรู้ละ 2 ชั่วโมง รวม 10 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงชีวิตของสัตว์ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.33 – 0.75 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และแบบทดสอบวัดความสามารถในด้านการคิดแก้ปัญหา ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.50 – 0.75 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33 – 0.83 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย T-test dependent ผลการวิจัยพบว่า (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ที่ใช้สอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 82.03/81.09 (2) ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) ของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เท่ากับ 0.72 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 72 (3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญสำคัญที่ระดับ .05 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญสำคัญที่ระดับ .05 ดังนั้นครูจึงควรใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2319 |
Appears in Collections: | The Faculty of Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64010281004.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.