Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2398
Title: Biological activities of Eclipta prostrata (L.) L., Sphagneticola  calendulacea (L.) Pruski and Sphagneticola trilobata (L.) Pruski
การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของกะเม็งตัวเมีย กะเม็งตัวผู้ และกระดุมทองเลื้อย
Authors: Nisarat Sangkaram
นิศารัตน์ สังคะรัมย์
Ruchilak Rattarom
รุจิลักขณ์ รัตตะรมย์
Mahasarakham University
Ruchilak Rattarom
รุจิลักขณ์ รัตตะรมย์
rujiluk.r@msu.ac.th
rujiluk.r@msu.ac.th
Keywords: กะเม็งตัวเมีย
กะเม็งตัวผู้
กระดุมทองเลื้อย
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ปริมาณฟีนอลิกรวม
รอยพิมพ์โครมาโตกราฟี
Eclipta prostrata
Sphagneticola calendulacea
Sphagneticola trilobata
antimicrobial activity
anti-inflammatory activity
antioxidant activity
total phenolic
TLC fingerprint
Issue Date:  17
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Eclipta prostrata (L.) L., Sphagneticola calendulacea (L.) Pruski and Sphagneticola trilobata (L.) Pruski are the member of Asteraceae family. They have similar Thai name “Ka-meng” between E. prostrata and S. calendulacea and similar botanical characteristics between S. calendulacea and S. trilobata Lead to confused to use in traditional medicine. This study aimed to investigate biological activities such as antimicrobial, anti-inflammatory, antioxidant and total phenolic compound and TLC fingerprint of three plants. The ethanolic extract and the water extract of these plant were evaluated for their antimicrobial activity using broth dilution method, anti-inflammatory activity using lipopolysaccharide-induced RAW 264.7 macrophages, antioxidant activity using DPPH and the total phenolic contents using Folin-Ciocalteu reagent. Chemical constituents were investigated by TLC fingerprint. . The results of antimicrobial activity showed that all of cruse extracts were active on S. aureus, P. aeruginosa at MIC 12.50-100 mg/ml, whereas only the ethanolic extract of S. calendulacea had an antimicrobial effect on MRSA. The ethanolic extract of all plants showed higher inhibitory effect on the nitric oxide production than water extract, while S. trilobata exhibited significant inhibitory effect with IC50 value 33.43±4.76 µg/ml. The extract of S. calendulacea had the second highest activity with IC50 values of 56.64±1.82 µg/ml, followed by E. prostrata in both methods of antioxidant assay and Folin-Ciocalteu method, ethanolic extract of S. calendulacea exhibited significant inhibitory effects against DPPH and the most phenolic content EC50= 43.48±1.00 µg/ml and 55.46±7.18 mg GAE/g crude extract respectively. TLC fingerprint of the ethanolic extracts of three plants were identify. In conclusion, E. prostrata, S. calendulacea and S. trilobata are different both of biological activities and chemical identification by TLC.
กะเม็งตัวเมีย (Eclipta prostrata (L.) L.) กะเม็งตัวผู้ (Sphagneticola calendulacea (L.) Pruski) และกระดุมทองเลื้อย (Sphagneticola trilobata (L.) Pruski) เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae พืชทั้งสามมีชื่อไทยและลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน ข้อมูลการศึกษาเบื้องต้นมีแนวโน้มว่าไม่สามารถพบกะเม็งตัวผู้ได้ทั่วไป ประกอบกับการเผยแพร่ข้อมูลรูปภาพกระดุมทองเลื้อยในชื่อกะเม็งตัวผู้ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดโดยนำกระดุมทองเลื้อยมาใช้แทนกะเม็งตัวผู้ อันจะนำไปสู่การใช้สมุนไพรไม่ถูกต้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้สมุนไพรได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ทางชีวภาพ ปริมาณฟินอลิกรวม และศึกษาเอกลักษณ์ทางเคมีของกะเม็งตัวเมีย กะเม็งตัวผู้ และกระดุมทองเลื้อย โดยวิธีการดำเนินการวิจัย ได้แก่ ทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพด้วยวิธี broth dilution method ฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยวิธียับยั้งการหลั่ง  nitric oxide ในเซลล์ RAW 264.7 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay และปริมาณฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteu assay ของสารสกัดน้ำและสารสกัด ethanol ของพืชทั้งสามชนิด และศึกษาเอกลักษณ์ทางเคมีด้วยวิธี TLC ผลการศึกษาพบว่าทั้งสารสกัดน้ำและสารสกัด ethanol ของพืชทั้งสาม มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus และ P. aeruginosa ได้ และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ S. aureus โดยสารสกัดน้ำของกะเม็งตัวเมียและกะเม็งตัวผู้มีฤทธิ์ดีที่สุด สารสกัดส่วนใหญ่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ MRSA แต่มีเพียงสารสกัดน้ำของกะเม็งตัวเมียที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ MRSA ฤทธิ์ต้านการอักเสบพบว่า สารสกัด ethanol ของพืชทั้งสามมีฤทธิ์ดีกว่าสารสกัดน้ำ รวมถึงยามาตรฐาน diclofenac อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกระดุมทองเลื้อยมีฤทธิ์ดีที่สุด รองลงมาคือกะเม็งตัวเมีย และกะเม็งตัวผู้ มีค่า IC50 เท่ากับ 33.43±4.76, 56.64±1.82 และ 62.21±2.04 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่า มีเพียงกะเม็งตัวผู้ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี โดยสารสกัด ethanol มีฤทธิ์ดีกว่าสารสกัดน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่า EC50 เท่ากับ 43.48±1.00 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ปริมาณฟีนอลิกรวมพบว่าสารสกัด ethanol ของพืชทั้งสามมีปริมาณฟีนอ ลิกรวมมากกว่าสารสกัดน้ำ สารสกัด ethanol ของกะเม็งตัวผู้มีปริมาณฟีนอลิกรวมมากกว่าสารสกัดของพืชอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีปริมาณเท่ากับ 55.46±7.18 มิลลิกรัม GAE ต่อสารสกัด 1 กรัม การทำรอยพิมพ์โครมาโตกราฟี (TLC fingerprint) พบว่าพืชทั้ง 3 ชนิด มีรอยพิมพ์โครมาโต กราฟีที่แตกต่างกัน สรุปได้ว่ากะเม็งตัวเมีย กะเม็งตัวผู้ และกระดุมทองเลื้อย มีความแตกต่างกันทั้งเอกลักษณ์ทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพ
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2398
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010782002.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.