Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2422
Title: Factors  in  Decision-making  to  Apply  for  Recruited  Military  Service  in  the Area  of  Roi Et  Province
ปัจจัยในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Waragorn Tumsud
วรากร ทุมสุด
Prayote Songklin
ประโยชน์ ส่งกลิ่น
Mahasarakham University
Prayote Songklin
ประโยชน์ ส่งกลิ่น
prayote@msu.ac.th
prayote@msu.ac.th
Keywords: ปัจจัย
ทหารกองเกิน
ทหารกองประจำการ
Factors
Reserved Personnel
Recruited Personnel
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed (1) to study the factors influencing people’s decision-making to volunteer for military service, and (2) to study ways to motivate more people to volunteer for military service. Mixed method conducted in this research included both qualitative and quantitative methods. The research tools included a questionnaire and an interview. The questionnaire was used to enquire 285 samples from 995 draftees who volunteered to serve the armed force in Roi-Et in the year 2561. The number of sample was calculated by Taro Yamane Formula. Meanwhile, the interview was conducted with 3 groups. Group 1 comprised 9 people who volunteered to serve the armed force in the year 2561. Group 2 comprised 6 people who volunteered to serve the armed force in the year 2560. Group 3 comprised 4 recruiting officers. The data obtained from the interviews were categorized, analyzed, synthesized, and presented descriptively. The research findings were as follows: 1. The overall factors influencing people’s decision-making to volunteer for military service were at a high level. When aspects of the factors were considered, it was found that 4 aspects were at a high level. These aspects were ranked from high to low as follows: self-worth aspect, prestige and pride aspect, advantage aspect, and information aspect. Worthiness aspect was at a middle level. 2. The ways to motivate more people to volunteer for military service were found in accordance with the five aspects. Regarding worthiness aspect, salary and allowance had to be raised. For advantage aspect, a quota for military student recruitment had to be increased for military volunteers. For the self-worth aspect, a certificate had to be offered to a military volunteer who was strictly disciplined. For prestige and pride aspect, a certificate of honor had to be issued for a military volunteer. For information aspect, various channels for information access had to be increased.
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด วัตถุประสงค์ของการวิจัยมีอยู่ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมให้บุคคลสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการเพิ่มขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยในส่วนของแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือบุคคลที่ตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ ประจำปี 2561 ที่มีรายชื่ออยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 995 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคคลที่ตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ ประจำปี 2561 ที่มีรายชื่ออยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 285 คน ซึ่งได้มาโดยการใช้สูตรของทาโร่มายาเน่ (Taro Yamane) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความถี่ สำหรับในส่วนของแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์ที่ใช้ในการศึกษา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 บุคคลที่ตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ ประจำปี 2561 จำนวน 9 คน กลุ่มที่ 2 บุคคลที่ตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ ประจำปี 2560 จำนวน 6 คน และกลุ่มที่ 3 ข้าราชการนายทหารสายงานสัสดี จำนวน 4 คน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้วิจัยนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอในเชิงบรรยาย ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้ 1. ปัจจัยในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการของบุคคลที่ตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านคุณค่าในตนเอง ด้านศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจ ด้านประโยชน์ที่จะได้รับและด้านข้อมูลข่าวสาร และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน ได้แก่ ด้านความคุ้มค่า 2. แนวทางในการส่งเสริมให้บุคคลสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ด้านความคุ้มค่า ได้แก่ ควรปรับเพิ่มเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง ด้านประโยชน์ที่จะได้รับ ได้แก่ ควรเพิ่มและให้โควตาสิทธิสอบเป็นนักเรียนทหาร ด้านคุณค่าในตนเอง ได้แก่ ควรออกใบประกาศนียบัตรให้ผู้ที่มีระเบียบวินัยดี ด้านศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจ ได้แก่ ควรออกใบประกาศเกียรติคุณเพื่อเกียรติและศักดิ์ศรี และด้านข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ ควรเพิ่มช่องทางแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2422
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011381503.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.