Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2345
Title: | The Strategy Development for School Management to the Excellence of the Quality Schools in the Sub-District under the Office of the Basic Education Commission การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Authors: | Suphi Siphai สุภีร์ สีพาย Sutham Thamatasenahant สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ Mahasarakham University Sutham Thamatasenahant สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ sutum.t@msu.ac.th sutum.t@msu.ac.th |
Keywords: | การพัฒนากลยุทธ์ การบริหารสถานศึกษา ความเป็นเลิศ The Strategy Development School Management The Excellence |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The research aimed to 1) Study the components and indicators. 2) Study a present, desirable characteristic and the essential needs. 3) Development of Strategy. and 4) Implementing the effect of using of Strategy. The research was divided into 4 phases. Phase 1 study the components and indicators. by 9 experts purposive sampling. Phase 2 study a present, desirable characteristic and the essential needs. There were 308 samples consisting of administrators and academic head teachers by multi-stage Sampling. Phase 3 development of Strategy. by 9 experts purposive Sampling. and Phase 4 Implement the effect of using of Strategy. Used for 10 people by purposive Sampling. Tools used in data collection Including questionnaires, assessments form, interviews the current condition and the desired condition form Reliability 0.891 and quiz IOC 0.80-1.00. Statistics used in data analysis are percentage. Average and standard deviation and Priority Needs Index.
The results were as follows:
1. Elements have 7 components and 37 indicators and the assessment results were at a high level.
2. The current circumstances with the whole picture were at medium level. The desirable characteristics with the whole picture were at highest level. the need 1) Workforce, 2) Customers, 3) Measurement, Analysis, and Knowledge Management, 4) Strategy, 5) Leadership, 6) Operations and 7) Results.
3. Strategies for School Management to The Excellence of The Quality Schools in The Sub-District Under the Office of The Basic Education Commission consist of 7 main strategies, 14 secondary strategies and 59 practices. Results of feasibility and feasibility assessment. at the very high level.
4. The Implementing of the strategy for School Management to The Excellence of The Quality Schools in The Sub-District Under the Office of The Basic Education Commission were.
4.1 The knowledge assessment scores after participating in the development were higher than the scores before participating in the development. It was statistically significant at the .05 level. The behavioral level after development was at the highest level.
4.2 The satisfaction level assessment was at the very high level. การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบตัวบ่งชี้การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) ศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 308 คน โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 3 พัฒนากลยุทธ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 4 นำกลยุทธ์ไปใช้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.891 แบบสัมภาษณ์ และแบบทดสอบมีค่าความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.80–1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 7 ด้าน 37 ตัวบ่งชี้ ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2. สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับความต้องการจำเป็นการพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านการนำองค์กร ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านผลลัพธ์ 3. กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์หลัก 14 กลยุทธ์รอง และ 59 วิธีปฏิบัติ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการใช้กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.1 คะแนนประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมพัฒนาสูงกว่าคะแนนก่อนการเข้าร่วมพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ระดับพฤติกรรมหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด 4.2 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2345 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60010562012.pdf | 12.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.