Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2388
Title: An Evaluation the Bachelor of Arts Program in Teaching Thai Language, Mahachulalongkornrajavidyalaya University Khon Kaen Campus
การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
Authors: Nuttapong Muenkaew (Khantisampanno)
นัฐพงศ์ หมื่นแก้ว (ขนฺติสมฺปนฺโน)
Yannapat Seehamongkon
ญาณภัทร สีหะมงคล
Mahasarakham University
Yannapat Seehamongkon
ญาณภัทร สีหะมงคล
yannapat.s@msu.ac.th
yannapat.s@msu.ac.th
Keywords: การประเมินหลักสูตร
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
ภาษาไทย
The Curriculum Evaluation
Bachelor of Education Program
Thai Language
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research was to evaluate the Bachelor of Education (Teaching Thai) program at Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khon Kaen Campus, the updated curriculum in 2022. The evaluation was conducted using the CIPP Model, which consists of four components: context, input, process, and product. Data was collected through questionnaires from 5 lecturers, 5 teaching supervisors, 60 students, 15 mentors, 5 school administrators, and 15 student colleagues. The research instruments were questionnaires and interviews. The statistical analysis used was percentage, mean, and standard deviation. The research results found that the research results found that the evaluation of the Bachelor of Education (Teaching Thai) program at Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khon Kaen Campus, the updated curriculum in 2022, had an average evaluation of high. 1. Context: Overall, the respondents had high opinions. When considering the status, both lecturers and students had high opinions. 2. Input: Overall, the respondents had high opinions. When considering the status, both lecturers and students had high opinions. 3. Process: Overall, the respondents had the highest opinions. When considering the status, students had the highest opinions. 4. Product: Overall, the respondents had high opinions. When considering the status, lecturers, teaching supervisors, mentors, school administrators, and student colleagues had high opinions.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2562 โดยใช้วิธีการประเมินในรูปแบบ CIPP Model มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยป้อน ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบแบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอน จำนวน 5 คน อาจารย์นิเทศการสอน จำนวน 5 คน นิสิต จำนวน 60 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 15 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน และเพื่อนร่วมงานนิสิต จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2562 การประเมินทุกด้านมีผลประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 1. ด้านบริบท โดยรวมเห็นว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามสถานภาพ พบว่า อาจารย์ผู้สอนและนิสิต มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2. ด้านปัจจัยป้อน โดยรวมเห็นว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามสถานภาพ พบว่า อาจารย์ผู้สอนและนิสิต มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3. ด้านกระบวนการ โดยรวมเห็นว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามสถานภาพ พบว่า นิสิตมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด   4. ด้านผลผลิต โดยรวมเห็นว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามสถานภาพ พบว่า อาจารย์ผู้สอน อาจารย์นิเทศการสอน ครูพี่เลี้ยง ผู้บริหารโรงเรียน เพื่อนร่วมงานนิสิต มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2388
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010582013.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.