Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2369
Title: | The Development of the Educational Administration Model for Small-Sized Stand Alone Schools under the Secondary Educational Service Area of the Roi-Kaen-Sara-Sin Provincial Cluster to Educational Quality Enhancement การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ |
Authors: | Wichai Lati วิชัย ลาธิ Sutham Thamatasenahant สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ Mahasarakham University Sutham Thamatasenahant สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ jiraporn.c@msu.ac.th jiraporn.c@msu.ac.th |
Keywords: | การพัฒนารูปแบบการบริหาร โรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง การยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ Educational Administration Model Small-Sized Stand Alone School Educational Quality Enhancement Roi-Kaen-Sara-Sin Provincial Cluster |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aimed to 1) study the current and desirable conditions of educational management of small-sized stand alone schools under the secondary educational service area of the Roi-Kaen-Sara-Sin provincial cluster to educational quality enhancement, and 2) develop the educational administration model for small-sized stand alone schools under the secondary educational service area of the Roi-Kaen-Sara-Sin provincial cluster to educational quality enhancement. The research was conducted in mixed methods divided into 2 phases. The first phase was to study the current and desirable conditions and needs assessment for educational management of small-sized stand alone schools to educational quality enhancement. 312 school directors and teachers were selected using the purposive sampling and quota sampling in order to identify the current and desirable conditions of educational management of small-sized stand alone schools through the questionnaire. The second phase was to develop the educational administration model for small-sized stand alone schools. 12 participants from the 4 best practice schools selected using the purposive sampling were interviewed by using semi-structured interview to investigate as a guide of current and ideal situations and needs assessment of the best practice characteristics for effective educational management of small-sized schools. 9 educational experts were selected using the purposive sampling in order to check and find out of the appropriate proposed model through the focus group discussions. Finally, 32 school directors and teachers were selected using the purposive sampling in order to evaluate the appropriateness and potentiality in applying the proposed model through the evaluation form. The percentage, mean, and standard deviation were employed to analyze data.
The research findings were summarized as follows:
1. The overall evaluation of current condition of educational management of small-sized stand alone schools to educational quality enhancement was at high level (x̅ = 4.37, S.D. = 0.75) and the desirable condition was at the highest level (x̅ = 4.76, S.D. = 0.46). The Modified Priority Needs Index (PNImodified) of educational management of small-sized stand alone schools for educational quality enhancement revealed that ranking of needs were following 1) school administrator leadership, 2) educational resource management, 3) curriculum and learning management and 4) school management, respectively.
2. The developed educational administration model consisted of 5 components including 1) principles, 2) objectives, 3) administration method 4) operating mechanism, and 5) conditions for the model’s success. The administration method which were 4 aspects and 25 approaches including 1) school administrator leadership, 2) educational resource management, 3) curriculum and learning management, and 4) school management was operated base on Deming cycle (Planning, Doing, Checking, and Acting). The overall evaluation of appropriateness and potentiality in applying the proposed model were all found at the highest level (x̅ = 4.90, S.D. = 0.30 and x̅ = 4.87, S.D. = 0.33). The main important factors for the educational quality enhancement of small-sized stand alone schools are the school administrator leadership and educational resource management. The school administrator leadership is the most importance to influencing educational quality enhancement of small-sized stand alone schools. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการบริหารโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ มี 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการบริหารโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการบริหารโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และครู ได้มาโดยเลือกแบบกำหนดโควต้า รวม 312 คน และระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จากโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ที่เป็นที่ยอมรับและมีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 4 โรงเรียน โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน 2) ยกร่างรูปแบบ 3) ตรวจสอบยืนยันรูปแบบ โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ จากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 32 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ใน 4 ด้าน คือ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) การบริหารจัดการ 3) หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และ 4) การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา มีสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.37, S.D. = 0.75) สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.76, S.D. = 0.46) และเรียงลำดับความสำคัญของต้องการจำเป็น (PNImodified) คือ 1) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) ด้านการจัดการทรัพยากรทางการศึกษา 3) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และ 4) ด้านการบริหารจัดการ 2. รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและหลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีดำเนินการของรูปแบบ มีแนวทางการดำเนินการใน 4 ด้าน 25 แนวทาง ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร มี 6 แนวทาง ด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา มี 6 แนวทาง ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มี 7 แนวทาง และด้านการบริหารจัดการ มี 6 แนวทาง 4) กลไกการดำเนินการของรูปแบบ โดยการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามหลักการบริหารโรงเรียนตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA ซึ่งประกอบด้วยขั้นการวางแผนงาน (Planning) ขั้นปฏิบัติตามแผน (Doing) ขั้นตรวจสอบประเมินผล (Checking) และขั้นปรับปรุงแก้ไข/พัฒนา (Acting) และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ และผลการประเมินรูปแบบมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.90, S.D. = 0.30) และความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.87, S.D. = 0.33) ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อให้โรงเรียนมัธยมขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน เป็นโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างมีคุณภาพ ต้องให้ความสำคัญในองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และด้านการบริหารจัดการ โดยเฉพาะปัจจัยด้านที่สำคัญ คือ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลโดยรวมต่อคุณภาพโรงเรียนมากที่สุด และด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา ซึ่งการระดมทุนทางการศึกษาเป็นแนวทางที่ส่งผลให้โรงเรียนไม่พึ่งพางบประมาณสนับสนุนจากทางกระทรวงศึกษาธิการเพียงอย่างเดียว |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2369 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62010586049.pdf | 7.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.