Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2405
Title: Study of Management Guidelines for Institutional Repository of Roi et Rajabhat University
การศึกษาแนวทางการจัดการคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
Authors: Waraporn Chantachai
วราภรณ์ จันทไชย
Ruethai Nimnoi
ฤทัย นิ่มน้อย
Mahasarakham University
Ruethai Nimnoi
ฤทัย นิ่มน้อย
ruethai.n@msu.ac.th
ruethai.n@msu.ac.th
Keywords: คลังสารสนเทศสถาบัน
ผลงานทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
Institutional Repository
Academic Works
Roi Et Rajabhat University
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study aims to investigate 1) the problems of academic work management, 2) the need for institutional repository (IR) use in Roi Et Rajabhat University and 3) the development of institutional repository management guidelines. The survey was conducted by using structured interviews and questionnaires. The samples group consisted of nine university administrators, one hundred and sixty-four lecturers, and five hundred and five students.  The data obtained from the interview was analyzed by grouping and summarizing data. Questionnaires were analyzed by descriptive analysis and synthesized the results by the experts. Statistics uses in this research were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The findings were as follows: 1. Roi Et Rajabhat University (RERU) has a promotion policy of producing academic works in the appearance of publications and digital formats. They support scholarly work's production by organizing and collecting them via textbooks, articles, researches, research reports, translations, and other academic research.  The problem of producing academic works was that the university still didn't have a direct office to respond to them. They recommend that the university should collect them into digital platforms which responsible by the Academic Resources Center. 2. The demands of using the institutional repository of Roi Et Rajabhat University found that lecturers agreed to organize the system for managing academic works 100 percent, while students agreed 97.80 percent. As for the need to use the institutional repository,  lecturers who want to use the institutional are at a high level (x̄= 4.19, S.D.= 0.15), and the demand of students is also at high level (x̄= 4.08, S.D.= 0.07) 3. Guideline for the management of institutional repository management of Roi Et Rajabhat University consisted of; 1) building community resources, 2) community management, 3) a supporter of the institutional repository, 4) type of content, 5) the uses of content, 6) agreement of input data, 7) output and collecting data, 8) preservation, and 9) organizing the digital information system, and 10) the program used to develop an institutional repository. An expert evaluation of guidelines for the management of institutional repository was appropriateness at the highest level (x̄= 4.79, S.D.= 0.48)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด  2) เพื่อศึกษาความต้องการใช้คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จำนวน  9 คน อาจารย์ จำนวน 164 คน และนักศึกษา จำนวน 505 คน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์วิเคราะห์โดยวิธีการสรุปและจัดกลุ่มข้อมูล และข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จากนั้นนำผลมาสังเคราะห์เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางการจัดการคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และประเมินความเหมาะสมของแนวทางที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดมีนโยบายส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการของอาจารย์ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์และรูปแบบดิจิทัล มีการจัดระบบสนับสนุนการผลิตผลงานทางวิชาการของบุคลากร มีการจัดเก็บผลงานทางวิชาการไว้ที่หน่วยงานหรือบุคคลผู้ผลิต ได้แก่ เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน บทความทางวิชาการ/บทความวิจัย หนังสือ ตำรา รายงานวิจัย งานแปล และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ปัญหาที่พบในด้านการผลิตผลงานทางวิชาการคือมหาวิทยาลัยยังไม่มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดเก็บผลงาน และเห็นด้วยว่าควรมีระบบคลังสารสนเทศสถาบันในรูปแบบดิจิทัล เพื่อจัดการผลงานทางวิชาการ และหน่วยงานที่ควรเป็นผู้ดำเนินการคือ ศูนย์วิทยบริการ 2. ด้านความต้องการใช้คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด พบว่า อาจารย์เห็นควรและต้องการให้จัดระบบเพื่อการจัดการผลงานทางวิชาการ ร้อยละ 100 ส่วนนักศึกษาเห็นควรและต้องการให้จัดระบบเพื่อการจัดการผลงานทางวิชาการ ร้อยละ 97.80 ในส่วนของความต้องการใช้คลังสารสนเทศสถาบัน พบว่า อาจารย์มีความต้องการใช้คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.19, S.D.= 0.15) และนักศึกษามีความต้องการใช้คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.08, S.D.= 0.07) 3. แนวทางการจัดการคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การสร้างชุมชนและทรัพยากร 2) การบริหารชุมชนคลังสารสนสถาบัน 3) ผู้สนับสนุนคลังสารสนเทศสถาบัน 4) ประเภทของเนื้อหาที่อยู่ในคลังสารสนเทศสถาบัน 5) การใช้เนื้อหาในคลังสารสนเทศสถาบัน 6) ข้อตกลงในการส่งข้อมูลสู่คลังสารสนเทศสถาบัน 7) การนำข้อมูลออกและเก็บรักษาข้อมูลในคลังสารสนเทศสถาบัน 8) การสงวนรักษา 9) การจัดระบบสารสนเทศดิจิทัล 10) โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาคลังสารสนเทศสถาบัน ซึ่งมีผลประเมินความเหมาะสมของแนวทางการจัดการคลังสารสนเทศสถาบันโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= 0.48)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2405
Appears in Collections:The Faculty of Informatics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011280504.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.